อีกหนึ่ง ”เรื่องกวนใจนอกสภา” ที่รอต้อนรับ ครม.ชุดใหม่อยู่แล้ว จากการ ”ทัวร์ยุโรป-อเมริกา” ของ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ที่เดินทางไปพร้อมกับ นางสาวพรรณิการ์ วานิช โฆษกพรรคอนาคตใหม่ โดยประเด็นที่น่าสนใจคือการที่เจ้าตัวมีโอกาสได้พบกับตัวแทนจากสหภาพยุโรป (อียู)
ซึ่งนับแต่มีการทำรัฐประหารเมื่อปี 2557 ประเทศไทยยังไม่มีการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับสหภาพยุโรปอีกเลย ซ้ำร้ายยังโดนเพ่งเล็ง เรื่อง การทำประมงผิดกฎหมาย จนได้ใบเหลืองมาเป็นของกำนัลอีกต่างหาก แม้จะโดนปลดแล้ว แต่ช่วงเวลากว่า 5 ปีที่ว่างเว้นไปนั้น ส่งผลให้การทำการค้าระหว่างไทยและสหภาพยุโรปกระท่อนกระแท่น ต่างจากที่ควรจะเป็น และกลายเป็น “โอกาส” ในการทำแต้มของเพื่อนร่วมภูมิภาคในการขยายส่วนแบ่งตลาดแทนนั่นเอง ยังไม่นับรวมถึงมาตรการอื่นๆ อย่าง การยุติการเยือนประเทศไทยของเจ้าหน้าที่อียูทั้งหมด หรือการยุติการติดต่อทางการเมืองกับไทย รวมทั้งการลงนามข้อตกลงต่างๆ ซึ่ง FTA ก็รวมอยู่ในนั้นด้วย
สำหรับกำหนดการเดินสาย “ยุโรป-อเมริกา” ของนายธนาธร ระหว่างวันที่ 9-15 ก.ค.ที่ผ่านมา การเคลื่อนไหวที่ส่งผลต่อกรณีดังกล่าวโดยตรง คือ การพบกับนายอลิน สมิธ สมาชิกรัฐสภายุโรป ที่กรุงบรัสเซลส์ เมืองหลวงของประเทศเบลเยียม และเป็นเมืองหลวงของอียู ซึ่งทางตัวแทนจากอียูก็ยืนยันหนักแน่นว่า จะนำเรื่องเสถียรภาพของรัฐบาลและการละเมิดสิทธิมนุษยชนมาร่วมพิจารณาก่อนการเดินหน้าเจรจา FTA ที่หยุดชะงักนับแต่ปี 2557
ประเด็นดังกล่าวนับว่ามีความน่าสนใจ เนื่องจากคู่แข่งโดยตรงในภูมิภาคอย่าง “เวียดนาม” ที่ได้ลงนามในข้อตกลง EVFTA (European Union-Vietnam Free Trade Agreement) ที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการส่งสินค้าเขาไปในสหภาพยุโรปของทั้งไทยและเวียดนาม แน่นอนว่ารวมไปถึงการพัฒนาและโอกาสในการขยายตัวของธุรกิจส่งออกต่างๆ และจะเป็นช่องทางสำคัญที่จะนำเวียดนามแซงหน้าไทยภายใน 5 ปี
ตามที่หลายคนชอบเอาเรื่องนี้มากล่าวอ้าง เพื่อ “โจมตี” การบริหารประเทศของรัฐบาลยุคปัจจุบัน ว่า เวลาและโอกาสที่ประเทศเสียไปอันเกิดมาจาก ”รัฐประหาร” นั้นทำให้เราไม่ไปไหนเสียที เมื่อก่อนคู่แข่งในการพัฒนาเราอยู่ระดับที่ใกล้เคียงกับ 4 เสือแห่งเอเชีย ที่ประกอบด้วย “ฮ่องกง” “สิงคโปร์” “ไต้หวัน” และ”เกาหลีใต้” ซึ่ง ณ ขณะนั้นเราได้รับสมญานามว่าเป็น “เสือตัวที่ 5” แห่งเอเชีย จนประเทศเหล่านั้นแซงหน้าเราไปหมดแล้ว ก่อนที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง “มาเลเซีย” พัฒนามาจนทัดเทียมและแซงหน้าเราไปแล้ว
จนคู่แข่งรายใหม่ปรากฏออกมา นั่นคือ “เวียดนาม” และคาดการณ์กันว่าข้อตกลงดังกล่าวนี่ละที่จะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมส่งออกของเวียดนาม ในขณะที่บริษัทอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของโลก ต่างทยอยย้ายฐานการผลิตจากประเทศไทยไปสู่เวียดนามและอินโดนีเซียมาสักพักหนึ่งแล้ว จากหลายสาเหตุ ทั้งเรื่องค่าแรงที่ถูกกว่า ขนาดตลาดของไทยที่เล็กกว่า 2 ประเทศข้างต้น ขีดจำกัดในการพัฒนา และที่สำคัญคือเสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งคาดว่าอีกไม่นานเวียดนามคงจะแซงเราไป ซึ่งก็ได้แต่หวังว่าพฤติกรรมของนายธนาธรจะไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อการเจรจา FTA ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรปในอนาคต
แม้นายธนาธรจะให้สัมภาษณ์กับ Voice Of America ช่วงที่เดินทางไปเยือนสหรัฐอเมริกา ถึงกรณีดังกล่าวแล้วว่า "ก็เป็นการโจมตีของฝั่งตรงข้ามผมอยู่แล้ว ของคนที่ไม่อยากเห็นประชาธิปไตย ผมเรียนให้พ่อแม่พี่น้องประชาชนเข้าใจอีกครั้งว่า พวกเราไม่ได้มีเจตนาร้ายกับประเทศ พวกเรามีแต่เจตนาดี พวกเรามีแต่ความมุ่งมั่นตั้งใจที่อยากให้ประเทศ เดินหน้าไปข้างหน้าได้"
คำถามคือ สิ่งที่หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่กำลังทำอยู่นั้น ทางหนึ่งก็เป็นการหารือถึงความไม่ปกติที่เกิดขึ้น แม้จะมีการเลือกตั้งไปแล้วก็ตาม แต่หากสิ่งที่นายธนาธรได้ชี้แจงไปนั้น ส่งผลกระทบต่อการเดินหน้าข้อตกลงต่างๆ ที่เราอาจถูกลด-ตัดข้อเสนอบางส่วนออก ซึ่งร้อยทั้งร้อยคงไม่มีประชาชนคนไทยคนไหนที่อยากให้ประเทศเป็นผู้เสียผลประโยชน์ แต่ถ้ามีเหตุดังกล่าวเกิดขึ้น แล้วใครละต้องเป็นผู้รับผิดชอบ?
เรื่องแบบนี้วิเคราะห์กันไปตามแนวทางที่แต่ละคนเชื่อคงจะไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่สำหรับ “หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่” ที่ถูกรัฐบาลกาหัวแล้วว่า เป็นหนึ่งในผู้ชักศึกเข้าบ้านแล้ว ก็ขอให้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนว่า สิ่งที่ทำไปนั้นประเทศชาติและคนไทยได้ประโยชน์อะไรบ้างหรือไม่ เพราะท้ายที่สุดแล้ว ผลกระทบทั้งหมดทั้งมวลไม่ได้ตกอยู่กับ “นายธนาธร” แต่เพียงผู้เดียว แต่ประเทศนี่แหละที่รับผลที่ตามมาเต็มๆ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |