กลายเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตถึง “อำนาจค้างท่อ” ที่ยังไม่หลุดจากมือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในรัฐบาลปัจจุบัน ที่ถูกส่งต่อมาจากการนั่งเป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่มีมาตรา 44 เป็นเครื่องมือในการบริหารราชการแผ่นดินอย่างเบ็ดเสร็จ แต่ถูกถ่ายโอนไปยังกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน
ประเด็นหลักที่มีความกังวลคือ อำนาจของ “ทหาร” จะยังคลอบคลุมเหมือนเดิมหรือไม่ หลังจากที่ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย ออกมายอมรับว่า คำสั่ง คสช.3/2558 ที่ครอบจักรกาล เป็น 1 ในคำสั่ง 10 ฉบับที่ยังไม่ถูกยกเลิก
กระนั้น นายวิษณุก็ระบุว่า ถึงจะยกเลิกคำสั่งฉบับดังกล่าวหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่ได้มีผลต่อการเรียกตัวปรับทัศนคติ เพราะในแง่ของการกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย มีพ.ร.บ.ความมั่นคง โดยกลไกของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ดำเนินการได้อยู่แล้ว
สอดคล้องกับที่ พล.ต.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ยืนยันว่า คสช.ไม่ได้โอนอำนาจดังกล่าวให้ กอ.รมน.สามารถเรียกบุคคลมาพูดคุย เพราะในทางปฏิบัติไม่สามารถทำได้ แต่กฎหมายที่ กอ.รมน.ใช้อยู่คือ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ในการดูแลความเรียบร้อย เมื่อมีสถานการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงเกิดขึ้นก็จะประกาศเป็นพื้นที่รักษาความสงบเรียบร้อยตามมาตรา 15 ของ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ เมื่อมีการประกาศแล้วก็จะต้องมีการใช้กำลังตามมาตรา 16 กอ.รมน.เลือกว่าจะใช้อำนาจหน้าที่อย่างไรให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงสอดคล้องกับหน่วยงานที่จะต้องเข้ามารับผิดชอบคือทหารหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยผู้ที่จะตัดสินใจเลือกใช้กำลังจะต้องเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ที่ถูกแต่งตั้งจากนายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ ในส่วนที่มีการเชิญตัวก็อยู่ในมาตราที่ 13/1 ในข้อที่ 7 ใน พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ก็มีอยู่ก่อนแล้ว โดยคณะกรรมการระดับจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น ผอ.กอ.รมน.จังหวัด และจะมีเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงเป็นคณะกรรมการด้วย เช่น กรณีมีโครงการจัดทำฝายระบายน้ำที่เสนอผ่านจังหวัดเข้ามาทางคณะกรรมการชุดนี้ก็จะมาช่วยพิจารณา หากมีจุดไหนที่ไม่เรียบร้อยหรือต้องขอข้อมูลเพิ่มเติมก็จะเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้ามาให้ข้อมูล แต่ไม่ใช่การเรียกตัว ต้องใช้คำให้ถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม ความกังวลที่เกิดขึ้นเพราะฝ่ายที่เรียกตัวเองว่าฝ่ายประชาธิปไตย (ปชต.) และฝ่ายตรงข้าม คสช.กังวลว่า คสช.จะซ่อนดาบอำพรางให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐสามารถเรียกตัวผู้มีความเห็นต่างเข้าค่ายทหารปรับทัศนคติ
อีกทั้งก่อนหน้านี้ก็มีข่าวว่า เดิมมีแนวคิดว่าคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบเรียบร้อย มีข้อเสนอว่าควรจะยกเลิกไปทั้งหมด เพราะการคงไว้แค่ฉบับเดียว หรือ ทั้งหมด ก็มีค่าไม่ต่างกัน เนื่องจากจะเป็นประเด็นให้โจมตีว่าเป็นมรดก คสช. แต่ปรากฏกว่า คำสั่ง คสช.ที่ 3/2558 ยังไม่ได้ถูกยกเลิกไป จึงเป็นเรื่องที่ชวนให้เกิดข้อกังขา
จากรายละเอียดของคำสั่ง คสช.ฉบับดังกล่าว ถือว่ามีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดอย่างแท้จริง แต่เมื่อ คสช.สิ้นสภาพ และกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กกล.รส.) ซึ่งเจ้าหน้าที่ทหารทำหน้าที่ก็จะสิ้นสภาพไปด้วย ซึ่งคำสั่งดังกล่าวก็จะหมดสภาพไปโดยอัตโนมัติ ดังนั้น คำสั่งในการเชิญตัวบุคคลจึงหมดไปด้วย ซึ่งเป็นคนละส่วนกับนัยของการ "เชิญตัว" ตาม พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ภายใต้กรอบของ กอ.รมน. ที่ได้ระบุไว้ข้างต้น
หลักการเดิมที่ คสช.มีเป้าหมายเรื่องการทำงานให้เกิดความต่อเนื่อง หรือ พอ "ปิดจ๊อบ” คสช.แล้ว สิ่งที่ทำมาก็กลับเข้าสู่สภาพเดิม จึงได้มีแนวคิดว่า งานของ คสช.ที่ไม่ใช่อำนาจทหารก็จะถูกโอนไปให้หน่วยงานปกติมารับผิดชอบในโครงการต่างๆ เช่น โครงการพัฒนาคลองลาดพร้าว การแก้ไขประมงผิดกฎหมาย ฯลฯ ขณะที่งานบางอย่างก็จะโอนไปที่ กอ.รมน. เช่น งานจัดระเบียบสังคม การดูแลแก้ไขปัญหาให้ประชาชน รวมถึงเรื่องความสงบเรียบร้อย ฯลฯ เพราะบทบาทจะเปลี่ยนแปลงไป เดิม คสช.เป็นผู้ปฏิบัติ เมื่อ คสช.จบภารกิจ การประสานงาน บูรณาการก็จะไปเป็นของ กอ.รมน. โดยบทบาทของ กอ.รมน.ในห้วงต่อไปจะประกอบไปด้วย 1.ขับเคลื่อนงานรักษาความสงบเรียบร้อย 2.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร 3 บูรณาการประสานงานขับเคลื่อนงานช่วยเหลือประชาชน
จึงน่าสนใจว่า ในสถานการณ์ข้างหน้าเมื่อไม่มี คสช. -ม.44 แต่ยังมี กอ.รมน. และ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ที่มีขั้นตอนการใช้มากกว่า จะถูกนำมาใช้ในสถานการณ์ที่ผู้เล่นหลักคือนักการเมือง ยังมีบทบาทหลักในขณะนี้หรือไม่.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |