ผ่านพ้นด้วยดี อินเดียประสบความสำเร็จในการปล่อยจรวดส่งยานจันทรายาน-2 สำรวจดวงจันทร์เมื่อวันจันทร์ หลังประสบปัญหาทางเทคนิคต้องเลื่อนส่ง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา
จรวดจีเอสแอลวี-มาร์ค 3 ทะยานขึ้นจากฐานปล่อยจรวดเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2562 เพื่อนำยาน "จันทรายาน-2" ไปสำรวจดวงจันทร์ / ARUN SANKAR / AFP
จรวดจีเอสแอลวี-มาร์ค 3 นำยานอวกาศจันทรายาน-2 ทะยานขึ้นจากฐานปล่อยจรวดที่ศูนย์อวกาศสาทิศธาวัน เมืองศรีหริโคตา รัฐอานธรประเทศ เมื่อวันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม เวลา 14.43 น. ตามเวลาท้องถิ่น หรือ 16.13 น. ตามเวลาไทย ห้องควบคุมภารกิจส่งยานอวกาศลำนี้ประกาศว่า ยานจันทรายาน-2 แยกตัวออกจากจรวดโดยไม่พบปัญหา
การส่งยานจันทรายาน -2 เกิดขึ้นหลังจากกำหนดส่งยานครั้งแรกเมื่อวันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม ต้องยุติการปล่อยจรวดขณะกำลังนับถอยหลังอยู่ที่เวลา 56 นาที สื่ออินเดียรายงานว่า พบปัญหาเชื้อเพลิงฮีเลียมรั่วไหลในถังเก็บเชื้อเพลิงของจรวด
อินเดียจะเป็นชาติที่ 4 ที่ส่งยานอวกาศลงสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ต่อจากรัสเซีย, สหรัฐ และจีน อินเดียเคยส่งยานจันทรายาน-1 สำรวจดวงจันทร์ในปี 2551 แต่ไม่ได้ลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์
จรวดจีเอสแอลวี-มาร์ค 3 ที่ใช้ส่งจันทรายาน-2 น้ำหนัก 640 ตัน ความสูง 44 เมตร หรือเท่ากับตึกสูง 14 ชั้น ส่วนจันทรายาน-2 ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ยานอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์, ยานลงจอดพื้นผิวดวงจันทร์ และยานสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ ซึ่งยานอวกาศจะโคจรรอบดวงจันทร์ 1 ปี เพื่อถ่ายภาพพื้นผิวดวงจันทร์ ส่วนยานลงจอดจะนำยานสำรวจลงที่ขั้วใต้ของดวงจันทร์ช่วงต้นเดือนกันยายนนี้ โดยจะอยู่บนดวงจันทร์ 1 วันของดวงจันทร์ หรือเท่ากับ 14 วันบนโลก.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |