เมื่อไม่นานมานี้ผมอ่านเจอข้อความในเฟซบุ๊กของ ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์เกี่ยวกับคนเรียนอักษรศาสตร์กับ "ปัญญาประดิษฐ์" หรือ Artificial Intelligence and Machine Learning (AIML) ที่น่าสนใจมาก
ขออนุญาตนำมาเล่าต่อให้ได้อ่านกัน เพราะเป็นหัวข้อที่ผู้คนทั้งโลกกำลังสนใจเป็นพิเศษ
อนาคตของไทยเราจะต้องเข้าใจการสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีความสันทัดจัดเจนทางด้าน AI มากขึ้นตลอดเวลา
อาจารย์อานนท์เขียนว่า "เช้านี้มีเด็กอักษรฯ จุฬาฯ ถามมาว่าอยากเรียน Artificial Intelligence and Machine Learning บอกว่ามี math แค่ ม.ปลาย เขียนโค้ดไม่เป็น"
เลยส่งเรื่องนี้ไปให้อ่าน
ปุจฉา: เรียน ม.ปลาย ศิลป์-ภาษามา และเรียนปริญญาตรีทางภาษามา จะเรียนต่อโทในคณะสถิติประยุกต์ได้หรือไม่ และจะเรียน Business Analytics and Data Science ไหวไหม
วิสัชนา: ผมว่าคนที่เรียนสายศิลป์-ภาษา ไม่ได้โง่นะครับ หลายคนเก่งมาก และเราต้องเข้าใจว่าคนเรามีความฉลาดไม่เหมือนกัน และก็มีความชอบไม่เหมือนกัน
ผมเรียนห้องวิทย์แต่เรียนฝรั่งเศสมาด้วย เป็นห้องวิทย์-ฝรั่งเศสที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เราเรียนภาษาฝรั่งเศสด้วยสัปดาห์ละสามชั่วโมง และเรียนตารางธาตุเป็นภาษาฝรั่งเศส อาจารย์ผู้สอนจบสายศิลป์-ภาษามา ต้องใช้ความพยายามในการทำความเข้าใจตารางธาตุอย่างสุดใจขาดดิ้นเพื่อจะสอนตารางธาตุเป็นภาษาฝรั่งเศสได้
ที่ผมประทับใจมากคือมีรุ่นน้องห้องนี้ วิทย์-ฝรั่งเศส แกเกิดชอบภาษาฝรั่งเศสมาก และเปลี่ยนใจจากการเรียนวิทย์-คณิต สายฝรั่งเศส มาสอบ Entrance เข้ามหาวิทยาลัยสายศิลป์-ฝรั่งเศสแทน แล้วได้เข้ามาเรียนอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ด้วยการสอบเข้าด้วยวิชาภาษาฝรั่งเศสด้วย เธอเรียน คณิต ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ได้ดีหมด แต่ชอบเรียนภาษามาก เลยเลือกมาเรียนอักษรศาสตร์ จุฬาฯ แล้วเมเจอร์อังกฤษ โทฝรั่งเศสด้วยครับ ผมประทับใจมาก ว่าเรียนสายวิทย์แล้วมาสอบแข่งกับเด็กสายศิลป์-ภาษาฝรั่งเศสอีก ผมไม่มีทางทำได้ เด็กสายศิลป์-ฝรั่งเศส ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาสมัยนั้นเรียนภาษาฝรั่งเศสสัปดาห์ละ 6-7 ชั่วโมง มากกว่าเด็กสายวิทย์สองเท่าทีเดียว
คนเราจะเรียนอะไรก็เรียนได้ครับ ถ้าใจรักและมีความพยายาม
ผมได้ฟังเรื่องที่นิสิตเก่าอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เข้ามาเรียนที่คณะสถิติประยุกต์คนหนึ่ง เธอจบเอกฝรั่งเศสมาเหมือนกันหรืออย่างไรนี่ และไม่ได้เรียนคณิตศาสตร์มาเลยตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เพราะเรียนสายศิลป์ ส่วน ป.ตรีก็ไม่ได้เรียน
แต่เธอตัดสินใจเลือกเรียน Logistics Management ตอนแรกอดีตคณบดีไม่อยากจะเลือกเธอเข้ามาเรียน แต่เธอยืนยันว่าเธอไม่ได้โง่ เธอสามารถเรียนได้ แม้คณิตศาสตร์ยากๆ หรือ Calculus ก็สามารถเรียนได้
เธอให้สัมภาษณ์ว่าหนูจะพิสูจน์ตัวเองให้อาจารย์ดูว่าหนูทำได้ และเรียนได้ มีเวลาประมาณสี่เดือนก่อนเริ่มเรียนจริง ถ้าอาจารย์รับหนูเข้ามาเรียน หนูจะไปเรียนคณิตศาสตร์ ม.ปลายทั้งหมด จะไปอ่านทั้งหมด แล้วจะจ้างนิสิตวิศวะมาติวให้ด้วยอย่างหนัก และหนูจะเรียนให้ถึง Calculus1 ของวิศวะจุฬาฯ
อดีตคณบดีตัดสินใจรับเธอเข้ามาเรียน และผลปรากฏว่าเธอทำอย่างที่พูดได้จริงๆ และมีความสามารถทางคณิตศาสตร์ได้ดีกว่าคนอื่นๆ ในห้อง จบปริญญาโท Logistics Management จากคณะสถิติประยุกต์ของนิด้า ที่เน้น Optimization และ Operations Research ซึ่งต้องอาศัยคณิตศาสตร์มากเหลือเกิน และจบด้วยเกียรตินิยมดีมาก หรือเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ได้คะแนนเป็นที่หนึ่งของรุ่น และได้ทำงานดีมาก ใจสู้จนขณะนี้ไปเป็น Country Manager ของสักประเทศ
อันที่จริงเมื่อเข้ามาเรียน ด้วยพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่แตกต่างกันมาก ในคณะจะมีวิชา AS4001 หรือ BADS4001 เป็นการทบทวนคณิตศาสตร์ปริญญาตรี วิชา Calculus 1 และ Calculus 2 และ Linear Algebra ให้ หลายคนก็ปรับตัวได้ตรงนี้ และหลายคนที่ปรับตัวไม่ได้ก็เลิกเรียนไป
อย่างไรก็ตาม ในคณะสถิติประยุกต์เองก็มีความหลากหลาย บางสาขาไม่ต้องใช้คณิตศาสตร์มากนักก็มี เช่น Information Technology Management ซึ่งต้องเรียน Finance และบัญชี แค่คณิตศาสตร์ ม.ต้น ม.ปลาย นิดหน่อยก็พอเรียนได้
ในบางสาขาเช่นสถิติ ต้องใช้คณิตศาสตร์หนักมาก เพราะเน้นการพิสูจน์ที่มาที่ไปของทฤษฎีสถิติ และวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง ต้องใช้คณิตศาสตร์มากเช่นกัน BADS ไม่ได้ใช้คณิตศาสตร์เข้มข้นเท่ากับสองสาขาดังกล่าวคือ สถิติและวิทยาการประกันภัย แต่อย่างไรก็จำเป็นต้องใช้คณิตศาสตร์
คำตอบจึงไม่ได้อยู่ที่คณะสถิติประยุกต์หรืออยู่ที่อาจารย์ผู้สอนแล้วครับ แต่อยู่ที่ตัวนักศึกษาเองครับ
ผมอ่านคำตอบของอาจารย์อานนท์แล้วก็เห็นพ้องเลยครับว่าทุกอย่างอยู่ที่ตัวคนเรียนเอง ไม่ได้อยู่ที่ครูผู้สอนหรือคณะใดๆ เลย
และหากเราจะสร้างคนพันธุ์ใหม่ของไทยให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงระดับโลกได้ เราก็ต้องเปลี่ยนวิธีคิดและปฏิบัติเยอะเลยครับ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |