24 ก.ค 2562 นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่า รฟท.ได้เปิดให้เอกชนเอกชนยื่นซองประมูลก่อสร้างและติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณรถไฟทางคู่ 3 สัญญา วงเงินราคากลาง 1.14 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น 1.รถไฟทางคู่สายเหนือช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ วงงิน 2,782 ล้านบาท 2.รถไฟทางคู่สายอีสานช่วงมาบกะเบา-ชุมทางจิระ วงเงิน 2,460 ล้านบาท 3.รถไฟทางคู่สายใต้ช่วงนครปฐม-ชุมพร วงเงิน 6,250 ล้านบาท สำหรับบรรยากาศการยื่นซองในวันนี้พบว่ามีเอกชนเดินทางเข้ามาจำนวนมากช่วงเวลาตั้งแต่ 9.00-12.00 น. สำหรับผู้มีสิทธิ์ยื่นข้อเสนอต้องมีกล่องเอกสารครบถ้วน เขียนบัตรคิว และลงเวลาเรียบร้อยแล้ว ถ้าหากเกินเวลาปิดรับข้อเสนอ 12.00 น. ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการคัดเลือก
นายสุจิตต์กล่าวต่อว่าเริ่มจากสัญญาที่ 1 รถไฟทางคู่สายเหนือช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ มีเอกชนยื่นประมูลทั้งหมด 4 ราย ได้แก่ 1.กิจการร่วมค้า BT-UN ประกอบด้วย Bombardier จากประเทศแคนนาดา และบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ 2.บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD จับมือกับ LSIS จากประเทศเกาหลีใต้ 3.กิจการร่วมค้า CRSC จากประเทศจีน และ Hitachi จากประเทศญี่ปุ่นที่เป็นพันธมิตร และ 4.บริษัท Siemen จากประเทศเยอรมนี สัญญาที่ 2 รถไฟทางคู่สายอีสานช่วงมาบกะเบา-ชุมทางจิระ มีเอกชนยื่นนซองประมูล 4 รายได้แก่ 1.บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD จับมือกับ LSIS จากประเทศเกาหลีใต้ 2. .กิจการร่วมค้า CRSC จากประเทศจีน และ Hitachi จากประเทศญี่ปุ่นที่เป็นพันธมิตร และ 3.บริษัท Siemen จากประเทศเยอรมนี 4.กิจการร่วมค้า BHBR ที่นำโดย Beijing hollysys จากประเทศจีน
สัญญาที่ 3 รถไฟทางคู่สายใต้ช่วงนครปฐม-ชุมพร มีเอกชนยื่นซองประมูล 5 รายได้แก่ 1.แก่ 1.บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD จับมือกับ LSIS จากประเทศเกาหลีใต้ 2. .กิจการร่วมค้า CRSC จากประเทศจีน และ Hitachi จากประเทศญี่ปุ่นที่เป็นพันธมิตร และ 3.บริษัท Siemen จากประเทศเยอรมนี
นายสุจิตต์กล่าวต่อว่าพบว่าบริษัทผู้ผลิตจากเยอรมนี กิจการร่วมค้าจีน-ญี่ปุ่นและกิจการร่วมค้าไทย-แคนาดา ยื่นข้อเสนอประมูลทั้ง 3 สัญญา ขณะที่กิจการร่วมค้า BHBR ที่นำโดย Beijing hollysys จากประเทศจีน เพิ่งซื้อซองประกวดราคาเมื่อไม่นานมานี้ ก็เข้ายื่นซองเสนอราคาโครงการนี้ด้วยเหสมือนกัน ส่วนด้านบริษัทรายใหญ่ของไทยอีกเจ้าที่ยื่นซื้อซองไปคือ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ STEC พบว่าในวันนี้ไม่เข้ามายื่นซองเสนอราคา
อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ รฟท.จะดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการคัดเลือกเพื่อเปิดซองคุณสมบัติและวองเทคนิคใช้เวลาพิจารณา 15 วัน โดยซองเทคนิคต้องได้คะแนนรวมมากกว่า 70 คะแนนขึ้นไป ขณะที่ซองราคานั้นคาดว่าจะเปิดซองได้ในเดือน ส.ค. คาดว่าน่าจะประกาศผู้ชนะการประมูลได้ราวเดือน ก.ย. 2562 และลงนามเดือน ต.ค. 2562 เพื่อให้ผู้ชนะโครงการได้เริ่มงานต่อไป
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |