พบอาหารกลางวันเด็ก ปัญหาใหญ่มาจากงบประมาณไม่พอ


เพิ่มเพื่อน    

24ก.ค.62-นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวว่า ตามที่ตนได้มีหนังสือแจ้งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (ผอ.สพป.) ทั่วประเทศ ให้ตรวจสอบการบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนที่ได้รับการจัดสรรงบอาหารกลางวันให้แล้วเสร็จในวันที่ 22 กรกฎาคมนั้น เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน (สกก.) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)  ได้สรุปภาพรวมการบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนประถมศึกษาทั่วประเทศ ปี 2562 แล้วพบว่า การดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันระหว่างวันที่ 8–20 ก.ค..2562 พบว่า มีโรงเรียนจัดซื้อวัตถุดิบมาประกอบอาหารเอง จำนวน 4,835 โรง ของจำนวนโรงเรียนที่สำรวจข้อมูล (22,956 โรงเรียน) แยกเป็นโรงเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่ 1 – 40 คน จำนวน 789  แห่ง คิดเป็นร้อยละ 16.32 มีปัญหาและอุปสรรค คือ โรงเรียนมีงบประมาณในการดำเนินการจัดอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน แต่งบประมาณสำหรับการบริหารจัดการไม่เพียงพอ ดังนั้นโรงเรียนจึงต้องการให้มีการเพิ่มงบสนับสนุนอาหารกลางวันนักเรียนเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม หรือ โรงเรียนควรหาเครือข่ายในการสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันของนักเรียนและความร่วมมือในการจัดเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน 


     สำหรับโรงเรียนที่มีนักเรียน ตั้งแต่ 500 –1,499 คน จำนวน 52 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 1.08 และโรงเรียนที่มีนักเรียน ตั้งแต่ 1,500 –2,499 คน จำนวน 3 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 0.06 ส่วนใหญ่พบปัญหาและอุปสรรค คือ บุคลากรมีภาระงานเพิ่มขึ้นและกระทบต่อการจัดการเรียนการสอน จึงมีข้อเสนอให้โรงเรียนควบคุมคุณภาพปริมาณของอาหารกลางวัน และโรงเรียนควรหาเครือข่ายในการสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันของนักเรียนและร่วมมือจัดเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

    เลขาสพฐ.กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาสำนักงานกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวัน สพฐ. ดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนการจัดทำคู่มือการดำเนินงานกองทุนฯ อบรมวิทยากรแกนนำ จัดสรรงบประมาณโครงการทุนหมุนเวียนส่งเสริมผลผลิตเพื่อโครงการอาหารกลางวันด้วย รวมถึง ยังได้มีการกำกับติดตามอาหารกลางวันของนักเรียนปีการศึกษาละ 2 ครั้ง เพื่อรับทราบสภาพปัญหาโดยภาพรวมโรงเรียนสามารถจัดบริการอาหารกลางวันให้นักเรียนได้รับประทานทุกวันทุกโรงเรียน แต่โรงเรียนมีปัญหาการดำเนินโครงการอาหารกลางวัน หลายประเด็น เช่น งบประมาณไม่เพียงพอสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก การดำเนินการจัดทำหลักฐานการเบิกจ่ายไม่ครบถ้วน ขาดบุคลากรที่รับผิดชอบโดยตรง หรือไม่สามารถดำเนินโครงการเกษตรเพื่อโครงการอาหารกลางวันได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้  บางโรงเรียนยังมีการนำงบประมาณไปช่วยเหลือโรงเรียนที่มีนักเรียนขยายโอกาสด้วย อย่างไรก็ตามตนจะนำข้อมูลสรุปภาพรวมการบริหารจัดการทั้งหมดเสนอให้ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) รับทราบและวางแนวทางขับเคลื่อนการบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันให้มีประสิทธิภาพต่อไป


    นายสุเทพ กล่าวต่อว่า สำหรับโรงเรียนที่ตรวจพบและเป็นข่าวการทุจริตเงินอุดหนุนโครงการอาหารกลางวันย้อนหลัง 3 ปี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2560-2562  นั้น โดยในปีการศึกษา 2560 พบว่า โรงเรียนบ้านปลักแรด สพป.พิษณุโลก เขต 1 และ โรงเรียนบ้านหนองกัว สพป.สุรินทร์ เขต 1 มีการทุจริตเงินอุดหนุนโครงการอาหารกลางวัน ส่วนปีการศึกษา 2561 พบ โรงเรียนบ้านตานี สพป.สุรินทร์ เขต 3 ปัญหาที่พบเบิกเงินออกจากบัญชีเงินหมุนเวียนของโรงเรียนนำไปใช้เป็นการส่วนตัว จนทำให้โรงเรียนต้องขาดสภาพคล่อง ไม่มีเงินให้ผู้ปกครองเบิกค่าอุปกรณ์การศึกษาและเป็นค่าอาหารกลางวันเด็กเรียน  โรงเรียนบ้านมะรือโบตก สพป.นราธิวาส เขต 3 ทุจริตในการเบิกจ่ายเงินค่าอาหารกลางวันโรงเรียน โดยไม่ได้นำไปใช้เพื่อกิจกรรมของโรงเรียน แต่กลับนำไปใช้ส่วนตัว วงเงินกว่า 840,000 บาท โรงเรียนบ้านโคกสุมุ สพป.นราธิวาส เขต 1 ทุจริตเงินค่าอาหารกลางวันโรงเรียน วงเงิน 200,000 บาท ที่ได้รับมอบจากบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง  แต่กลับนำไปเป็นประโยชน์เพื่อตนเองหรือผู้อื่น โรงเรียนบ้านท่าใหม่ สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 2 ทุจริตในการเบิกจ่ายเงินค่าอาหารกลางวันโรงเรียน และโรงเรียนอนุบาลขอนแก่น สพป.ขอนแก่น เขต 1 ที่ผู้ปกครองนักเรียน ร้องเรียนศูนย์ดำรงธรรม ให้ตรวจสอบคุณภาพอาหารกลางวัน โดยปีการศึกษา 2562 พบ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 25 สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จ.แพร่ ร้อง ป.ป.ช.ตรวจสอบประมูลอาหารนักเรียน และยังมีโรงเรียนในจังหวัดนครราชสีมา ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เตรียมฟัน 4 โรงเรียน แต่ไม่สามารถเปิดเผยรายชื่อโรงเรียนได้ เข้าข่ายการกระทำการทุจริต


     ในวันเดียวกัน นายสุเทพ ได้ลงพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา จ.นครราชสีมา  และกล่าวถึง               กรณีของจังหวัดนครราชสีมาที่ ป.ป.ช.ภาค 3 ระบุว่าพบการทุจริตโครงการอาหารกลางวัน ตนได้ประสานกับทาง ป.ป.ช.ภาค 3 ไปแล้ว แต่ก็ยังไม่ทราบว่าเป็นโรงเรียนใด  เพราะทาง ป.ป.ช.ไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลให้ทางเราทราบ บอกว่าเป็นความลับ  แต่เชื่อว่าหลังเป็นข่าวแล้วทุกโรงเรียนมีการปรับปรุงการดำเนินการเรื่องอาหารกลางวันกับเด็กแล้ว  แต่ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้ส่งที่ปรึกษาลงไปตรวจสอบให้ชัดเจน พร้อมกับผู้อำนวยการเขตการศึกษาแต่ละเขตด้วย ส่วนกรณีที่พบโรงเรียนนำเงินจากงบอาหารกลางวันไปใช้ในกิจกรรมอย่างอื่นนั้น  ปัจจุบันได้ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องแล้ว ส่วนการเอาผิดกรณีที่ได้ลงมือทำไปแล้วนั้น ขอตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ ก่อน
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"