ยังไม่จบ!'ธีระชัย'เขียนบทความโต้'แก้วสรร'คตส.กางร่มคุ้มอุตตมได้หรือไม่?


เพิ่มเพื่อน    

30 ก.ค.62- นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล  อดีตรมว.คลัง ยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala  กรณีนายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง ประเด็นคดีปล่อยกู้กรุงไทย หลังนายแก้วสรร อติโพธิ อดีตกรรมการตรวจสอบกระทำที่ก่อให้เกิดความ เสียหายแก่รัฐ (คตส.) เผยแพร่บทความเรื่อง "มลทินทุจริตเงินกู้กรุงไทยของรัฐมนตรีคลัง" ว่า

“คตส.กางร่มคุ้มคุณอุตตมได้หรือไม่?”

ผมโพสต์นี้ เพื่อประโยชน์แก่สาธารณะด้วยความเคารพต่อ อ.แก้วสรรนะครับ

*** อ.แก้วสรรบรรยายว่า คตส.เห็นว่าคุณอุตตมไม่ได้ร่วมกระทำผิด เพราะมีการหมกเม็ดข้อมูล ขอกู้ 9 พันล้าน สำหรับ refinance 8 พันล้าน แต่ลูกหนี้ได้ตกลงกับเจ้าหนี้เดิม ลดหนี้เหลือ 4.5 พันล้าน

ในข้อมูลการประชุมของคณะกรรมการบริหาร ไม่ปรากฏความจริงนี้ คุณอุตตมจึงไม่ผิดเพราะไม่ได้รู้เห็นด้วย

อ.แก้วสรรระบุด้วยว่า สิ่งบ่งชี้ว่ามีการสมคบกันภายในธนาคารกรุงไทย คือธนาคารไม่ส่งเงินรีไฟแนนซ์ให้ธนาคารกรุงเทพโดยตรง กลับออกเช็คให้ลูกหนี้เอาเงินไปให้ธนาคารกรุงเทพเอง จนลูกหนี้ได้เงินในมือเกินจริงไปกว่า 3 พันล้าน

เป็นจุดที่แสดงชัดเจนมาก ว่าต้องมีการสมคบกันของคนในธนาคารมาตั้งแต่ต้นจนจบ

••• ผมให้ข้อสังเกตว่า หลักกฎหมายเรื่องนี้มี 2 ด้าน

ด้านที่หนึ่ง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 ถ้าผู้กระทํามิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด จะถือว่าผู้กระทําประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้นมิได้

ด้านที่สอง กรรมการบริษัทมหาชนมีหน้าที่ตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535

มาตรา 85 ในการดําเนินกิจการของบริษัท กรรมการต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตและระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของบริษัท

มาตรา 91 กรรมการต้องรับผิดร่วมกันในความเสียหายต่อบริษัท เว้นแต่ดำเนินการตามมาตรา 92 คือบันทึกคำคัดค้านในรายงานการประชุม หรือทำหนังสือยื่นต่อประธานภายใน 3 วัน

การที่รัฐแต่งตั้งคนอย่างคุณอุตตมเป็นกรรมการอิสระ ตัวแทนภาครัฐ ก็เพราะเป็นคนที่มีประสบการณ์สูง เคยเป็นผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารนครหลวงไทย และประธานกรรมการบริหารบริษัทหลักทรัพย์

คนระดับนี้ ต้องรู้ทันอยู่แล้ว

และมีทั้งอำนาจ และหน้าที่ ที่จะตั้งคำถามแบบเจาะลึก ถึงก้นบึ้ง และถ้าเจ้าหน้าที่ตอบไม่ได้ ก็สามารถจะเบรกการให้ความเห็นชอบไว้ก่อนได้

ดังนั้น การที่คุณอุตตมมิได้ดำเนินการเบรกสินเชื่อรายนี้ตามมาตรา 92 โดยไม่บันทึกคัดค้าน หรือไม่ทำหนังสือคัดค้านภายหลัง จึงเข้าข่ายละเลยความรับผิดชอบของตน

*** อ.แก้วสรรบรรยายว่าคุณอุตตมเป็นเพียงกรรมการบริหารประเภทอิสระ มาประชุมตามนัดหมายเท่านั้น จึงไม่รับผิดเท่ากรรมการบริหาร 3 คน ที่เป็นพนักงานประจำ

••• ผมให้ข้อสังเกตว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 ที่ศาลฯ อ้างในการลงโทษนั้น มาตรา 3 คำว่า "พนักงาน" หมายถึงกรรมการทุกคน

อีกทั้ง พ.ร.บ.บริษัทมหาชนก็มิได้ยกเว้นความผิดสำหรับกรรมการที่ไม่มีตำแหน่งพนักงานประจำ

กฎหมายทั้งสองฉบับถือว่า กรรมการทุกคนมีหน้าที่ fiduciary duty จะต้องรู้ทัน สืบค้น และใช้ประสบการณ์ที่มี เพื่อปกป้องประโยชน์ของธนาคารกรุงไทย

ดังนั้น ที่อ้างหลักประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59 ว่า “คุณอุตตมจะอนุมัติด้วยหรือไม่ ก็ไม่ใช่สาระสำคัญ” นั้น จึงไม่ถูกต้องสำหรับคนที่ทำงานในตำแหน่งสูง พิจารณาสินเชื่อระดับ 9 พันล้าน

นอกจากนี้ คุณอุตตมให้การไว้ว่า ถึงแม้ทราบว่าลูกหนี้ขอกู้ เพื่อไป refinance แต่ตนเองกลับไม่ได้ขอดูเอกสารข้อมูลดังกล่าว ทั้งที่เรื่องการ refinance ระดับ 9 พันล้าน เอกสาร refinance เป็นเอกสารสำคัญที่สุด

••• ผมให้ข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า การพิจารณาของอนุกรรมการไต่สวนฯ คตส. มีประเด็นที่ผมสงสัย หลายเรื่อง คือ

1. คุณอุตตมให้ถ้อยคำ ต่อผู้ตรวจการธนาคารพาณิชย์ แบงก์ชาติ เมื่อปี 2547 และต่อตำรวจเมื่อปี 2548 และ ต่อ คตส.ในครั้งแรก 16 ก.พ. 2550 นั้น

มิได้กล่าวว่าตนเองคัดค้าน หรือไม่เห็นด้วย

2. คุณอุตตมเพิ่งอ้างเช่นนี้ในหนังสือถึงประธานคณะอนุกรรมการไต่สวนฯ คตส. ในหนังสือวันที่ 13 มิ.ย. 2550

โดยคุณอุตตมระบุว่า “ข้าพเจ้าจึงยังไม่อนุมัติคำขอสินเชื่อให้แก่ลูกรายนี้โดยเห็นว่าสายงานที่รับผิดชอบควรนำกลับไปหาข้อมูลเพิ่มเติม และทำการวิเคราะห์โครงการใหม่ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ในประเด็นต่าง ๆ ดังกล่าวก่อน”

3. แต่ในบันทึกที่อนุกรรมการไต่สวนฯ พิจารณาคำชี้แจง(สำนวน หน้า 139)กลับบันทึกว่า “ผู้ถูกกล่าวหาเข้าใจว่า ฝ่ายงานที่รับผิดชอบควรนำกลับไปหาข้อมูลเพิ่มเติม และทำการวิคราะห์โครงการใหม่ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ในประเด็นต่าง ๆ ดังกล่าวก่อน”

จึงน่าสงสัยว่า ทำไมบันทึกแตกต่างไปจากข้อความในหนังสือของคุณอุตตมเอง

4. ในบันทึกข้อพิจารณาของอนุกรรมการไต่สวนฯ(สำนวน หน้า 213)ระบุว่า “ผู้ถูกกล่าวหาที่ 19 ไม่ได้ร่วมมีความเห็นอนุมัติ” โดยอ้างว่าสอดคล้องกับคำให้การตั้งแต่ในชั้นแบงก์ชาติ และชั้นตำรวจ “ให้การยืนยันเช่นนี้ตลอดมา เพียงแต่คำให้การยังไม่ชัดเจน”

แต่ในข้อเท็จจริง ไม่ตรงกับบันทึกที่แบงก์ชาติ และที่ตำรวจ

5. อนุกรรมการไต่สวนฯ ระบุอีกว่าคุณอุตตมได้นำหลักฐานมาประกอบชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยกับสินเชื่อรายนี้

แต่ในข้อเท็จจริง ไม่เห็นว่ามีเอกสารใดที่ยืนยันเช่นนั้นได้ตามมาตรา 92

- - - -

ท้ายที่สุด ผมเห็นว่า ประเด็นที่ท่านนายกฯ ต้องพิจารณาคือ การกระทำของคุณอุตตม เป็นการแสดงความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ หรือไม่? เป็นการยึดหลักจริยธรรม good governance หรือไม่?

ประเด็นว่า คตส.เห็นสมควรเอาผิด หรือไม่? หรือขั้นตอนการทำงานใน คตส.นั้น ถูกต้อง หรือเหมาะสม น่าสงสัยหรือไม่? นั้น เป็นประเด็นรอง

แต่เนื่องจากคุณอุตตมไปร่วมลงนามอนุมัติสินเชื่อที่ศาลระบุว่ามิชอบ โดยไม่ซักไซ้ไล่เรียงให้ได้ความครบถ้วนสมบูรณ์ รวมไปถึงการละเลยไม่ขอดูเอกสารสำคัญ ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 85

ถามว่า เป็นการส่อถึงการขาดไปซึ่งดุลพินิจเยี่ยงบุคคลที่รัฐมอบความไว้วางใจ ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือร่วมในขบวนการแต่เปลี่ยนใจภายหลัง เหล่านี้หรือไม่ นั้น ผมตอบไม่ได้

แต่ผมเห็นว่า เป็นการกระทำที่ต่ำกว่ามาตรฐานจริยธรรมสำหรับบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง ซึ่งจะทำหน้าที่กำกับดูแลทั้ง ธปท. และธนาคารกรุงไทย

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"