อดีตนายกรัฐมนตรีหลี่ เผิง ของจีน ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว ขณะมีอายุ 90 ปี ปิดฉากมือฆ่าแห่งปักกิ่งผู้อยู่เบื้องหลังการปราบปรามผู้ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างนองเลือดกลางจัตุรัสเทียนอันเหมินเมื่อปี 2532
แฟ้มภาพ วันที่ 3 มีนาคม 2540 ประธานาธิบดีเจียง เจ๋อหมิน (ซ้าย) สนทนากับนายกฯ หลี่ เผิง ในวันเปิดประชุมประจำปีสภาผู้แทนประชาชนจีน / AFP
สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนรายงานเมื่อวันอังคารที่ 23 กรกฎาคมว่า หลี่เสียชีวิตเพราะอาการป่วยที่ไม่ระบุ ขณะรับการรักษาที่กรุงปักกิ่ง โดยเขาไม่ตอบสนองการรักษาเมื่อช่วงดึกวันจันทร์ ก่อนหน้านี้เคยมีรายงานว่าหลี่เป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
เอเอฟพีกล่าวว่า เจ้าของฉายา "นักฆ่าสัตว์แห่งปักกิ่ง" รายนี้ถูกทั่วโลกกล่าวขานในฐานะผู้มีบทบาทสำคัญในการปราบปรามผู้ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยที่จัตุรัสเทียนอันเหมินเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2532 ซึ่งเชื่อกันว่ามีคนถูกฆ่าตายมากกว่า 1,000 คน เขาถูกมองเป็นสัญลักษณ์ของการกดขี่ตราบจนวาระสุดท้ายในชีวิตของเขา
หลี่ในฐานะนายกรัฐมนตรีขณะนั้นประกาศกฎอัยการศึกเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ภายหลังนักศึกษา, แรงงาน และประชาชน ชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสกลางกรุงปักกิ่งยาวนานหลายสัปดาห์ จากนั้นถัดมา 2 สัปดาห์ กองทัพก็เคลื่อนรถถังเข้าปราบปรามอย่างนองเลือดในวันที่ 3-4 มิถุนายน
หลี่เคยให้เหตุผลปกป้องการตัดสินใจของคณะผู้นำจีนในสมัยนั้นว่า การใช้กำลังปราบปรามเป็นมาตรการที่ "จำเป็น" มิเช่นนั้น จีนอาจต้องเผชิญสถานการณ์ที่เลวร้ายกว่าของอดีตสหภาพโซเวียตหรือยุโรปตะวันออก
หลายปีต่อมา หลี่ยังพยายามแก้ต่างเรื่องบทบาทของเขาในการปราบปรามครั้งนั้น โดยอ้างว่าเขาเพียงปฏิบัติตามการตัดสินใจของเติ้ง เสี่ยวผิง ซึ่งเสียชีวิตเมื่อปี 2540 และผู้นำอาวุโสคนอื่นๆ ของพรรคคอมมิวนิสต์ แต่เอกสารลับของพรรคที่ถูกนำมาเผยแพร่ในสหรัฐเมื่อปี 2544 ชี้ว่าหลี่คือตัวการสำคัญที่ยุยงและกล่อมให้เติ้งส่งรถถังเข้าปราบปราม อย่างไรก็ดี จีนไม่เคยยืนยันว่า "เอกสารเทียนอันเหมิน" นี้เป็นของจริง และเหตุการณ์ที่จัตุรัสเทียนอันเหมินยังคงเป็นประเด็นต้องห้ามกล่าวถึงในจีน.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |