ผบก.น.5 เผย 22 นักเรียนช่างไล่ฆ่าอริ อยู่ในข่ายถูกดำเนินคดี เตรียมขอหมายจับล็อตแรก 7 คน มีทั้งผู้ที่ยังเรียนและศิษย์เก่า รองเลขาฯ กอศ.กำชับสถานศึกษาห้ามยื่นมือช่วยเหลือเพื่อให้เป็นตัวอย่าง แย้มแนวทางแก้เด็กเหลือขอ หากพักการเรียนยังไม่ดีขึ้น จะส่งไปเรียนต่างจังหวัด
พล.ต.ต.มงคล วรุณโณ ผบก.น.5 ให้สัมภาษณ์เมื่อวันพุธ กรณีกลุ่มนักเรียนอาชีวะไล่ปาระเบิดและยิงนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีช่างอุตสาหกรรมกรุงเทพ ที่ถนนศรีนครินทร์ เขตบางนา จนนายชนาธิป เปี่ยมอยู่ หรือมอส อายุ 17 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ถูกยิงเสียชีวิต ว่าคดีนี้มีผู้ร่วมก่อเหตุทั้งหมด 22 คน ใช้จักรยานยนต์ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน 12 คัน โดยเมื่อวันที่ 22 ก.ค. เจ้าหน้าที่สามารถติดตามรถที่ใช้ในการก่อเหตุได้ 3 คัน ขณะเดียวกันได้เชิญพยานแวดล้อม พยานบุคคล และให้ผู้ปกครองพากลุ่มเยาวชนมาให้ข้อมูลแล้ว 6 คน ทราบความสอดคล้องในการสืบสวนว่า ขณะเกิดเหตุใครทำอะไร ที่ไหน แต่ละคนมีพฤติการณ์ในการก่อเหตุอย่างไรบ้าง ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการติดตามหาผู้ที่ใช้อาวุธปืนและระเบิด รวมถึงผู้ร่วมก่อเหตุทั้ง 22 คนกับจักรยานยนต์ทั้งหมด โดยกำลังรวบรวมพยานหลักฐานขอศาลจังหวัดพระโขนงออกหมายจับผู้ก่อเหตุที่ยังเป็นเยาวชนและศิษย์เก่า 7 คน ใน 4 ข้อหา คือ “ร่วมกันฆ่าผู้อื่น พยายามฆ่า มีอาวุธปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีวัตถุระเบิดไว้ในความครอบครอง”
ผบก.น.5 กล่าวว่า สำหรับมาตรการในการป้องกันเหตุ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ประสานไปยังสถาบันการศึกษา เชิญผู้อำนวยการและฝ่ายปกครอง ทั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีสมุทรปราการ และวิทยาลัยเทคโนโลยีช่างอุตสาหกรรมกรุงเทพ มาพูดคุยทำความเข้าใจ เพื่อวางมาตรการป้องกันนักเรียนไม่ให้มาก่อเหตุทำให้สังคมเดือดร้อนอีก
ด้านนายพีระพล พูลทวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวภายหลังประชุมหารือกับผู้บริหารสถานศึกษาที่นักศึกษาก่อเหตุทะเลาะวิวาท เพื่อทบทวนมาตรการและแนวทางในการแก้ไขปัญหา ว่า ที่ประชุมได้พูดถึงเหตุการณ์ก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียน นักศึกษาที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ โดยเหตุการณ์ที่เกิดความขัดแย้งระหว่างเด็กวิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการกับวิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ ตนได้มอบหมายให้ทั้ง 2 สถาบันไปรวบรวมรายชื่อผู้ก่อเหตุทะเลาะวิวาททั้งหมด แล้วให้วิทยาลัยตั้งข้อกล่าวหาเด็กเหล่านี้ว่าพฤติกรรมไม่เหมาะสม พร้อมกับเรียกตัวผู้ปกครองมารับทราบว่าจะต้องให้เด็กหยุดพฤติกรรมดังกล่าวในทันที หากยังก่อเหตุขึ้นอีกจะต้องถูกพักการเรียน หรือหากยังมีพฤติกรรมไม่ดีขึ้นจะใช้มาตรการการแยกตัวเด็กออกไปเรียนที่อื่นในต่างจังหวัด เช่น เพชรบุรี หรือประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น หากเด็กคู่กรณีไม่เจอกันแล้วเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทก็จะไม่เกิดขึ้น
นายพีระพลกล่าวว่า กรณีเด็กวิทยาลัยเทคโนโลยีสมุทรปราการ และวิทยาลัยเทคโนโลยีช่างอุตสาหกรรมกรุงเทพ ที่ก่อเหตุยิงกันจนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตนั้น จากข้อมูลพบว่าน่าจะเป็นความเข้าใจผิด ซึ่งนักเรียนทั้งสองสถาบันขี่รถจักรยานยนต์สวนทางกัน แล้วท้าทายกันทั้งที่ไม่รู้จักกัน และไม่รู้ว่าใครอยู่สถาบันไหน เพราะไม่ได้แต่งชุดนักศึกษา ซึ่งในกรณีนี้ต้องให้กลุ่มเด็กที่ถูกกระทำหยุดเรียนไปก่อน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาบานปลาย ส่วนกลุ่มก่อเหตุปล่อยให้เป็นหน้าที่ของตำรวจดำเนินการขั้นเด็ดขาด โดยห้ามไม่ให้ทางวิทยาลัยเข้าไปรับรองหรือช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้อย่างเด็ดขาด เพื่อให้เป็นกรณีตัวอย่าง นอกจากนี้ตนยังขอให้ทางวิทยาลัยเทคโนโลยีสมุทรปราการคุมเด็กให้ดี ต้องรู้ว่าใครเป็นหัวโจก ต้องแยกเด็กออกจากกลุ่ม และให้ทำกิจกรรม กลับบ้านช้ากว่าคนอื่น
"ที่ประชุมเห็นตรงกันว่ามาตรการต่างๆ ที่ สอศ.ออกมานั้น ยังดีและเข้มแข็งอยู่ แต่ในช่วงที่ผ่านมาอาจจะปฏิบัติไม่เข้มแข็งพอ ประกอบกับพฤติกรรมในการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของเด็กได้เปลี่ยนไป โดยอาจารย์จากวิทยาลัยบางแห่งได้เล่าให้ที่ประชุมฟังว่า เด็กเปลี่ยนจากตีกันตามป้ายรถเมล์แล้ว เพราะทุกวันนี้เด็กไม่ขึ้นรถเมล์มาเรียน แต่ขับขี่จักรยานยนต์มาเรียนแทน ส่งผลให้ค่อนข้างป้องกันปัญหาได้ยาก แม้เราจะมีมาตรการไม่ให้เด็กแต่งชุดนักศึกษา อีกทั้งสวมหมวกกันน็อกแบบเต็มใบซึ่งไม่รู้ว่าใครเป็นใคร แต่สุดท้ายก็ยังก่อเหตุกัน อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่าจะช่วยลดปัญหาแย่ๆ เหล่านี้ได้ก็คือ เมื่อเด็กคนไหนก่อเหตุแล้วต้องดำเนินการขั้นเด็ดขาด" รองเลขาฯ กอศ.กล่าว.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |