คีย์แมน สธ. สสส. ศจย.มูลนิธิรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ฯจัด บุหรี่เผาปอด:The Tobacco Endgame in Thailand


เพิ่มเพื่อน    


    ประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 18 Theme WHO “บุหรี่เผาปอด” สสส. กระทรวงสาธารณสุข ศจย. มูลนิธิรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ ภาคีเครือข่ายจัด รร.เซ็นทราฯ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ คุณเลือกได้ ควันบุหรี่สาเหตุมะเร็งปอด ถุงลมโป่งพอง วัณโรคปอด คีย์แมนสาธารณสุขประกาศก้อง The Tobacco Endgame in Thailand หมอเบิร์ท-อภิสมัย MC ในงาน สิงห์อมควันไทย 10.7 ล้านคน เสียชีวิตเฉียด 6 หมื่นคน/ปี แม่สูดควันลูกในท้องเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด เป็นหอบหืด หลอดลมอักเสบ ควันบุหรี่ตกค้างในอากาศ 5 ชั่วโมง 
    บุหรี่เผาปอด:การประชุมวิชาการระดับชาติ “บุหรี่กับสุขภาพปอด” ครั้งที่ 18 โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ วันที่ 20-21 มิ.ย.62 ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผอ.ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กล่าวรายงานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 18 ทั้งนี้ พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์-หมอเบิร์ท วัย 44 กะรัต อดีตนางสาวไทยประจำปี 2542 ผอ.ศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ รพ.กรุงเทพ ทำหน้าที่พิธีกร “ไม่อยากบอก แต่จำเป็นต้องบอก เป็นพิธีกรถ้าไม่มีแว่นตาจะมองไม่เห็น เป็นลุคส์ใหม่ของหมอเบิร์ท ปีนี้เป็น Theme องค์การอนามัยโลก “บุหรี่เผาปอด” กระแสรุนแรงมาก เราต้องการหยุดยั้งให้ประเทศไทยปลอดบุหรี่ให้มีความเป็นไปได้ในชาตินี้” 
    บนเวทีชั้น 5 ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทาราฯ มีการจำลองปอดขนาดยักษ์พร้อมบุหรี่ขนาดใหญ่มาเสียบไว้ที่ปอด ข้อความบุหรี่เผาปอด บ้านปลอดบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้า ลดความรุนแรงสุขภาพ คีย์แมนสำคัญที่จะหยุดบุหรี่นับ 5, 4, 3, 2, 1 ช่วยกันดึงบุหรี่ออกจากปอดยักษ์ ทันทีที่ นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประธานในงาน ดึงบุหรี่ออกจากปอดสีคล้ำ ปอดเปลี่ยนสีสดใสเป็นสีชมพูเรื่อๆ ปรากฏเส้นเลือดระยิบระยับ ในระหว่างนั้น พญ.อภิสมัยทำหน้าที่พิธีกร เล่าว่า “เมื่อดึงบุหรี่ออกจากปอดแล้วจะต้องไม่กลับมาสูบอีก ขณะนี้มีคลินิกฟ้าใสช่วยเหลือผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ตลอดชีวิต มีผู้ป่วยรายหนึ่งอายุ 80 ปีต้องการเลิกบุหรี่ ต้องดึงบุหรี่ออกจากตัวเพื่อปอดและจิตใจแจ่มใสแข็งแรง อยากมีปอดแบบไหน คุณเลือกได้ ควันบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งปอด ถุงลมโป่งพอง และทำให้วัณโรคปอดมีความรุนแรงมากขึ้น” พร้อมกับเสียงปรบมือของผู้เข้าร่วมประชุมเสียงกึกก้อง           

(ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์)

    นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ศ.เกียรติคุณ นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ นพ.วิวัฒน์ โรจนพิทยากร ผอ.ศูนย์นโยบายและการจัดการสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผจก.สสส. นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ประธาน The Tobacco Endgame in Thailand รศ.ดร.อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์ รองประธาน พรสม เปาปราโมทย์ รองอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ศ.พญ.สฤกพรรณ วิไลลักษณ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวัฒนธรรม คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี รศ.ดร.พูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์ รร.พยาบาลรามาธิบดี รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.นพ.นิธิพัตน์ เจียรกุล นายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติและเลขาธิการ อย. ยืนเป็นสักขีพยานถ่ายรูปหมู่บนเวที

(ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์)

    ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาการบริโภคยาสูบไม่สามารถจะทำได้โดยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ดังนั้นศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ กระทรวงสาธารณสุข เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ เครือข่ายวิชาชีพเภสัชกรรมเพื่อการควบคุมยาสูบ เครือข่ายพยาบาลเพื่อการควบคุมยาสูบ สถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ 
    สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ เครือข่ายมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ เครือข่ายครูเพื่อ รร.ปลอดบุหรี่ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ เครือข่ายควบคุมการบริโภคยาสูบในอาเซียน คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย จัดการประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 18 เรื่อง “Tobacco and Lung Health” เพื่อพัฒนาศักยภาพให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมยาสูบ ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และหาแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน ระหว่างภาคีเครือข่ายที่มีความสนใจในการควบคุมการบริโภคยาสูบโดยเชื่อมประสานกับบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร/สถาบันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน มีผู้เข้าร่วมประชุม 600 คน ถือเป็นพลังที่จะผสานความร่วมมือในการควบคุมยาสูบของไทยให้มีประสิทธิภาพ 
    การสูบบุหรี่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด มีการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยจากควันบุหรี่มาเผยแพร่ 4 ทศวรรษ มีสารก่อมะเร็งมากกว่า 40 ชนิด 14 ปีของ ศจย. มุ่งมั่นขับเคลื่อนกลไกสร้างพลังองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเวลา 500 ปี คนทั่วโลกรู้จักยาสูบ และผลิตยาสูบด้วยเครื่องจักรมาแล้ว 200 ปี ปี 2505 ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ลอนดอนประกาศว่า การสูบบุหรี่ทำให้เป็นมะเร็งปอด เป็นอาวุธสำคัญของนานาประเทศเพื่อปัดเป่าพิษภัยจากบุหรี่ในช่วง 4 ทศวรรษ ประเทศไทยติดอันดับดีที่สุดในการควบคุมยาสูบด้วยนโยบายที่ชัดเจน ควบคุมการบริโภคยาสูบได้อย่างต่อเนื่อง 
    1 ก.ค.2548 ณ มหิดล วิทยาเขตราชวิถี สนับสนุนการดำเนินงานจาก สสส. ศ.เกียรติคุณ นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ สนับสนุนการควบคุมยาสูบ ให้มีการสำรวจสถิติการสูบบุหรี่ทุกๆ 2 ปี การให้มีบ้านปลอดบุหรี่ การสนับสนุนหน่วยงานอื่นนอกกระทรวงสาธารณสุข มีหน่วยงาน สสส.เป็นองค์ประกอบในการเก็บข้อมูลวิชาการเพื่อให้สังคมรับรู้และผลักดันจัดการความรู้

(นพ.สุขุม กาญจนพิมาย)

    นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวเปิดการประชุมวิชาการ “บุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญที่เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอด หากไม่มีบุหรี่ มะเร็งปอดจะลดลงถึง 90% ทั่วโลก สำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจปี พ.ศ.2560 คนไทยสูบบุหรี่ 10.7 ล้านคน จากปัจจัยเสี่ยงของประชากรไทย พบว่าการเสียชีวิตของประชากรไทยจากการสูบบุหรี่สูงถึงปีละ 55,000 คน จัดเป็นอันดับ 1 ของปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพของประชากรไทย การรณรงค์เลิกบุหรี่เป็นเรื่องสำคัญมาก งานวันนี้อบอุ่นมากเมื่อหลายหน่วยงานร่วมมือกัน และมี ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผจก.สสส. มีส่วนสนับสนุนให้งานสำเร็จได้ ทุกวันนี้เยาวชนสูบบุหรี่มากขึ้น การที่เยาวชน 2-3 แสนคนกลายเป็นนักสูบบุหรี่หน้าใหม่ มีผลต่อสุขภาพยาวนาน เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ประเทศต้องสูญเสียบุคลากร 
    “เราร่วมกันประกาศเจตจำนงควบคุมบุหรี่ กระทรวงสาธารณสุขส่งเสริมสุขภาพป้องกัน การรักษาฟื้นฟูเป็นงานสาธารณสุขที่ทำกับคนไข้ ชุมชนในประเทศ Global Health เป็นเรื่องสำคัญ วันงดสูบบุหรี่โลก “บุหรี่เผาปอด” ไม่ใช่เพียงเผาเงิน ปีนี้เผาปอด ปีที่แล้วเผาหัวใจ ปัญหาของบุหรี่ทำให้เกิดโรคมากมาย มะเร็งปอด โรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคหลอมลมในปอด ถุงลมโป่งพอง เป็นปัญหาที่จะส่งผลต่อเด็กเล็ก คนชราที่อยู่ในบ้านเดียวกัน เพราะเท่ากับคนเหล่านี้สูบบุหรี่มือ 2 ด้วย การที่แม่สูบบุหรี่เด็กคลอดก่อนกำหนด เด็กจะเป็นหอบหืด หลอดลมอักเสบได้ง่ายกว่าเด็กปกติ เคยมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบเสียชีวิตจากโรคปอดรับควันบุหรี่มือ 2 วัณโรค สารก่อมะเร็ง 40 ชนิด มีสารในบุหรี่ 7,000 ชนิด จำนวน 70 ชนิดมีผลต่อสุขภาพทั้งสิ้น เราไม่เห็นควันบุหรี่ แต่ควันจากผู้สุบบุหรี่จะอยู่ในอากาศถึง 5 ชั่วโมง ดังนั้นสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องตระหนักถึงพิษภัยของบุหรี่ด้วย”
    ปัจจัยเสี่ยงของคนไทยเสียชีวิตจากบุหรี่สูงถึงกว่า 70,000 คน และปัจจุบันมีบุหรี่ไฟฟ้าซึ่งไอระเหยที่เกิดจากบุหรี่ไฟฟ้ามีสารอันตรายเป็นพิษต่อปอดและระบบทางเดินหายใจของผู้สูบและผู้ใกล้ชิด ทำให้เสี่ยงปอดอุดกั้นเรื้อรัง มะเร็งปอด หัวใจวาย บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพผู้สูบและผู้ใกล้ชิด การสูบบุหรี่ของคนไทยยังอยู่ในระดับน่าเป็นห่วง ผู้สูบบุหรี่มีถึง 10.7 ล้านคน ร้อยละ 32.7 เคยสูบบุหรี่ในบ้าน ร้อยละ 73.8 ของผู้สูบบุหรี่ในบ้านสูบในบ้านทุกวัน ทำให้สมาชิกในบ้านต้องได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากควันบุหรี่มือสอง 
    เมืองไทยยึดหลัก SDG 17 ประการ อนุสัญญาควบคุมหนุน WHO นำมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ ประเทศไทยกำหนดเป้าหมาย แนวทางควบคุมยาสูบลดลง 30% การลดอัตราบริโภคยาสูบ/หัว/ประชากร สิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่ที่มีผลต่อพี่น้องประชาชน กรมควบคุมโรคดำเนินการร่วมกัน เราเป็นหน่วยงานหลัก การทำงานไม่ใช่ตัวคนเดียว จำเป็นต้องอาศัยพวกเราด้วย หน่วยงานภาครัฐและภาคีเครือข่ายพัฒนาขีดความสามารถยาสูบในประเทศไทย แผนยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 (2559-2562) ร่วมมือกันพัฒนาสร้างผลผลิต โครงสร้างพื้นฐาน งานวิจัยประเมินผลพัฒนาระบบต่างๆ ควบคุมและเฝ้าระวังยาสูบ ทำให้พวกเขามีความเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ ลดอัตราการสูบบุหรี่ คนไทยได้ความรู้เท่าทันเหตุการณ์ด้วย 
    การควบคุมยาสูบ การช่วยเหลือผู้ที่ติดบุหรี่อยู่แล้วให้เลิกสูบ จำเป็นต้องป้องกันเยาวชนไม่ให้เข้าไปเสพติดบุหรี่ใหม่อีกด้วย ดังนั้นจึงเป็นภารกิจที่ท้าทายในการเรียกร้องพลังจากสถาบันสังคม หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และบุคคลต่างๆ ในสังคมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสื่อมวลชนร่วมมือกันสร้างบทบาทของทุกภาคส่วนในการควบคุมยาสูบ ทั้งการป้องกัน การบริการเลิกบุหรี่ การสร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดจากพิษภัยของบุหรี่ เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงพลังในการควบคุมยาสูบของประเทศไทย 
    ประเทศไทยวางกรอบควบคุมยาสูบระดับชาติ ระดับภูมิภาค ต้องช่วยกันทำเห็นประโยชน์การไม่สูบบุหรี่เป็นสิ่งสำคัญ องค์การอนามัยโลกคุ้มครองมนุษย์ปัจจุบัน อนาคต ผลร้ายสูดดมยาสูบมีผลกระทบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ประเทศไทยผลักดันแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี การดูแลสุขภาพพี่น้องประชาชนให้ดีขึ้นด้วย พ.ร.บ.ควบคุมยาสูบ 2560 พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพปี 2535 คณะ กก.ผลิตยาสุบในพื้นที่ จว.มีผู้ว่าราชการ จ.เป็นประธาน สาธารณสุข จ.เป็นเลขานุการ ช่วยให้เกิดประโยชน์ ผลักดันการควบคุมผลิตภัณฑ์ ให้ข้อเสนอแนะผลิตภัณฑ์ยาสูบในการรักษา บังคับใช้ กม.อย่างจริงจัง มอบให้ นพ.สาธารณสุข จ.ดำเนินการ 1 ล้านคน แสดงเจตจำนงงดบุหรี่ ทั้งนี้ จะต้องเพิ่มจำนวน 3 ล้านคน เพราะ 1 ใน 3 จะเลิกบุหรี่ได้. 
    ศ.เกียรติคุณ นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า พวกเราต้องร่วมมือกันมากขึ้น มีการพูดคุย ผลักดันในระดับประเทศ อธิบดี พี่น้องในกระทรวงสาธารณสุข อาศัยแผนยุทธศาสตร์ กรมควบคุมโรคเน้นการสร้างความเข้มแข็ง พัฒนาขีดความสามารถ เราต้องมีความเข้มแข็งในการควบคุมพื้นที่ปลอดภัย สร้างโอกาสดีๆ ดูแลไม่ให้นักสูบหน้าใหม่ติดบุหรี่ เทคนิคในการเลิกบุหรี่ เพราะหลายคนที่คิดจะเลิกบุหรี่แล้วก็กลับมาสูบใหม่ เลิกๆ สูบๆ อยู่หลายครั้ง คนสูบบุหรี่หลายคนที่ไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้อย่างเด็ดขาด บางคนป่วยเป็นโรคหัวใจ ผ่าตัดหัวใจนอนอยู่ใน รพ.ได้ 40 วัน ไม่สูบบุหรี่ แต่เมื่อกลับมาอยู่บ้านในสิ่งแวดล้อมเดิมๆ ก็หันกลับมาสูบบุหรี่อีกเหมือนเดิม แม้ชีวิตจะเสี่ยงตายก็เลิกบุหรี่ได้ยาก จึงเป็นภาระหน้าที่ต้องช่วยเหลือกันด้วย ดังนั้นจึงเป็นภาระหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องช่วยกัน การสร้างสิ่งแวดล้อมให้ปลอดควันบุหรี่ งานนี้จะสำเร็จได้ไม่ใช่เพียงคนใดคนหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ อ.รณชัย ไม่ใช่ อ.ประกิต แพทย์ พยาบาลต้องอาศัยความร่วมมือกัน     
    เรามีคณะกรรมการควบคุมยาสูบในระดับจังหวัด ฝ่าย กม. ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายสื่อสารมวลชน มีกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ช่วยดูแล ถ้าวันนี้บทบาทของเราต้องหาพันธมิตรที่นอกเครือข่ายสาธารณสุข หาประเด็นต่างๆ เทคโนโลยีทันสมัย คณะ กก.ระดับ จ.ลงพื้นที่ได้จริงด้วยมาตรการการเพิ่มราคาบุหรี่ ใช้มาตรการทางภาษี การใช้บุหรี่ซองแบบเรียบ ไม่ให้ขายบุหรี่กับเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 20 ปี ไม่ให้เยาวชนขายบุหรี่ รวมทั้งการแบ่งบุหรี่เพื่อขายปลีก งานพวกเราเป็นงานหนักยังต้องใช้เวลา 5-10 ปี “ผมจะทำเสร็จเมื่อไหร่ไม่รู้ งานนี้ต้องทำเพื่อประชาชน ประชากรโลก เพื่อคนเราจะได้มีสุขภาพที่ดี”. 


    รู้กันบ้างไหม? มีผู้เสียชีวิตเนื่องจากการสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่สูงถึง 5 ล้านคน/ปี และคาดการณ์ว่าหากประเทศต่างๆ ไม่ให้ความร่วมมือกันอย่างจริงจังในการป้องกันและควบคุมการบริโภคยาสูบ จะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 8 ล้านคน/ปี ในปี 2573 องค์การอนามัยโลกจัดให้การบริโภคยาสูบเป็นปัญหาสำคัญอันดับต้นๆ ที่ทุกประเทศต้องร่วมมือกันแก้ไขอย่างเร่งด่วน ด้วยยุทธศาสตร์ 8 ยุทธศาสตร์ ด้วยการลดอัตราการบริโภคยาสูบของประชาชน ลดปริมาณการบริโภคยาสูบต่อหัวประชากร จัดการทำให้สิ่งแวดล้อมปลอดควันบุหรี่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน เน้นการสร้างสิ่งแวดล้อมให้ปลอดควันบุหรี่ เพื่อควบคุมบริโภคยาสูบในชุมชน.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"