กึ๋นรัฐแก้ปัญหา “ปากท้อง”


เพิ่มเพื่อน    

 

            เรื่อง “ค่าครองชีพ” เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างมากในช่วงเศรษฐกิจในปัจจุบัน ที่รัฐบาลยืนยันว่ายังคงเติบโตได้ในระดับที่ไม่น่าเกลียด แต่ในมุมของประชาชน หรือผู้บริโภครายสำคัญของประเทศ ส่วนใหญ่ยังรู้สึกแตกต่างออกไป โดยหลักๆ ยังมองว่า เรื่องค่าครองชีพในปัจจุบันเป็นปัญหา เพราะข้าวของส่วนใหญ่มีราคาปรับเพิ่มสูงขึ้น สวนทางกับรายรับที่ยังได้เข้ากระเป๋ามาเท่าเดิม แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง

                นอกจากนี้ในช่วงที่ผ่านมา “เมอร์เซอร์” ได้ออกมาระบุว่า เอเชียยังเป็นกำลังสำคัญที่ขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจโลก แม้ว่าเมืองในเอเชียจะมีอัตราค่าครองชีพที่ค่อนข้างสูง แต่หลายองค์กรก็ยังคงเล็งเห็นความจำเป็นทางธุรกิจในการโยกย้ายพนักงานไปประจำในภูมิภาคแห่งนี้ ดังนั้นองค์กรต่างๆ จึงให้ความสำคัญกับการควบคุมค่าใช้จ่าย รวมทั้งการระบุเหตุผลทางธุรกิจที่ชัดเจนในการมอบหมายงาน และการวัดผลค่าตอบแทนจากการลงทุน

                ที่น่าสนใจคือ “เมอร์เซอร์” ชี้ว่า กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีค่าครองชีพสูงติดอันดับที่ 40 ของโลก ซึ่งอันดับดังกล่าวเป็นการปรับเพิ่มขึ้นมาถึง 12 อันดับ จากปีก่อนอยู่ที่อันดับ 52 นั่นเป็นการแสดงให้เห็นได้ชัดถึงการย้ายถิ่นฐานของผู้อยู่อาศัยจากเมืองอื่นๆ เข้ามาอยู่ในกรุงเทพมหานครมากขึ้น และเป็นผลจากการเติบโตด้านเศรษฐกิจที่ลดลง ขณะที่ความผันผวนของค่าเงินและภาวะเงินเฟ้อยังส่งผลกระทบ “เพียงเล็กน้อย” เท่านั้น

                ส่วนเมืองที่ค่าครองชีพสูงที่สุด ต้องยกให้ “ฮ่องกง” ซึ่งคว้าตำแหน่งดังกล่าวเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน เนื่องจากราคาที่อยู่อาศัยที่ต่างก็รู้กันดีอยู่แล้วว่าสูงลิบขนาดไหน รองลงมา ได้แก่ โตเกียว, สิงคโปร์, โซล, ซูริก, เซียงไฮ้, อาชกาบัต, ปักกิ่ง, นิวยอร์ก และเซิ่นเจิ้น โดยการเก็บข้อมูลของเมอร์เซอร์นั้น มาจาก 20 เมืองใน 5 ทวีปทั่วโลก โดยวัดจากการเปรียบเทียบราคาของ 200 รายการในแต่ละเมือง ภายใต้หมวดที่อยู่อาศัย การเดินทาง อาหาร เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ไฟฟ้า และความบันเทิง

                ขณะที่ข้อมูลจากนัมเบโอ เว็บไซต์ฐานข้อมูลด้านค่าครองชีพที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้เผยแพร่ดัชนีค่าครองชีพทั่วโลกในปี 2562 โดยคำนวณจากค่าสินค้าอุปโภคบริโภค ค่าอาหารในร้านอาหาร ค่าเช่าที่อยู่อาศัย และกำลังซื้อของประชาชนในเมือง พบว่า “กรุงเทพมหานคร” เป็นเมืองที่มีค่าครองชีพแพงที่สุดเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคอาเซียน เป็นรองแค่เพียง “สิงคโปร์” เท่านั้น ที่ยังถูกจัดให้เป็นเมืองที่มีค่าครองชีพแพงที่สุดในอาเซียน ส่วนอันดับที่ 3 ยกให้ “ย่างกุ้ง” ของเมียนมา

                ทั้งนี้ เมื่อดูในรายละเอียดของข้อมูลที่นำมาคำนวณค่าของดัชนีค่าครองชีพสำหรับกรุงเทพมหานคร พบว่า ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะค่าอาหารในร้านอาหาร โดยคิดเป็นราคาเฉลี่ยต่อมื้อ อยู่ที่ 80 บาท ขณะที่ค่าเช่าที่พักอาศัยก็ปรับเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน โดยอพาร์ตเมนต์ 1 ห้องนอน ใจกลางกรุงเทพมหานคร มีค่าเช่าเฉลี่ยสูงถึง 21,400 บาทต่อเดือน

                ไม่เพียงเท่านี้ ภูเก็ต พัทยา และเชียงใหม่ ก็ยังติดท็อป 10 เมืองที่มีค่าครองชีพแพงที่สุดในภูมิภาคอาเซียนด้วยเช่นกัน โดยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยรายบุคคล ไม่รวมค่าเช่าบ้าน อยู่ที่ 16,000-18,000 บาทต่อเดือน

                ผลการสำรวจอาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัว แต่หากลองมาพิจารณารายจ่ายจิปาถะต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันนั้น ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะราคาสินค้าอุปโภคบริโภค และบริการหลายอย่าง เช่น รถสาธารณะ มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น หรืออยู่ในระดับที่สูงอย่างมาก จนแทบจะเรียกว่า เงิน 100 บาท ใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค และบริการต่างๆ ได้อย่างจำกัด

                ที่ผ่านมา ประชากรในระดับฐานราก ซึ่งถือเป็นส่วนใหญ่ของระบบเศรษฐกิจของไทย อาจยังไม่ได้รู้สึกได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มที่ จากแนวโน้มเศรษฐกิจที่รัฐบาลยังเชื่อว่ายังขยายตัวได้ในระดับที่น่าพอใจเมื่อเทียบกับหลายๆ ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใกล้เคียงกัน จึงไม่แปลกที่อาจจะยังได้ยินเสียงบ่นอยู่บ่อยๆ ว่า “ยุคนี้ข้าวของแพงไปหมด” ตรงนี้อาจเป็นอีกหนึ่ง “ภารกิจหลัก” ของรัฐใหม่ ที่จะเข้ามาแก้ปัญหาปากท้องของคนไทยให้อยู่กันได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น!.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"