ค่าเงินบาทจะขึ้นลง ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่คาดเดายาก


เพิ่มเพื่อน    

            เมื่อวานเขียนถึงแนวทางวิเคราะห์และคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยแนวโน้มเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง...ว่าด้วยที่มาที่ไปและคนไทยควรจะปรับตัวอย่างไร

                วันนี้ผมนำเอาบทวิเคราะห์นั้นมาเล่าต่อเพื่อให้เกิดความเข้าใจสำหรับคนไทยที่กำลังเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจหลายด้านทั้งที่เกิดจากปัจจัยภายนอกและภายใน

                บทวิเคราะห์นั้นบอกต่อว่าอย่างนี้

                3.แบงก์ชาติเข้าไปดูแลบางช่วงที่เงินบาทแข็งค่าเร็ว ในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับพื้นฐานของเศรษฐกิจ เพื่อรองรับผลกระทบที่อาจมีต่อผู้ประกอบการ แต่ก็ระวังไม่ให้ถูกจัดเป็น currency manipulator

                ที่ผ่านมา ธปท.ติดตามพัฒนาการของค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด มีมาตรการหลายอย่างเพื่อดูแลไม่ให้เงินระยะสั้นกระทบอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งจะกระทบต่อเนื่องมายังผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจจริง ในบางช่วงที่เงินบาทแข็งค่าเร็ว ไม่สอดคล้องกับพื้นฐานเศรษฐกิจ ธปท. ในฐานะธนาคารกลางได้เข้าไปดูแล สะท้อนจากเงินสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่ในอีกด้านหนึ่งที่ต้องระมัดระวังมาก เนื่องจากสหรัฐกำลังจับตาประเทศที่เป็น currency manipulator หรือประเทศที่แทรกแซงค่าเงินเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า โดยจะดูว่าแบงก์ชาติแต่ละประเทศไปแทรกแซงตลาดเงินตราต่างประเทศมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะประเทศที่เกินดุลบัญชีเดินสะพัดสูง ช่วงที่ผ่านมาไทยได้เจรจากับทางการสหรัฐ โดยเน้นย้ำว่าไม่มีนโยบายเข้าไปบริหารจัดการค่าเงินเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า ถ้าทำแบบนั้นเงินบาทคงไม่แข็งค่าขึ้นเหมือนที่เป็นอยู่

                4.ในบริบทของเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนยากจะคาดเดา ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีความสามารถป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

                เรื่องการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน นอกจากเป็นเรื่องของธนาคารกลางแล้ว อยากชวนให้ช่วยกันคิดและขอคำแนะนำจากผู้ประกอบการด้วยว่า ทำอย่างไรเรื่องนี้จะเป็นเรื่องของผู้ประกอบการทุกท่านด้วยว่าจะทำอย่างไรให้สามารถทนทานต่อความผันผวนของ FX ได้ดีขึ้น ถ้าเปรียบกับหลายประเทศ เงินบาทผันผวนค่อนข้างต่ำ เช่น เมื่อเทียบกับเงินวอนของเกาหลีใต้ เงินวอนผันผวนขึ้นลงแรงกว่าเงินบาทมาก ทำไมผู้ประกอบการของเกาหลีใต้สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ดีกว่าไทย

                5.FX options เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการเงินที่จะช่วยล็อกเรต เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน ปัจจุบันภาครัฐมีโครงการ option ช่วยชาติ โดยสนับสนุนค่าธรรมเนียม

                ที่ผ่านมา ธปท.ได้ร่วมกับพันธมิตรช่วยกันคิดว่าทำอย่างไรให้ผู้ประกอบการไทยสามารถบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ดีขึ้น ปีที่แล้วมีการออกผลิตภัณฑ์เรียกว่า FX options หรือโครงการ options ช่วยชาติ อธิบายง่ายๆ คือโครงการนี้เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการซื้อประกันล็อกเรตไว้ล่วงหน้า ถ้าเรารู้ว่าขายสินค้าจะได้เงินในอีก 3 เดือน แต่ไม่รู้ว่าอีก 3 เดือนอัตราแลกเปลี่ยนจะเป็นเท่าไร วันนี้จึงล็อกเรตไว้ก่อน ถ้าอีก 3 เดือน เรตดีกว่าเรตที่ล็อกไว้ก็ไม่ต้องใช้ แต่ถ้าเรตในตลาดแย่กว่าก็ใช้สิทธิ์ที่ล็อกเรตไว้ ตอนเริ่มมี 8 ธนาคารมาร่วม และที่สำคัญคือ รัฐบาลเห็นประโยชน์และจัดสรรงบประมาณให้ผู้ประกอบการลองใช้ซื้อประกันคนละ 5 หมื่นบาท ซึ่งช่วยล็อกเรตได้ประมาณ 1.5 แสน USD หรือ 4.75 ล้านบาท เพียงแต่เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม ตอนหลังมีการทำเป็น e-learning ซึ่งปัจจุบันโครงการนี้ยังมีอยู่ ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถสอบถามได้จากธนาคารที่ร่วมโครงการ

                6.ปัจจุบันสินค้าที่ส่งออก 80% ยัง quote เป็น USD ขณะที่ส่งออกไปสหรัฐมีเพียง 10% ในบริบทที่เงิน USD มีแนวโน้มผันผวน การ quote ราคาสินค้าส่งออกในสกุลเงินของคู่ค้า (local currency) หรือในรูปเงินบาทแทน USD จะช่วยลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและลดต้นทุนได้

                คำถามคือ ปัจจุบันทิศทาง USD ผันผวนสูงมาก จากปัจจัยการเมืองระหว่างประเทศ นโยบายเศรษฐกิจ และการเมืองภายในของสหรัฐ ทำไมเราไม่ใช้สกุลเงินของประเทศที่เราค้าขายกันโดยตรง เช่น ส่งไปยุโรปทำไมไม่ใช้ยูโร ส่งไปญี่ปุ่นทำไมไม่ใช้เยน เงินบาทกับเงินเยนเป็นเงินปลอดภัยเหมือนกัน เยนแข็งบาทก็แข็ง จึงมีแนวโน้มไปทางเดียวกัน และสะดวกสำหรับคู่ค้าด้วย เพราะถ้า quote เป็น USD ต้องแลกเยนเป็น USD เสีย spread ต่อหนึ่ง และเมื่อได้ USD มาแลกเป็นบาทก็เสีย spread อีกต่อหนึ่ง แต่ถ้าทำบาทกับเยนโดยตรงจะสะดวกและถูกกว่า

                ปัจจุบันมีการทำ direct quotation มากขึ้น บาทกับหยวนเมื่อก่อนทำได้เฉพาะมณฑลยูนนาน ปีที่แล้วเจรจากับธนาคารกลางจีน ให้มีการ quote บาทกับหยวนโดยตรงทั่วจีนแล้ว การส่งเสริมการใช้เงินสกุลท้องถิ่นมากขึ้นจะลดต้นทุนในการต้อง convert หลายครั้ง ปัจจุบันเห็นผู้ส่งออก quote เป็นเงินบาทเพิ่มมากขึ้น คิดเป็นประมาณ 15% ของทั้งหมด บางตลาด quote เป็นบาทสูงมากในบางผลิตภัณฑ์ เช่น การส่งออกรถยนต์ไปออสเตรเลีย quote เป็นเงินบาทถึง 30%

                7.มองไปในอนาคต ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้มีแนวโน้มลดลง มีแต่จะเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการควรปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ค่าธรรมเนียมการปิดความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนในการทำธุรกิจในโลกสมัยใหม่

                มองไปข้างหน้า ความเสี่ยงและความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ไม่ลดลง เพราะปัจจัยสำคัญที่กำหนดค่าเงินบาทมาจากต่างประเทศ เช่น จากอเมริกา หรือจาก Brexit ในยุโรป

                ดังนั้นค่าเงินจะขึ้นหรือลงไม่มีใครคาดเดาได้ ไม่อยากให้ผู้ประกอบการคาดเดาหรือเก็งกำไร ดังที่ผู้ประกอบการบางท่านบอกว่าขอติดปลายนวมเล็กๆ น้อยๆ เพราะทำธุรกิจมาด้วยความยากลำบาก จึงควรปิดความเสี่ยง โดยรวมค่าทำประกันความเสี่ยง FX เข้ามาเป็นต้นทุนเหมือนต้นทุนปกติ เหมือนการส่งสินค้าไปต่างประเทศ ต้องซื้อประกัน freight insurance เรื่องอัตราแลกเปลี่ยนก็เช่นเดียวกัน ควรเป็นส่วนหนึ่งของการทำประกันตามปกติ. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"