ใบสั่งขี่ จยย.บนทางเท้า


เพิ่มเพื่อน    

                 ร้อนระอุ! กันมา 2 วันกับการฟังแถลงนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ถูกใจหรือไม่ถูกใจอย่างไร ก็ว่ากันไป 

                แต่วันนี้ขออนุญาตขีดเส้นใต้พักเรื่องการเมืองร้อนๆ เอาไว้ก่อน มาว่ากันที่เรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนบ้าง

                โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนน ที่เมื่อ 3-4 วันก่อนเห็นข่าวว่า "กทม." เตรียมเพิ่มโทษปรับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์บนทางเท้า

                จาก 1,000 บาท ขึ้นเป็น 2,000 บาท

                ตามข้อมูล รองผู้ว่าฯ กทม. "สกลธี ภัททิยกุล" บอกกับคณะผู้บริหารสำนักเทศกิจ และหัวหน้าฝ่ายเทศกิจ 50 สำนักงานเขต กำชับให้ทุกสำนักงานเขตกวดขันการจอด หรือขับขี่จักรยานยนต์บนทางเท้าอย่างเข้มงวด "แม้ปัจจุบัน กทม.จะกำหนดอัตราโทษการจับปรับผู้กระทำผิดขับขี่จักรยานยนต์บนทางเท้าเป็นจำนวน 1,000 บาท ซึ่งถือเป็นโทษที่ค่อนข้างสูง แต่ยังมีผู้ฝ่าฝืนอยู่จำนวนไม่น้อย จึงมีนโยบายเพิ่มโทษปรับผู้ขับขี่จักรยานยนต์บนทางเท้าเป็นจำนวน 2,000 บาท"

                เริ่มจับปรับอัตราใหม่วันที่ 1 ส.ค.นี้เป็นต้นไป!!!

                นอกจากนี้ กทม.ยังเปิดรับฟังเสียงสะท้อนจากสังคม เกี่ยวกับความเหมาะสมของการกำหนดโทษในอัตราที่สูงขึ้นนี้ เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาต่อไป รวมทั้งมอบหมายสำนักเทศกิจ ประสานงานสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล จัดทำแอปพลิเคชันตรวจสอบประวัติผู้กระทำความผิด

                หากพบว่าทำผิดซ้ำซาก ให้ดำเนินการลงโทษสูงสุดทันที โดยมิให้มีการลดหย่อนอย่างเด็ดขาด!!!

                ครับ...ยกมือเห็นด้วยกับ กทม. หากอยากจะแก้ไขปัญหารถจักรยานยนต์วิ่งบนทางเท้า สร้างความเดือดร้อนให้ผู้ที่เดินตามท้องถนน ก็ต้องจริงจังและต่อเนื่อง

                อย่าทำเป็นไฟไหม้ฟาง!!!

                เพราะเท่าที่เห็นตัวเลขสถิติการจับปรับผู้กระทำผิดขับขี่รถบนทางเท้า ระหว่างวันที่ 9 ก.ค.61 - 21  ก.ค.62 จับกุมไปได้ทั้งสิ้นถึง 20,659 ราย ตักเตือน 4,197 ราย ดำเนินคดี 14,678 ราย อยู่ระหว่างดำเนินคดี 1,784 ราย ปรับเป็นเงินกว่า 11,179,500 บาท

                แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่ได้เกรงกลัวกฎหมาย ไม่ได้เกรงกลัวการเสียค่าปรับ การขยับเพิ่มค่าปรับ เพิ่มบทลงโทษ จึงเป็นอีกมาตรการหนึ่งที่ดี

                แต่ถ้าจะให้ดีเพิ่มขึ้น การบังคับใช้กฎหมายก็ต้องเข้มข้นตามไปด้วย เจ้าหน้าที่เทศกิจ เจ้าหน้าที่รัฐ ต้องทำงานหนัก ต้องลงไปตรวจจับการกระทำผิดตามถนนหนทางต่างๆ

                จริงอยู่ทางเท้าในกรุงเทพฯ มีทั่วทุกท้องถนน แต่ก็คงไม่ต้องถึงกับไปเฝ้าไปดูทุกทางเท้า เลือกจุดที่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์กระทำผิดบ่อยๆ กำลังเจ้าหน้าที่ก็น่าจะเพียงพอ

                ที่สำคัญควรใช้อุปกรณ์ในการตรวจจับเพิ่ม อย่างกล้องวงจรปิดถ่ายภาพผู้กระทำผิดแล้วส่งใบสั่งไปที่บ้านเหมือนอย่างตำรวจจราจรก็น่าจะได้ผลเพิ่มขึ้น

                "รองผู้ว่าฯ สกลธี" น่าจะลองไปพิจารณาดูก็ดี. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"