วินิจฉัยสถานะบิ๊กตู่! ศาลให้แจงใน15วันแต่ไม่ต้อง'หยุด'ปฏิบัติหน้าที่


เพิ่มเพื่อน    


    ถึงคิว “บิ๊กตู่” ระทึก ศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยสถานะ “พล.อ.ประยุทธ์” สิ้นสุดเพราะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ให้เวลา 15 วันยื่นแจง แต่ไม่ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ เพราะไม่ได้ร้องขอและไม่เข้าข่ายมาตรา 82 วรรคสอง “เหลิม” โผล่ขย้ำลุงตู่ขาดคุณสมบัติ
    เมื่อวันศุกร์ที่ 19 ก.ค. สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้ออกเอกสารข่าวศาลรัฐธรรมนูญที่ 13/2562 ซึ่งเป็นผลการประชุมปรึกษาพิจารณาคดีที่ 15/2562 กรณีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่าความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (6) และมาตรา 98 (15) หรือไม่
    โดยผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาว่าคำร้องของผู้ร้องต้องด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับไว้พิจารณาวินิจฉัยหรือไม่ พิจารณาแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องปรากฏว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 110 คน ซึ่งเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรเข้าชื่อร้องต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้ร้อง ขอให้ส่งคำร้องดังกล่าวไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ตามรัฐธรรมนูญ ประกอบมาตรา 82 วรรคหนึ่ง เนื่องจากเป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (6) ประกอบมาตรา 98 (15) เพราะเหตุเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ กรณีจึงเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม และมาตรา 82 ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 7 (9) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญจึงสั่งรับคำร้องนี้ไว้พิจารณาวินิจฉัย และแจ้งให้ผู้ร้องทราบ พร้อมส่งสำเนาคำร้องให้ผู้ถูกร้องเพื่อยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำร้อง    
    สำหรับการพิจารณากรณีให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่หรือไม่นั้น เห็นว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 82 วรรคสอง บัญญัติเงื่อนไขไว้ว่าจะต้อง "ปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ถูกร้องมีกรณีตามที่ถูกร้อง" ซึ่งตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องก็ไม่ปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่ามีกรณีตามที่ถูกร้องที่จะทำให้เกิดความเสียหายแต่ประการใด ประกอบกับผู้ร้องไม่ได้มีคำขอในส่วนนี้ จึงยังไม่เข้าเงื่อนไขที่จะสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคสอง
    นอกจากนั้น ศาลรัฐธรรมนูญยังมีการพิจารณาคดีที่ 3/2562 กรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ว่าความเป็นรัฐมนตรีของ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล, นายสุวิทย์ เมษินทรีย์, นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร และนายธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) หรือไม่ โดยผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญได้อภิปรายเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยแล้วเห็นว่า คดีมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ จึงไม่ทำการไต่สวนตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง และนัดอ่านคำวินิจฉัยให้คู่กรณีฟังในวันอังคารที่ 27 ส.ค.2562 เวลา 14.00 น. และหากคู่กรณีประสงค์จะยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดีเป็นหนังสือ ให้ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง
    ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง แกนนำพรรคเพื่อไทย  (พท.) ได้แถลงถึงสถานการณ์การเมือง โดยเฉพาะสถานะทางการเมืองของ พล.อ.ประยุทธ์ ว่าขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ และไม่สามารถดำรงตำแหน่งนายกฯ ได้ เนื่องจาก พล.อ.ประยุทธ์ทำรัฐประหารเมื่อปี 2557 มีฐานะเป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยเคยมีหนังสือเรียกนายสมบัติ บุญงามอนงค์ แนวร่วมคนเสื้อแดง มารายงานตัว แต่นายสมบัติปฏิเสธ เพราะเห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ไม่มีอำนาจ ต่อมา พล.อ.ประยุทธ์มีหนังสือเรียกอีกครั้ง โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 368 และออกหมายจับ ซึ่งนายสมบัติได้ต่อสู้คดีต่อชั้นศาล ศาลชั้นต้นตัดสินว่า พล.อ.ประยุทธ์ เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ศาลอุทธรณ์ก็ตัดสินทำนองเดียวกัน กระทั่งมาถึงศาลฎีกามีคำพิพากษาว่าการยึดอำนาจของ คสช.ที่เป็นผลสำเร็จแล้ว ไม่มีใครต่อต้าน จึงถือเป็นรัฏฐาธิปัตย์ มีอำนาจออกประกาศและคำสั่งให้บุคคลมารายงานตัวได้
    “รัฐธรรมนูญกำหนดห้ามไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐลงสมัครรับเลือกตั้ง เมื่อพรรคพลังประชารัฐส่ง พล.อ.ประยุทธ์ จึงมีความผิด และมีผลให้ พล.อ.ประยุทธ์ ดำรงตำแหน่งนายกฯ ไม่ได้ เนื่องจากขาดคุณสมบัติในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐที่ลงสมัครชิงตำแหน่งนายกฯ ที่สำคัญกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรา 4 กำหนดนิยามของคำว่าเจ้าพนักงานของรัฐ ซึ่งหมายความถึงเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งรวมไปถึงนายกฯ เมื่อข้อเท็จจริงเป็นเช่นนี้ ก็เห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ไม่ควรดำรงตำแหน่งนายกฯ” ร.ต.อ.เฉลิมระบุ
    วันเดียวกัน ยังคงมีกระแสการให้เก้าอี้แก่ผู้ที่พลาดเก้าอี้รัฐมนตรี โดยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ กล่าวถึงการแต่งตั้งนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล โฆษกพรรค พปชร. เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรี ว่าต้องรอการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) หลังการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนตำแหน่งรองเลขาธิการนายกฯ นั้น ยังไม่ทราบว่าจะเป็นใคร จะเป็นคนที่มาจากพรรค พปชร.หรือไม่ ไม่ทราบ เพราะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสม
    แหล่งข่าวจากพรรค พปชร.แจ้งว่า เมื่อเร็วๆ นี้มีการประชุม ส.ส.ของพรรค โดยที่ประชุมเห็นชอบเลือกนายสุชาติ ชมกลิ่น ส.ส.ชลบุรี พรรค พปชร. เป็นประธาน ส.ส.ของพรรค เนื่องจากได้รับความไว้วางใจจากผู้ใหญ่ในพรรค โดยจะทำหน้าที่ดูแล ส.ส.ทั้งหมด และเป็นตัวกลางนำเสนอเรื่องของ ส.ส.ให้ผู้ใหญ่หรือผู้บริหารพรรคพิจารณา ทั้งยังมีส่วนช่วยประสานงานในสภาให้ ส.ส.ของพรรคด้วย
    “นายสุชาติได้ตำแหน่งดังกล่าวไม่ใช่เพราะตอบโต้นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ เขาจะได้เป็นนานแล้ว ตั้งแต่ตอนหลุดโผรัฐมนตรี ซึ่งเหตุผลที่ผู้ใหญ่เลือก เพราะมีความสามารถ ใจนักเลง มีคอนเน็กชั่นกว้างขวาง คุยได้กับทุกคนในพรรคและนอกพรรค” แหล่งข่าวกล่าว. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"