“คนจนสร้างเมือง” และสิทธิที่จะอยู่ในเมือง !


เพิ่มเพื่อน    

 กรุงเทพฯ คือแม่เหล็กยักษ์ที่ดึงดูดผู้คนจากทั่วสารทิศให้มารวมกันอยู่ที่นี่ ทั้งในฐานะของเมืองหลวง ซึ่งเป็นศูนย์รวมอำนาจ ศูนย์รวมเศรษฐกิจ-การค้า การคมนาคม-ขนส่ง การศึกษา การรักษาพยาบาล ฯลฯ ตลอดจนเป็นความหวังของผู้คนที่แร้นแค้นในชนบท จำต้องละทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดเพื่อเข้ามาทำมาหากินอยู่ในเมืองหลวง

ไม่ว่าจะเป็นแรงงานรับจ้างทั่วไป กรรมกรก่อสร้าง แรงงานในโรงงาน เด็กเสิร์ฟ ขับรถแท็กซี่ รถเมล์ สามล้อ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง หาบเร่ แผงลอย คนรับใช้ คนทำความสะอาด เก็บขยะ ดูดส้วม สัปเหร่อ ฯลฯ ปฏิเสธไม่ได้ว่าพวกเขาเหล่านี้ คือ ‘แรงงานที่สร้างเมือง’ และมีความสำคัญต่อเมือง เพราะหากเมืองไม่มีพวกเขา ใครเล่าจะมาทำงานแบบนี้ ?

แต่ด้วยรายได้ที่ไม่มากพอที่จะเก็บเงินสะสมเพื่อซื้อหาที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง แรงงานหรือคนจนเหล่านี้จึงต้องหาที่อยู่อาศัยแบบตามมีตามเกิด บ้างบุกรุกที่ดินสาธารณะ ริมแม่น้ำลำคลอง ที่ดินรัฐ เอกชน หรือเช่าที่ดินที่อยู่อาศัยราคาถูก ไม่มีความมั่นคง เพราะไม่รู้ว่าเจ้าของที่ดินจะขับไล่ในวันใด..!!

ดังตัวอย่างของ ‘ชุมชนแออัดคลองเตย’ ซึ่งอาศัยอยู่ในที่ดินของการท่าเรือแห่งประเทศไทยมานานไม่ต่ำกว่า 50-60 ปี !!

ท่าเรือคลองเตย : กำเนิดชุมชนแออัดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ท่าเรือคลองเตย หรือ ‘ท่าเรือกรุงเทพ’ (Bankok Port) อยู่ภายใต้การบริหารงานของการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยรัฐบาลไทยมีแนวคิดก่อสร้างท่าเรือภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 เพื่อให้เป็นท่าเรือพาณิชย์สำหรับนำเข้าและส่งออกสินค้าทางทะเลไปทั่วโลก แต่หยุดชะงักไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ.2484-2488) มีพื้นที่ทั้งหมดจำนวน 2,353 ไร่

ในจำนวนนี้มาจากการเวนคืนที่นาริมแม่น้ำเจ้าพระยาของ 3 ตระกูลใหญ่ คือ หลวงสุนทรโกษา หลวงอาจณรงค์ และ ณ ระนอง (ปัจจุบันเป็นชื่อถนน 3 สายในเขตคลองเตย) ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้บริการในปี พ.ศ. 2494

ระหว่างการก่อสร้างท่าเรือคลองเตยมีการใช้แรงงานและวัสดุก่อสร้างจำนวนมาก จึงทำให้แรงงานทั้งในกรุงเทพฯ และต่างถิ่นอพยพเข้ามาขายแรงงานในเขตก่อสร้างท่าเรือ และก่อสร้างที่พักอยู่รอบๆ ที่ดินของการท่าเรือฯ นอกจากนี้ยังมีคนงานที่มากับเรือขนส่งวัสดุก่อสร้างทั้งในแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองหัวลำโพง (เชื่อมคลองผดุงกับคลองเตย) ต่างก็จับจองที่ดินรกร้างริมคลองของการท่าเรือฯ ปลูกสร้างบ้านพักเช่นกัน

เมื่อการก่อสร้างท่าเรือแล้วเสร็จแต่คนงานเหล่านี้จำนวนไม่น้อยต่างปักหลักยึดเอาที่ดินของการท่าเรือฯ ปลูกสร้างเป็นที่พักถาวรขึ้นมา และทำงานรับจ้างอยู่ในท่าเรือ ส่วนใหญ่จะเป็นกรรมกรแบกหาม เนื่องจากการขนส่งสินค้าทางเรือในขณะนั้นยังไม่มีเครื่องมือที่ทันสมัย ต้องใช้แรงงานแบกหาม โดยเฉพาะสินค้าประเภทพืชผลทางการเกษตรของไทย เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ปอ ฯลฯ เมื่ออยู่นานวันเข้าจึงกลายเป็นหมู่บ้านขึ้นมา บางคนก็ไปชักชวนญาติพี่น้องจากต่างจังหวัดให้เข้ามาอยู่ด้วย บ้างเมื่อรู้ข่าวก็อพยพเข้ามาปลูกสร้างบ้านเรือนจนกลายเป็นชุมชนหนาแน่นจนถึงทุกวันนี้

นิตยา พร้อมพอชื่นบุญ หรือ “ป้าหมวย” อายุ 71 ปี เข้ามาอยู่ที่คลองเตยตั้งแต่ปี 2509 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 53 ปี ถือเป็นตำนานคนคลองเตยรุ่นบุกเบิก เล่าว่า ครอบครัวเป็นคนพนัสนิคม จ.ชลบุรี เดิมเคยทำไร่ ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง แต่การทำไร่ก็ได้ผลผลิตไม่ดี เพราะขาดแคลนแหล่งน้ำต้องไป

กู้หนี้ยืมสินจากเถ้าแก่มาลงทุนทำไร่ แต่ยิ่งทำยิ่งเป็นหนี้ จึงคิดบากหน้าเข้ามาทำมาหากินในกรุงเทพฯ ซึ่งก่อนที่จะมาอยู่รู้ข่าวว่ามีคนมาบุกเบิกปลูกสร้างบ้านและทำงานอยู่ในย่านท่าเรือคลองเตยแล้ว ป้าหมวยกับสามีจึงมาดูลู่ทางก่อนตั้งแต่ปี 2506 พอจัดการธุระต่างๆ ที่พนัสนิคมแล้วเสร็จ ในปี 2509 จึงอพยพครอบครัวเข้ามาพร้อมกับสามีและลูกเล็กๆ อีก 3 คน “มาอยู่ตอนแรกแถวล็อค 7-8-9 ไปซื้อไม้

ที่ใช้ทำลังใส่สินค้าในเรือ ซื้อมาจากโกดัง 270 บาท ได้ไม้ลังมา 3 แผงใหญ่ มาต่อเป็นฝาบ้าน 3 ด้าน ส่วนอีกด้านก็เอาสังกะสีมาทำเป็นประตูเลื่อนเข้า-เลื่อนออก กว่าจะเสร็จเป็นบ้านก็หมดเงินไปประมาณ 2,000 บาท ตอนนั้นไฟฟ้ายังไม่มี กลางคืนต้องใช้ตะเกียง น้ำประปาต้องใช้ปี๊ปไปหาบมาจากก๊อกน้ำของเทศบาล มีอยู่ 2 ก๊อก คนก็รอคิวกันยาว เพราะตอนที่มาอยู่ใหม่ๆ นั้น ล็อค 7-8-9 มีคนมาปลูกบ้านอยู่แน่นแล้ว”

ป้าหมวยขุดความทรงจำที่ยังแจ่มชัดเมื่อ 50 ปีก่อนมาเล่าให้เห็นภาพชีวิตในช่วงนั้น

เมื่อละทิ้งจอบเสียม ป้าหมวยยึดอาชีพค้าขายเล็กๆ น้อยในละแวกล็อคที่แกอาศัยอยู่ เช่น ขายน้ำแข็งไส หากว่างก็จะรับจ้างหาบน้ำใส่ตุ่มให้เพื่อนบ้าน ตุ่มละ 10 บาท แต่ต้องเดินไปหาบไกลโขอยู่ 10 เที่ยวจึงจะได้ 1 ตุ่มใหญ่ ส่วนสามีทำงานก่อสร้าง รับจ้างแบกปูน (ซีเมนต์) มีรายได้วันละ 12 บาท เพื่อนบ้านคนอื่นบ้างก็ไปรับจ้างแบกหิน ดิน ทราย ที่บรรทุกเรือมาลงที่ท่าเรือคลองเตยเพื่อขนใส่รถดั้มพ์ไปส่งตามแหล่งก่อสร้างต่างๆ มีรายได้ไม่แตกต่างกัน

เว้นแต่คนที่โชคดีหรือพอจะมีวุฒิการศึกษา หรือจับผลัดจับผลูได้เป็นพนักงานการท่าเรือฯ ก็จะมีเงินเดือนกินราวๆ 700 บาท แถมยังมีบ้านพักให้อยู่ โก้หรูไม่หยอก แต่ผู้มาบุกเบิกคลองเตยน้อยคนนักที่จะมีโอกาสเช่นนั้น !!

ส่วนที่มาของชื่อล็อคต่างๆ นั้น ป้าหมวยเล่าว่า มาจากการท่าเรือฯ สร้างบ้านพักให้พนักงาน เป็นบ้านแถวก่อสร้างด้วยไม้ แบ่งเป็นล็อคๆ มีทั้งหมด 12 ล็อค (เริ่มล็อค 1-2-3 บริเวณใต้ทางด่วนถนนอาจณรงค์ จนถึงล็อค 10-11-12 ใกล้สถานีตำรวจท่าเรือ) เมื่อชาวบ้านเข้ามาบุกเบิกปลูกสร้างบ้านในที่ดินของการท่าเรือฯ ตรงข้ามกับบ้านพักพนักงานล็อคใดก็จะตั้งชื่อชุมชนตามล็อคนั้นๆ

ในระยะหลังจึงมีการขยับขยายครอบครัวและบ้านเรือนออกไป บ้างก็แบ่งบ้านให้คนอื่นเช่า รวมทั้งมีผู้ที่อพยพเข้ามาอยู่ในช่วงหลังๆ ซึ่งมาจากทั่วสารทิศ แต่ภาคกลางและอีสานจะมากกว่าภาคอื่นๆ จนขยายกลายเป็นชุมชนใหม่ที่แออัดและหนาแน่น

ปัจจุบันมีชุมชนตั้งอยู่ในที่ดินของการท่าเรือแห่งประเทศไทยทั้งหมด 26 ชุมชน ปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่ในพื้นที่ประมาณ 198 ไร่ (ที่ดินการท่าเรือฯ ทั้งหมด 2,353 ไร่) ส่วนใหญ่ไม่ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินจากการท่าเรือฯ จำนวนครัวเรือนประมาณ 14,000-15,000 ครัวเรือน (ข้อมูลของการท่าเรือฯ ประมาณ 12,500 ครัวเรือน) ประชากรประมาณ 80,000-100,000 คน (ยังไม่มีการสำรวจอย่างเป็นทางการ)

ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพแรงงานทั่วไป เช่น กรรมกร ช่างก่อสร้าง มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ขับแท็กซี่ รถเมล์ แม่บ้านบริษัท รปภ. หาบเร่ ขายอาหาร ทำงานฝีมือ ร้อยพวงมาลัย ทำงานบริษัท ทำชิปปิ้ง ซื้อขายขยะรีไซเคิล ลูกจ้าง กทม. และมีบางส่วนที่ทำงานราชการ เช่น ครู แพทย์ บางคนจบการศึกษาขั้นปริญญาเอก

นอกจากจะเป็นที่ตั้งของชุมชนต่างๆ แล้ว ในชุมชนคลองเตยยังเป็นที่ตั้งของหน่วยงานพัฒนาเอกชนและมูลนิธิต่างๆ เช่น ดวงประทีป เด็กอ่อนในสลัม ศูนย์ Merci ศูนย์บริการด้านสุขภาพ ฯลฯ ซึ่งองค์กรต่างๆ เหล่านี้ทำงานเพื่อสนับสนุนการศึกษาเด็กยากจน (บางคนได้รับการสนับสนุนจนเรียนจบระดับปริญญาโทและเอก) พัฒนาคุณภาพชีวิตแม่และเด็ก ผู้ป่วย ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนเอกชน 2 แห่ง สอนระดับประถมและมัธยมต้น และโรงเรียนของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งยังมีโรงรับจำนำของเอกชน 1 แห่ง

หากจะจัดตั้งเป็นเมืองก็คงจะเป็นเมืองที่ใหญ่โตมิใช่น้อย เพราะมีประชากรเกือบแสนคน

(จังหวัดระนองมีประชากรประมาณ 182,000 คน) นอกจากนี้ชุมชนคลองเตยยังถือเป็นชุมชนแออัดที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และที่สำคัญ...พวกเขาต่างก็มีส่วนในการสร้างเมืองและขับเคลื่อนให้เมืองเจริญเติบโตด้วยเช่นกัน..!

 

 โครงการพัฒนาท่าเรือกรุงเทพเชิงธุรกิจมีแผนดำเนินการมานานไม่ต่ำกว่า 30 ปี นับตั้งแต่สมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ (พ.ศ.2531-2534) แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะรัฐบาลมักจะไปเสียก่อน และเมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาล โครงการพัฒนาท่าเรือกรุงเทพก็จะถูกพับไปด้วย เช่นเดียวกับแผนการพัฒนาท่าเรือและชุมชนคลองเตย โครงการ ‘Smart Community’ ในขณะนี้ที่ยังอยู่ในระหว่างการปรับปรุง Master Plan เพื่อเสนอต่อคณะรัฐบาลชุดใหม่

โครงการ Smart Community ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานการพัฒนาพื้นที่ท่าเรือคลองเตย 2,353 ไร่ให้เป็นพื้นที่พาณิชย์ มีอาคารสำนักงาน ศูนย์ประชุม ศูนย์แสดงสินค้า ร้านค้า โรงแรม ฯลฯ ขณะที่ชุมชนแออัดในคลองเตยทั้ง 26 ชุมชนจะถูกย้าย จากเดิมที่ปลูกสร้างบ้านเรือนในพื้นที่ราบกระจายเป็นวงกว้างในพื้นที่ประมาณ 198 ไร่ ให้ย้ายมาอยู่ที่ใหม่ (ตรงข้ามวัดสะพาน ห่างจากที่เดิม 1-3 กิโลเมตร) เนื้อที่ 58 ไร่ เดิมเป็นโรงงานฟอกหนังของกระทรวงกลาโหม โดยมีการแถลงข่าวเปิดตัวโครงการในเดือนมกราคม 2562

พลเอกประยุทธ์ย้ำเดินหน้โครงก Smart Community มูลค่7,500 ล้

ต่อมาในวันที่ 15 พฤษภาคม พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย รมว.คมนาคม และคณะ ได้เดินทางมาเยี่ยมชาวชุมชนคลองเตยบริเวณล็อค 1-3 โดยนายกฯ ได้กล่าวกับกลุ่มเด็กๆ และเยาวชนที่มาต้อนรับเรื่องการพัฒนาพื้นที่คลองเตยว่า เราอยากอยู่ในสถานที่ดีกว่านี้ไหม ในพื้นที่บริเวณเดียวกันนี้ แต่สร้างขึ้นมาใหม่ อาจจะขยับบ้างเล็กน้อย ตอนนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รัฐบาล กทม. และการท่าเรือฯ ร่วมมือกันจัดทำแผนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมทั้งเส้นทางคมนาคมต่างๆ ด้วย และให้ไปดูตัวอย่างแฟลตดินแดงที่รัฐบาลได้ดำเนินการจนสำเร็จ

“พื้นที่เหล่านี้เป็นของราชการ เมื่อเราจะปรับพื้นที่เพื่อให้มีรายได้สูงขึ้นเพื่อมาพัฒนาประเทศในด้านอื่น เราจะต้องร่วมมือกัน จะเริ่มโครงการนี้ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป จนถึงปี 2572 ถ้าทำได้เร็วก็จะยิ่งดี แต่บางคนก็ยังไม่อยากจะไป จึงขอความร่วมมือจากทุกคนด้วย เพื่อสร้างอนาคตร่วมกัน ไม่เช่นนั้น อนาคตเราจะเดินต่อไปไม่ได้ เราต้องทำให้เกิดความมั่นคงขึ้น

วันนี้รัฐบาลมีแผนให้ค้าขายในชุมชน ไม่ต้องไปข้างนอก เพียงขอให้ร่วมมือกับรัฐบาล” พล.อ.ประยุทธ์กล่าวย้ำ

ขณะที่ เรือโทกมลศักดิ์ พรหมประยูร

ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้ลงพื้นที่ชุมชนคลองเตย พร้อมสั่งการให้ดูแลผู้อยู่อาศัย รวมถึงเร่งรัดแผนลงทุนพัฒนาย่านที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ในชุมชนคลองเตย คือโครงการ Smart Community วงเงิน 7,500 ล้านบาท ใช้พื้นที่ 58 ไร่ พัฒนาเป็นอาคารพักอาศัยสูง 25 ชั้น จำนวน 4 อาคาร รวม 6,144 ยูนิต โดยนายกรัฐมนตรีเห็นควรให้ดำเนินการเร็วขึ้น ซึ่งตามแผนจะเริ่มก่อสร้างในช่วงปลายปี 2563

"โครงการนี้เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาความแออัดของชุมชนคลองเตยที่เข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่ของการท่าเรือฯ โดยผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่เดิม 12,500 รายนั้น การท่าเรือฯ มีข้อเสนอ 3 รูปแบบ คือ 1.มอบห้องพักอาศัยขนาด 33 ตารางเมตรให้ครอบครัวละ 1 ห้อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่อยู่อาศัยอัจฉริยะ

ราคาปัจจุบันตามท้องตลาดประมาณ 5-6 ล้านบาท

2.การมอบที่ดินเปล่าขนาด 19.5 ตารางวา บริเวณเขตหนองจอก มีนบุรี เพื่อสร้างบ้านใหม่ ซึ่งการท่าเรือฯ ได้เตรียมไว้ 2,140 แปลง รวมพื้นที่ทั้งหมด 117 ไร่ และ 3.มอบเงินให้เปล่า

เป็นเงินทุนพัฒนาชีวิต เพื่อใช้ในการกลับภูมิลำเนาเดิมของผู้อยู่อาศัย" ผู้อำนวยการการท่าเรือฯ กล่าวถึงข้อเสนอ

ส่วนความคืบหน้าการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ท่าเรือคลองเตย เนื้อที่ 2,353 ไร่นั้น ผอ.การท่าเรือฯ กล่าวว่า ขณะนี้ได้บริษัทเอกชนเพื่อศึกษาโครงการแล้ว โดยบริษัทจะเข้ามาดูใน 3 แนวทาง คือ 1.การจัดตั้งบริษัทลูกด้านสินทรัพย์ 2.โมเดลการเงิน และ 3.ประเด็นข้อกฎหมาย

ส่วนแผนงานในอนาคตนั้น การท่าเรือฯ จะลดพื้นที่บริหารท่าเรือคลองเตย จากปัจจุบัน 900 ไร่ เหลือเพียง 500 ไร่ โดยพื้นที่ 400 ไร่ที่ตัดออกไปนั้นจะนำไปพัฒนาเชิงพาณิชย์ เพราะเป็นพื้นที่แปลงงามริมน้ำ
โดยการท่าเรือฯ มีแผนจะพัฒนาเป็นห้างสรรพสินค้า ย่านธุรกิจ และร้านค้าปลีก รวมถึงกิจกรรมเชิงพาณิชย์อื่นที่เกี่ยวเนื่องคล้ายกับไอคอนสยาม โดยกระทรวงคมนาคมตั้งเป้าว่า การพัฒนาท่าเรือเชิงพาณิชย์จะทำรายได้อย่างน้อยปีละ 3,500 ล้านบาท

 

เสียงจกคนคลองเตย “มีทงเลือกอื่นอีกไหม ? ”

โครงการ Smart Community ถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนาท่าเรือคลองเตยในเชิงพาณิชย์ เพราะเมื่อมีการขยับพื้นที่ชุมชนออกไปแล้ว จะทำให้การท่าเรือฯ บริหารจัดการพื้นที่ได้สะดวกตามแผนงานที่วางเอาไว้ และมีแนวโน้มสูงที่โครงการทั้งหมดนี้จะเดินหน้าต่อไป โดยเฉพาะเมื่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง โครงการ Smart Community มูลค่า 7,500 ล้านบาท และแผนการพัฒนาท่าเรือเชิงพาณิชย์ที่คาดว่าจะใช้งบประมาณนับแสนล้านบาทยิ่งเด่นชัดแวววาวยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันเสียงจากชาวคลองเตยส่วนใหญ่ก็ไม่ได้คัดค้านกับโครงการนี้ เพียงแต่

ขอให้ชาวชุมชนได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น และเสนอแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยในรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากข้อเสนอ 3 ทางเลือกของการท่าเรือฯ คือ 1.ห้องพักอาศัยขนาด 33 ตารางเมตรครอบครัวละ 1 ห้อง 2.ที่ดินเปล่า

ขนาด 19.5 ตารางวา บริเวณเขตหนองจอก กรุงเทพฯ เพื่อสร้างบ้านใหม่ และ 3.มอบเงิน ให้เปล่าเป็นเงินทุนพัฒนาชีวิตเพื่อกลับภูมิลำเนาเดิม โดยชาวคลองเตยได้เสนอทางเลือกที่ 4 คือ ขอบริหารจัดการที่ดินและที่อยู่อาศัยเองในพื้นที่ที่ไม่ไกลจากเดิม โดยพวกเขารวมตัวกันในนามกลุ่ม ‘คนถงทง’

                การัญ เพิ่มลาภ ผู้ประสานงานกลุ่มคนถางทาง บอกว่า ตนทำงานพัฒนาชุมชนที่คลองเตยมานานกว่า 20 ปี ได้ยินเรื่องการพัฒนาพื้นที่คลองเตยมาตลอด แต่ก็ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น ส่วนครั้งนี้คงจะชัดเจนมากยิ่งขึ้น

เพราะมีการปรับพื้นที่บริเวณโรงฟอกหนังเก่าเนื้อที่ 58 ไร่เอาไว้เพื่อจะสร้างเป็น Smart Community รวมทั้งนายกรัฐมนตรีได้เดินทางมาที่ชุมชนคลองเตยเมื่อไม่นานมานี้

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"