สํานักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท ได้ให้ความสําคัญกับการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่อย่างเต็มรูปแบบ โดยมุ่งเน้นให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการสร้างเครือข่ายให้เกษตรกรเป็น “ศูนย์กลางการเรียนรู้และออกแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง” เพื่อพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้สามารถทดแทนเกษตรกรที่สูงอายุสร้างแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่มาประกอบอาชีพด้านการเกษตรมากขึ้น ผ่านการนําเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
ที่ผ่านมาสํานักงานฯ ได้ร่วมกับสํานักงานเกษตรจังหวัดลพบุรี และหน่วยงานภาคีร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ด้วยการใช้เครือข่าย Young Smart Farmer เป็นกลไกในการขับเคลื่อน มีการพัฒนาเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการเกษตร เป็นผู้นําด้านเกษตร 4.0 เทคโนโลยีสมัยใหม่ ตลอดถึงนวัตกรรมหลักการธุรกิจเกษตร เน้นสร้างทายาทเกษตรกรให้เป็นต้นแบบของยุวเกษตรกรเป็นแหล่งรวบรวมฐานข้อมูล (Big Data) เพื่อให้เกษตรกรรุ่นใหม่สามารถนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเกษตร และสามารถพัฒนาต่อยอดไปสู่การเป็นผู้ประกอบการเกษตรแบบครบวงจรอย่างสมบูรณ์ต่อไป
นางอมรพรรณ มุนนี หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร สำนักงานเกษตรจังหวัดลพบุรี เปิดเผยว่า การส่งเสริม young smart farmer ของจังหวัดลพบุรี นั้นทางสำนักงานเกษตรจังหวัดจะจัดเวทีให้มีการสร้างเครือข่าย young smart ด้วยกัน เนื่องจาก young smart farmer เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่กลับมาทำด้านการเกษตร และส่วนใหญ่ก็จะทำการผลิตได้ดี จึงควรแก่การต่อยอดด้วยการเชื่อมโยงการตลาดเข้าไปในระบบการส่งเสริมสนับสนุนด้วย
“เนื่องจากนโยบายของกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์จะสนับสนุนให้มีการใช้ตลาดนำการผลิต young smart farmer จึงควรมีเวทีให้มีการพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน และตอนนี้ young smart farmer ในจังหวัดลพบุรี ที่ประสบผลสำเร็จจึงมีค่อนข้างมากมีการทำการผลิตตามหลักตลาดนำ บางรายก็นำผลผลิตส่งออกต่างประเทศ บางรายส่งห้างสรรพสินค้าชั้นนำของประเทศ และมีตลาดของ young smart farmer เอง ซึ่งตอนนี้ในพื้นที่ภาคกลางมีการเปิดที่จังหวัดอ่างทอง โดยมี young smart farmer จังหวัดลพบุรีเป็นผู้ดำเนินการมีโลโก้เป็นของตัวเอง” นางอมรพรรณ มุนนี กล่าว
ทางด้านนางจิรัฏฐญา บุญเรืองศักดิ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี เปิดเผยว่าการเข้าไปสนับสนุนเกษตรกรในพื้นที่ เบื้องต้นจะให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มสร้างเครือข่ายในการทำการผลิตเป็นวิสาหกิจชุมชน เมื่อกลุ่มมีความเข้มแข็งจึงเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเติมเต็ม
ในด้านความรู้เพื่อการผลิตที่ดีและมีคุณภาพ เช่น เรื่องของการใช้ระบบน้ำอัจฉริยะ หรือการใช้น้ำจากระบบโซล่าเซลล์ เพื่อลดต้นทุนในการผลิตและประหยัดน้ำตลอดถึงการผลิตที่ไม่กระทบกับสิ่งแวดล้อมกับหน่วยงานจากกระทรวงอุตสาหกรรม จากนั้นก็จะเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวกับการตลาดเช่นกระทรวงพาณิชย์
“เราถ่ายทอดความรู้ในเรื่องของการวางแผนการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน อย่างรุ่งเรืองฟาร์มเมล่อน อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี ผลิตเมล่อนได้มาตรฐานคุณภาพ GMP มีการรวมกลุ่มผู้ผลิตเมล่อนในพื้นที่เป็นวิสาหกิจชุมชน ทำให้เกษตรกรในชุมชนมีความเข้มแข็ง โดยกลุ่มจะมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทำการผลิต เน้นตลาดนำการผลิต โดยทำการผลิตให้ได้คุณภาพและปริมาณที่ตลาดต้องการ ผลผลิตที่ออกมาแต่ละรุ่นจึงไม่ล้นตลาดทำให้ราคาขายไม่ผันผวน เกษตรกรได้ต้นทุนคืนและมีกำไรนำมาลงทุนขยายการผลิตและเก็บออมได้อย่างต่อเนื่องจนทำให้วิสาหกิจแห่งนี้มีความเข้มแข็งเป็นอย่างดี” นางจิรัฏฐญา บุญเรืองศักดิ์ กล่าว
ส่วนนายธัชกร รุ่งเรือง ประธานวิสาหกิจชุมชนอำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี หนึ่งใน Young Smart Farmer ที่ปลูกเมล่อนเจ้าของรุ่งเรืองฟาร์มเมล่อน กล่าวว่าได้เรียนจบช่างกลโรงงานจากวิทยาลัยเทคนิคลพบุรี และไปศึกษาต่อด้านเทคโนโลยีการผลิตโปรดักส์ชั่นที่มหาวิทยาลัยวไลยอลงกรณ์ จบแล้วไปสมัครงานกับบริษัทเอกชนทำงานดูแลขบวนการผลิตของโรงงาน โดยทำงานได้ระยะหนึ่ง เป็นห่วงพ่อแม่จึงกลับบ้านซึ่งเดิมครอบครัวทำนา ก็ประสบปัญหาหลายประการ นับตั้งแต่แมลงศัตรูพืช การใช้สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืช การใช้ปุ๋ยบำรุงต้นข้าว และราคาข้าวตกต่ำ
จึงมีแนวคิดไปปลูกพืชชนิดอื่นควบคู่กับการทำนา เมล่อนจึงเป็นตัวเลือกด้วยเห็นว่าตลาดน่าจะดี เมื่อปลูกในระยะแรก ก็ล้มลุกคลุกคลานพอสมควรเพราะประสบกับปัญหาในขบวนการผลิต กลางคืนมีน้ำค้างเป็นปัญหาเกี่ยวกับความชื้นมารบกวน ผลผลิตที่ได้จึงไม่ต่อเนื่อง
“จึงได้หาความรู้เพิ่มเติม จากไปศึกษาดูงานและขอความรู้จากเกษตรอำเภอ ต่อมาสำนักงานส่งเสริมและ พัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท ได้จัดอบรมเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการเกษตรกรรุ่นใหม่โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็น young smart farmer และเดินทางไปดูงานแปลงที่ประสบความสำเร็จเพื่อเพิ่มเติมความรู้ต่างๆ พบว่าการผลิตเมล่อนโดยใช้ระบบเทคโนโลยีของโรงเรือนจะสามารถป้องกันปัญหาเรื่องฝนตกความชื้นและแมลงได้เกือบ100% และสามารถลดการใช้สารเคมีได้ 100% แทบไม่ต้องใช้เลย ส่วนการเตรียมแปลงปลูกจะมีการตรวจสอบดิน วัดดินก่อนว่าดินขาดอะไรบ้าง ซึ่งเมื่อวัดแล้วพบว่าดินที่นี่เป็นดินลพบุรี N P K ค่อนข้างจะครบ ส่วนใหญ่ที่ขาดคือ ชีวมวลหรือชีวภาพ จึงเอามูลสัตว์ประเภทมูลวัวมาใส่ เพื่อเพิ่มจุลธาตุในดินให้เพิ่มขึ้น จึงทำให้ได้รับผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพพร้อมขยายผลสู่เกษตรกรรายอื่นๆ ที่อยู่ภายในกลุ่มฯ และทำการผลิตพืชชนิดเดียวกัน สามารถทำการผลิตได้อย่างต่อเนื่องในทุกฤดูกาลในนามกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และส่งจำหน่ายให้กับห้างสรรพสินค้าได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี” นายธัชกร รุ่งเรือง กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |