ข่าวดีจากมูดี้ส์


เพิ่มเพื่อน    


    ท่ามกลางสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยยังดูแบบทรงๆ ทรุดๆ ในปัจจุบัน ก็ยังพอมีข่าวดีให้ใจชื้นขึ้นมาบ้าง ก็เนื่องมาจากบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ได้ประกาศเมื่อวันที่ 25 ก.ค.62 ได้ปรับมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (เอาต์ลุกซ์) เพิ่มขึ้นจากแนวโน้มมีเสถียรภาพ เพิ่มเป็นแนวโน้มเชิงบวก ครั้งแรกในรอบ 8 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 54 และคงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (เครดิต เรติ้ง) ที่บีเอเอ 1 หรือเทียบเท่าบีบีบีบวก
    คำว่า 'แนวโน้มเชิงบวก' นั้นมีความหมายมากต่อประเทศไทยอย่างมาก เนื่องมาจากอิทธิพลและความน่าเชื่อถือของมูดี้ส์นั้น สามารถกำหนดทิศทางของเงินทุนที่วิ่งอยู่ทั่วโลก ให้เลือกไปลงทุนในประเทศไหนประเทศหนึ่งก็ได้ หากมูดี้ส์ ประทับตราว่าประเทศนั้นมีแนวโน้มเชิงบวก น่าลงทุน  
    ถามว่าปัจจัยอะไรบ้างที่สามารถโน้มน้าวให้มูดี้ส์เปลี่ยนมุมมองต่อชาติไทยเราใหม่ ทาง 'ภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข' ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้ระบุว่า  ปัจจัยสนับสนุนมาจากการมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาค การลงทุนของภาครัฐ แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) วงเงิน 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของไทย และกระตุ้นให้เกิดการลงทุนโดยตรงจากทั้งในและต่างประเทศ  ประกอบกับไทยมีการใช้นโยบายทางการคลังและการเงินของรัฐบาลที่โปร่งใส มีหนี้รัฐบาล เงินเฟ้อระดับต่ำ และระบบการเงินมีเสถียรภาพ พร้อมกับประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 62-63 อยู่ที่ 3-3.5%
    นอกจากนี้ไทยยังมีความแข็งแกร่งทางการเงินภาคต่างประเทศ และภาคการคลังสาธารณะ ซึ่งมูดี้ส์ประมาณไทยจะมีดุลบัญชีเดินสะพัดต่อจีดีพีในปี 62-63 เกินดุล 3-5% และสัดส่วนหนี้ภาครัฐบาลต่อจีดีพีอยู่ที่ 35-40% ซึ่งอยู่ในระดับต่ำช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการตอบสนองต่อความต้องการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงรองรับวิกฤติเศรษฐกิจที่ไม่คาดคิดได้ 
    อย่างไรก็ตาม มูดี้ส์เห็นว่าการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะอาจส่งผลต่อศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมถึงยังจะติดตามสถานการณ์ทางการเมืองที่อาจกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาค รวมถึงการแก้ไขปัญหาปัญหาสังคมผู้สูงอายุซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการปรับอันดับความน่าเชื่อถือในอนาคต
    สิ่งที่มูดี้ส์กังวลนั้น ดูแล้วเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก นั้นก็คือ เรื่องทักษะแรงงาน เพราะในยุคปัจจุบันโลกดิจิทัล ได้เข้ามาดิสรัปธุรกิจดั้งเดิมไปเป็นจำนวนมาก และสิ่งนี้ทำให้เกิดปัญหา เพราะคนที่ไม่ทันเทคโนโลยี ไม่ทันยุค หากจะต้องขบวนทิ้งไว้ข้างหลัง 
    ขณะเดียวกัน ในเรื่องของแรงงานจบใหม่ ทางสถาบันการศึกษาก็ผลิตเด็กที่ไม่ตรงสายออกมาเป็นจำนวนมาก และไม่ตรงกับความต้องการใช้งานของภาคเอกชน ซึ่งเรื่องนี้จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ ภายในไม่อีกกี่ปีนี้ ซึ่งเมื่อขาดแคลนแรงงานที่ใช้ นักลงทุนก็จะต้องทบทวนแล้วว่า จะลงทุนในประเทศไทยหรือไม่ เพราะไม่สามารถขยายธุรกิจได้ เนื่องจากไม่มีแรงานที่มีทักษะมาทำ รวมถึงจำนวนคนวัยแรงงานก็ลดน้อยถอยลง กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุอีก ยิ่งจะส่งผลต่อกระบวนการผลิตของประเทศอย่างแน่นอน
    ในฐานะรัฐบาลอาจจะต้องมองปัญหานี้ เป็นอีกวาระแห่งชาติที่จะต้องผลักดันให้ทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน ตั้งแต่ภาคเอกชนที่จะต้องส่งเสริมให้พนักงานบริษัทมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งอัพสกิล, รีสกิล เพื่อให้เท่าทันเทคโนโลยี ขณะที่รัฐก็จะต้องอำนวยความสะดวกในเรื่องของกฎหมาย การเพิ่มสิทธิประโยชน์ต่างๆ หรือให้องค์กรของรัฐเป็นตัวขับเคลื่อน และสุดท้ายสถาบันการศึกษาจะต้องร่วมมือกับเอกชนในการสร้างแรงงานยุคใหม่ให้ตรงกับความต้องการ 
    หากวางแผนรับมือไว้แต่เนิ่นๆ เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยเรายังเนื้อหอมได้อีกยาว.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"