18ก.ค.62- ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) - นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) พร้อมด้วยคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช และนางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) เดินทางเข้าทำงานที่ ศธ.วันแรก โดยได้เข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำ ศธ. ได้แก่ พระพุทธรูปประจำกระทรวง พระพุทธบารมีศักดิ์สิทธิ์สยามิศรจักรี สัฏฐีอนุสรณ์ ศึกษาทรรังสรรค์ศาลพระภูมิ พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6)จากนั้นได้ประชุมร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของศธ.และหน่วยงานในกำกับของ ศธ.
โดยนายณัฏฐพล กล่าวว่า นโยบายเรื่องการศึกษาไทยมีหลายประเด็นที่ตนจะเร่งดำเนินการให้เป็นวาระเร่งด่วนไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาครู การสร้างเด็กและเยาวชนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 มีความรู้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็ว ซึ่งตนจะพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยให้ก้าวกระโดดเทียบเท่าสากล และตนอยากให้ผู้บริหาร ศธ.ทุกคนได้นำนโยบายเหล่านี้ของตนไปต่อยอดบูรณาการกับเรื่องที่ทำอยู่ในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป โดยสิ่งสำคัญที่สุดตนขอศึกษาข้อมูลของ ศธ.ที่มีอยู่ก่อนจากนั้นจะมาดูว่าเราจะสามารถต่อยอดการทำงานด้านการศึกษาได้อย่างไรบ้าง โดยนโยบายในเรื่องใดที่ดีอยู่แล้วตนก็จะส่งเสริมต่อยอด แต่หากนโยบายใดที่ทำแล้วไม่ประสบผลสำเร็จแต่กลับสร้างภาระให้แก่ครูจนมีเรื่องร้องเรียนตนก็จะปรับแก้ไข ทั้งนี้ตนจะฟังเสียงสะท้อนจากเขตพื้นที่และข้าราชการครูเป็นหลัก พร้อมกับดึงทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมกันขับเคลื่อนงานการศึกษา
“ผมมองว่าการศึกษาไทยจะต้องมีการปรับปรุง และทุกภาคส่วนจะต้องเปิดกว้างในการช่วยกันแก้ปัญหาการศึกษา เพื่อให้เราทำงานกันง่ายขึ้น และจะได้เกิดการเปลี่ยนแปลง ผมพร้อมรับฟังความคิดเห็นจากทุกคนอยู่แล้ว อีกทั้งยังมีช่องทางให้สะท้อนปัญหาต่างๆ มาที่ผมด้วย ทั้งนี้การศึกษาไทยมีตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษา และการศึกษานอกระบบตามอัธยาศัย ซึ่งทุกคนจะต้องได้รับการศึกษาระดับขั้นพื้นฐานอยู่แล้ว ดังนั้นหากเราค้นพบศักยภาพเด็กไทยในกลุ่มเด็กเก่งมีทักษะและความสามารถเราต้องสร้างและสนับสนุนให้เด็กเหล่านี้เป็นช้างเผือก เพื่อวางแผนต่อยอดพัฒนา เพราะเด็กกลุ่มนี้จะเป็นผู้นำในอนาคตได้ รวมถึงการพัฒนาการศึกษาเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมและ รมช.ศธ. ให้ความสำคัญมาก เนื่องจากการศึกษาปฐมวัยเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาการศึกษา นอกจากนี้ผมต้องการจะพัฒนาคุณภาพชีวิตครูให้ดียิ่งขึ้นในการสร้างขวัญและกำลังใจ เพื่อให้ครูพร้อมเป็นแม่พิมพ์ของชาติด้วย” รมว.ศธ.กล่าว กล่าว
นายณัฎฐพล กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้จะต้องมีการปรับหลักสูตรการศึกษาต่างๆให้มีความทันสมัยต่อโลกยุคดิจิทัล เพื่อทำให้การเรียนการสอนได้รับการพัฒนาเหมาะสมกับการศึกษาที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เรื่องทั้งหมดตนตั้งเป้าว่าจะทำให้เกิดขึ้นได้ภายในระยะเวลา 1 เดือน ขณะเดียวกันตนทราบดีว่า ศธ.ได้รับงบประมาณจำนวนมากและเป็นกระทรวงที่ได้รับงบมากที่สุด ซึ่งตนจะมาดูในรายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณต่างๆ ของศธ. โดยจะมีทีมงานมืออาชีพด้านการคลังเข้ามาดูแลว่างบศธ.ที่ใช้อยู่ถูกใช้ไปอย่างคุ้มค่าและถูกต้องหรือไม่ โดยคาดว่าก่อนสิ้นปีนี้จะดำเนินการตรวจสอบให้แล้วเสร็จ ส่วนประเด็นที่มีบ้างเสียงบอกว่า รมว.ศธ.ไม่มีประสบการณ์ด้านการศึกษาจะสามารถทำงานบริหาร ศธ.ได้หรือไม่นั้น ส่วนตัวตนมีประสบการณ์การบริหารงานและทีมงานมืออาชีพ ซึ่งพร้อมรับฟังทุกความคิดเห็น อย่างไรก็ตาม ตนขอให้เชื่อมั่นว่าตนจะทำงานการศึกษาได้อย่างแน่นอน
ด้านคุณหญิงกัลยา กล่าวว่า สำหรับเรื่องที่สามารถตนสามารถดำเนินกาขับเคลื่อนได้ทันที มี 2 เรื่องใหญ่ นั่นคือ 1.วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการเกษตร โดยเป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้เรื่องการเรียนการด้านเกษตร แก่เด็กที่เรียนในวิทยาลัยอาชีวศึกษาต่างๆ เพื่อยกระดับของการทำเกษตร และเกษตรกรของไทย เป็น Smart Farmer อีกทั้ง ไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม 2. เรื่องโค้ดดิ้ง (Coding) ซึ่งเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาสมัยใหม่ ที่เป็นทักษะของโลกในอนาคต และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์แห่งชาติ 20 ปี ดังนั้น โดยการดำเนินการในเรื่องนี้เบื้องต้น คงไม่ได้เป็นการสอน Coding ทั้งประเทศ แต่จะเป็นการเริ่มในบางโรงเรียน และมีการอบรมครูผู้สอน ซึ่งขณะนี้มีสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เป็นหน่วยงานหลักในการอบรมครูผู้สอน ทั้งนี้ สำหรับการเรียนการสอน Coding ไม่ได้เป็นการสอนการเขียนโปรแกรม หรือเขียน Coding แต่เป็นการสอนตรรกะ ทำให้เด็กรู้จักการแก้ปัญหา และเรียนได้ตั้งแต่อายุ 3 ขวบ จะมีคอมพิวเตอร์ หรือไม่มีก็สามารถเรียนได้ ซึ่งเรื่องเหล่านี้จะมีทีมงานในการดำเนินการ เพราะเรื่องดังกล่าว ถือเป็นนโยบายของรัฐบาลที่จะให้เด็กอนุบาล -ประถมศึกษา ได้เรียน Coding และจะเน้นในโรงเรียนต่างจังหวัด เพื่อให้เด็กทุกคนได้เข้าถึงการเรียน Coding
ด้านนางกนกวรรณ กล่าวว่า ตนจะเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพ ซึ่งการทำงาน นโยบายต่างๆ ของ ศธ. ที่ผ่านมามีหลายเรื่องที่ได้มีวิสัยทัศน์เดิมอยู่แล้ว เช่น การจัดการเรียนการสอนของเด็กที่เรียนสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ซึ่งมีเด็กจำนวนมาก และมีการเรียนรู้อาชีพ จะเน้นให้สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา และทำอย่างไรให้ผู้เรียนมาเรียนมากขึ้น เพราะบางคนลงทะเบียนเรียนไว้ แต่ไม่สะดวกมาเรียน นอกจากนั้นจะมีการส่งเสริมพัฒนาหลักสูตรด้านวิชาการ และหลักสูตรด้านอาชีพให้แก่เด็ก ประชาชนทั่วไป ได้เรียนรู้ รวมถึงมีการสร้างขวัญกำลังใจแก่ครู กศน.ด้วย ซึ่งเป็นพนักงานของรัฐ และถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐ นอกจากนั้น การเรียนการสอนของอาชีวศึกษา จะพยายามทำให้มีความภาคภูมิในในตนเอง ที่จะไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นมือเปื้อน แต่ต้องมือเปื้อนที่มีประสิทธิภาพ และภาคภูมิใจมากขึ้น อีกทั้งจะมีการส่งเสริมทวิภาคี เพื่อจะได้สร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการ โดยจะต้องมีการติดตามและประเมินผล จากผู้ประกอบการทุกพื้นที่ เพื่อให้เด็กได้ศึกษาเรียนรู้ ฝึกงาน และได้เงินเดือนระหว่างเรียนร่วมด้วย รวมทั้ง จะมีการส่งเสริมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด เน้นให้ลูกหลานมีวินัย ทำอย่างไรให้เด็กอยากมีส่วนร่วมในการเป็นพลเมืองที่ทุกคนมีความสุข และมีส่วนร่วม และมีภาคภูมิใจในการเป็น ลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาติ
วันเดียวกันนายณัฏฐพล กล่าวว่า ตนได้แบ่งงานให้ รมช.ศธ. ทั้ง 2 คนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยคุณหญิงกัลยา จะดูแลสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ส่วนนางกนกวรรณ จะรับผิดชอบสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) และสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ โดยตนจะรับผิดดูแลงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานปลัด ศธ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |