16 ก.ค.62- เมื่อวันที่ 9 ก.ค.ที่ผ่านมาเว็บไซต์บีบีซีไทย เผยแพร่บทความ ครบรอบ 5 ปี ของบีบีซีไทยโฉมใหม่ กับ 5 เรื่องที่คุณอาจยังไม่รู้ มีเนื้อหาที่น่าสนใจระบุว่า นำเสนอข่าวสารที่หาอ่านจากที่อื่นไม่ได้ บทสัมภาษณ์พิเศษ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฮ่องกง เผยแพร่ทางเว็บไซต์บีบีซีไทย และทางยูทิวบ์ 2 วัน หลังการเลือกตั้ง 24 มี.ค. 2562 กลายเป็นบทความข่าวและวิดีโอที่มีคนพูดถึงทั่วประเทศ สื่อมวลชนทุกแขนงต่างนำมาอ้างอิง ได้รับความสนใจมากมายจนกลายเป็นวิดีโอที่มีผู้ชมมากที่สุดทางช่อง ยูทิวบ์ ของบีบีซีไทย
นอกจากนี้ยังมีประเด็น บีบีซีไทยได้เงินจากไหน โดยมีเนื้อหาระบุว่า "บีบีซีไทย ถูกทักษิณซื้อไปแล้ว" ความเห็นลักษณะนี้มักปรากฏขึ้นมาหลายครั้งใต้โพสต์ข่าวการเมือง ทางเพจเฟซบุ๊กของบีบีซีไทย โดยล้อเลียนหรือกล่าวหาว่านายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ที่ลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศ คือผู้ให้การอุดหนุนทางการเงินแก่บีบีซีไทย
แล้วแท้จริงแล้ว บีบีซีไทยได้เงินมาจากไหน
บีบีซีไทย คือ ส่วนหนึ่งของ บรรษัทกระจายเสียงสาธารณะของอังกฤษ (บีบีซี) และเป็นต้นแบบของสื่อสาธารณะหลายแห่งทั่วโลก งบประมาณส่วนใหญ่ที่บีบีซีได้รับ มาจากค่าธรรมเนียมโทรทัศน์ที่ทุกครัวเรือนที่มีโทรทัศน์ในสหราชอาณาจักรต้องจ่ายเป็นจำนวน 154.50 ปอนด์ต่อปีหรือราว 5,900 บาท (อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 1 ปอนด์อยู่ที่ราว 38.49 บาท)
บีบีซี นำงบประมาณนี้มาจัดสรรให้กับแผนกต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแผนกข่าว แผนกกีฬา สารคดี ละคร และแผนกภาษาต่างประเทศใน บีบีซี เวิลด์ เซอร์วิส หรือ บีบีซี ภาคบริการโลก ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนอีกก้อนหนึ่งจากรัฐบาลอังกฤษสำหรับเปิดให้บริการแผนกภาษาต่างประเทศอื่น ๆ
สีของตราสัญลักษณ์ของบีบีซี คือสีแดง และสีของทุกแผนกภาษาต่างประเทศ รวมทั้งบีบีซีไทย ก็ใช้สีแดง มีคำว่า บีบีซี นิวส์ เป็นภาษาอังกฤษ และคำว่า ไทย บนพื้นหลังสีแดง ไม่ได้แฝงความหมายใดทางการเมือง ไม่มีจุดยืนทางการเมืองเข้าข้างกลุ่มการเมืองใด หรือกลุ่มเคลื่อนไหวใด ๆ ทั้งสิ้น และบีบีซีไม่มีนโยบายปรับสีตราสัญลักษณ์ให้เข้ากับวาระพิเศษใด ๆ รวมถึง บีบีซีไทยด้วย.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |