รับห่วงชาวบ้าน ริมนํ้าเจ้าพระยา เผชิญวิกฤติแล้ง


เพิ่มเพื่อน    


    "ธรรมนัส" เตรียมลงพื้นที่โคราชเช็กสถานการณ์ลำน้ำส่งเข้าเขื่อนลำตะคอง 22 ก.ค.นี้ รับเป็นห่วง ปชช.ริมแม่น้ำเจ้าพระยา หลังเขื่อนภูมิพลและสิริกิติ์วิกฤติน้ำอุปโภค-บริโภคเหลือใช้แค่ 2 เดือน ภาคเกษตรไม่มีฝนเทลงมาหนักแน่ ยัน รมต. 4 คนอยู่กระทรวงเกษตรฯ ไร้เกาเหลา "เหนือ-อีสาน" หลายจังหวัดแล้งหนัก "หญิงหน่อย" ข่ม "บิ๊กตู่" ซัดเคาะแก้ปัญหาภัยแล้งไม่เป็นรูปธรรม เสนอ 3 มาตรการเร่งด่วนให้รีบทำตาม
    เมื่อวันอาทิตย์ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (รมช.เกษตรและสหกรณ์) กล่าวถึงสถานการณ์ภัยแล้งว่า ในวันที่ 22 ก.ค. ตนและคณะจะตรวจเช็กสถานการณ์ในลำน้ำที่ส่งเข้าเขื่อนลำตะคอง อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครราชสีมา ซึ่ง ส.ส.ในพื้นที่จะเป็นผู้พาไป 
    ร.อ.ธรรมนัสกล่าวว่า หลังการลงพื้นที่ตรวจสอบการบริหารจัดการน้ำที่เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ สิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือปริมาณน้ำที่เหลือใช้เฉพาะการอุปโภคบริโภค หากฝนไม่ตกลงมา และเราไม่มีวิธีการแก้ไขพี่น้องประชาชนที่อาศัยน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาจะเดือดร้อนภายใน 2 เดือนนี้ ส่วนภาคการเกษตร หากไม่มีฝนลงมาจะเดือดร้อนแน่นอน เพราะขณะนี้เดือดร้อนอยู่แล้ว จึงต้องเร่งแก้ปัญหาให้พี่น้องเกษตรกรโดยใช้การทำฝนเทียม 
    "สถานการณ์ภัยแล้งในภาพรวมไม่ว่าจะเป็นภาคอีสานหรือภาคเหนือ ผมได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรฯ และผู้ว่าราชการจังหวัดได้ส่งข้อมูลมาให้แล้ว ส่วนตัวเลขปริมาณน้ำในเขื่อนทั้งหมดมีปริมาณน้ำเหลืออยู่แต่ 1,400 ล้านลูกบาศก์เท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง" รมช.เกษตรฯ"
    ถามว่ากระทรวงเกษตรฯ มีรัฐมนตรีมาจาก 4 พรรค การทำงานจะมีปัญหาหรือไม่ ร.อ.ธรรมนัสยืนยันว่า แม้รัฐมนตรีในกระทรวงมาจากต่างพรรคการเมืองถึง 4 พรรค แต่การทำงานและการขับเคลื่อนนโยบายจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างแน่นอน
    ขณะที่เพจไทยคู่ฟ้าได้โพสต์ข้อความเรื่อง "หนุนเกษตรกร...ฝ่าวิกฤติภัยแล้ง" ระบุว่า มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาฝนทิ้งช่วงของรัฐบาล ผ่าน ธ.ก.ส. ประกอบด้วย 1.สินเชื่อเงินด่วน ให้กู้ได้รายละไม่เกิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ย MRR 7% เพื่อใช้ในการจัดหาปัจจัยการผลิตเพาะปลูกพืชระยะสั้น และทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ 2.สินเชื่อฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับเกษตรกรลูกค้าผู้ประสบภัยธรรมชาติหรือภัยพิบัติ ให้กู้ต่อรายสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท ดอกเบี้ย MRR -2 หรือเท่ากับ 5% ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ไม่เกิน 15 ปี
    3.สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน กู้ได้รายละไม่เกิน 50,000 บาท สำหรับนำไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ป้องกันไม่ให้เป็นหนี้นอกระบบ 4.ปรับโครงสร้างและตารางชำระหนี้ ให้ลูกหนี้ ธ.ก.ส. ที่เข้าโครงการขยายเวลาชำระหนี้ตามแนวทางเกษตรประชารัฐ โดยพักชำระเงินต้นให้ 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 61-31 ก.ค. 64 รวมถึงเกษตรกรที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการสามารถขอขยายเวลาปรับตารางชำระ พักหนี้ได้ 1 รอบปีการผลิต 5.จัดหาเมล็ดพันธุ์ข้าว และพืชไร่อื่นๆ แก่เกษตรกร ที่ประสบปัญหาต้นกล้าแห้งตายเพราะขาดแคลนน้ำ และ 6.จัดโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ สร้างฝายมีชีวิตร่วมกับท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการประกอบอาชีพภาคการเกษตร 6,100 ฝาย
    ที่ จ.นครพนม ระดับน้ำในแม่น้ำโขง บริเวณสถานีตรวจวัดน้ำชุมชนหนองแสง เขตเทศบาลเมืองนครพนม วัดได้ 1.48 เมตร ซึ่งมีระดับต่ำกว่าวันที่ 20 ก.ค. 17 ซม. และเมื่อเปรียบเทียบกับระดับน้ำโขงเมื่อปีที่แล้ว (2561) น้ำโขงต่ำกว่าปีก่อน 8.33 เมตร โดยปัญหาแล้งที่ จ.นครพนม ส่งผลให้พื้นที่การเกษตรในอำเภอศรีสงคราม รวม 9 ตำบล จำนวน 56,682 ไร่ ได้รับความเสียหาย 100% 
    นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าฯ นครพนม ได้มีหนังสือขอฝนหลวงไปแล้วเมื่อวันที่ 18 ก.ค. ขณะที่ในพื้นที่นาของเกษตรกร พบว่าหลังปักดำเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่มีฝนตกลงมา ทำให้น้ำที่ใช้หล่อเลี้ยงต้นข้าวเริ่มเหือดแห้ง ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้ขยายเป็นวงกว้างไปทุกอำเภอของจังหวัดนครพนม 
    เช่นเดียวกับ จ.หนองคาย ระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่จ.หนองคาย ยังคงมีระดับต่ำแม้วันที่ 21 ก.ค. จะมีระดับเพิ่มขึ้น โดยระดับน้ำโขงมีระดับต่ำ ทำให้มีแก่งหิน สันดอนทราย และหาดทรายเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้างหลายจุดทั้ง 6 อำเภอที่อยู่ติดกับแม่น้ำโขง เริ่มตั้งแต่อำเภอสังคม อำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอท่าบ่อ อำเภอเมืองฯ อำเภอโพนพิสัย และอำเภอรัตนวาปี                 
    จ.สุรินทร์ ที่บ้านกะเลงเวก หมู่ที่ 2 ต.เทพรักษา อ.สังขะ จ.สุรินทร์ ได้มีชาวบ้านกว่า 100 คน รวมตัวกันที่บ้านของผู้ใหญ่บ้าน พร้อมมีการเตรียมเสบียงเป็นข้าวสารอาหารแห้ง เพื่อนำไปประกอบอาหารกินเป็นมื้อเที่ยงที่ป่าต้นน้ำกัน และเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการวางท่อส่งน้ำเพื่อนำมาใช้บรรเทาการขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้กัน โดยชาวบ้านได้เดินทางนำผู้สื่อข่าวไปดูแหล่งต้นน้ำในป่าลึก ซึ่งต้องเดินทางไปไกลกว่า 10 กิโลเมตร 
    จ.ขอนแก่น ฝนทิ้งช่วงยังน่าเป็นห่วงในหลายพื้นที่ของจังหวัดขอนแก่น โดยเฉพาะอำเภอน้ำพอง ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง ขาดน้ำใช้อุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อทำการเกษตร ซึ่งอยู่ในช่วงปักดำปลูกข้าวนาปี ทำให้ต้นข้าวขาดแคลนน้ำหล่อเลี้ยงยืนต้นตาย  ล่าสุดโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวาย สำนักงานชลประทานที่ 6 นำเครื่องสูบน้ำขนาด 8 นิ้ว 6 เครื่องไปสูบน้ำให้กับพื้นที่บ้านโคกสูง ตำบลท่ากระเสริม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เพื่อสูบน้ำจากลำน้ำพองเข้าสู่คลองชลประทานที่อยู่ห่างออกไปหลายสิบเมตร ให้คลองชลประทานมีน้ำไปเลี้ยงต้นข้าวหลายพันไร่
    จ.พะเยา ปริมาณน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเหลือเพียง 9.67 ล้านลูกบาศก์เมตร จากปริมาณความจุ 33 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเฉพาะบริเวณประตูน้ำในสถานีประมง มีสภาพแห้งขอด เห็นสันดอนดินอย่างชัดเจน เจ้าหน้าที่ได้ทำการปิดประตูระบายน้ำ รวมถึงต้องใช้คันดินกั้นน้ำไว้ไม่ให้รั่วซึมออกไป แต่ท้ายน้ำยังคงมีน้ำเล็กน้อย เพื่อรักษาระบบนิเวศภายในลำน้ำอิง นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตรรอบกว๊านพะเยา และความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่เริ่มไม่มีน้ำใช้อุปโภคบริโภคแล้ว  
    คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย (พม.) โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ชี้แนะแนวทางแก้ปัญหาวิกฤติภัยแล้ง โดยเฉพาะพี่น้องทางภาคเหนือและภาคอีสานที่กำลังประสบปัญหาอย่างหนัก ฝากถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตอนหนึ่งระบุว่า มาตรการแก้ภัยแล้งที่นายกฯ สั่งการเมื่อววันที่ 20 ก.ค.ไม่เพียงพอ ไม่มีมาตรการอะไรเป็นรูปธรรมที่จะแก้ปัญหาภัยแล้ง และช่วยเยียวยาเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้งทั่วประเทศได้
    คุณหญิงสุดารัตน์กล่าวว่า ขอเสนอ 3 มาตรการเร่งด่วนให้ พล.อ.ประยุทธ์รับไปดำเนินการ เพื่อช่วย เหลือเกษตรกรให้ทันท่วงที 1.ทำฝนหลวงโดยเร่งด่วน ไม่ใช่แค่ทำฝนหลวงเฉพาะที่บริเวณเหนือเขื่อนเท่านั้น แต่ต้องทำฝนหลวงกระจายและครอบคลุมในพื้นที่ภัยแล้งให้ได้ 2.ประกาศให้พื้นที่ที่เผชิญวิกฤติภัยแล้งหนักหน่วง ชนิดไม่มีน้ำเพื่อทำการเกษตร เป็นพื้นที่ภัยพิบัติทันที ภายในสิ้นเดือนนี้ พร้อมสรุปข้อมูลให้เห็นถึง จำนวนครัวเรือนที่ประสบภัย ข้อมูลพื้นที่การเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งทั้งหมด และ 3.เร่งรัดจ่ายเงินชดเชยให้พี่น้องเกษตรกรทันที เพื่อช่วยเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที ขณะเดียวกันพี่น้องเกษตรกรก็จะได้วางแผนเพื่อประกอบอาชีพอื่นๆ แทนในเวลาที่เหลือของปีนี้
    "ประชาชนฝากความหวังว่ารัฐบาลใหม่จะแสดงฝีมือแก้วิกฤติภัยแล้ง แต่จนถึงนาทีนี้ชักไม่มั่นใจ ภาพพี่น้องประชาชนปิดถนน ประท้วงภัยแล้ง ช่วยสะท้อนภาพการทำงานได้ดี" คุณหญิงสุดารัตน์กล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"