โมเดล 'มหาวิทยาลัยดิจิทัล' : ทุบทิ้งของเก่าอย่างสร้างสรรค์


เพิ่มเพื่อน    

     สองสามปีที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปตั้งวงเสวนากับผู้บริหารและอาจารย์มหาวิทยาลัยในประเทศหลายแห่ง หัวข้อสำคัญคือมหาวิทยาลัยจะปรับตัวตั้งรับกับ “ความป่วน” หรือ disruption อันเกิดจากเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างไร
    ผมยกตัวอย่างหนังสือและบทความมากมายจากต่างประเทศที่ตั้งประเด็นไว้ชัดเจนว่าอีกไม่นานเด็กรุ่นใหม่อาจไม่เห็นว่าปริญญามีความสำคัญเท่ากับที่ผ่านมา
    นายจ้างยุคใหม่ก็ไม่ได้สนใจว่าคนสมัครงานจะต้องจบปริญญาอะไรจากมหาวิทยาลัยไหน
    อีกทั้งคนรุ่นใหม่ก็มีความประสงค์จะเป็นผู้ประกอบการเองมากกว่าที่จะเป็นลูกจ้างอย่างเดียว
    คำว่า The End of College อันหมายถึง “อวสานแห่งมหาวิทยาลัย” ก็กำลังจะกลายเป็นความจริง 
    วันก่อนผมอ่านเจอข้อความในเฟซบุ๊กของคุณวรวิสุทธิ์ ภิญโญยาง นักการตลาดที่เกาะติดความเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากเทคโนโลยีที่นำไปสู่ digital transformation อย่างใหญ่หลวงที่ตอกย้ำถึงแนวความคิดที่กระตุ้นให้เกิดความตระหนักว่า
    หากมหาวิทยาลัยในประเทศไม่ปรับก็ต้องพับฐาน
    คุณวรวิสุทธิ์เขียนว่า
    อ่าน research ของ Kaplan University สรุปได้ว่า มหาวิทยาลัยจะเป็นอีก 1 ธุรกิจ ที่กำลังจะโดน Disrupt ในอีกไม่นาน
    เทรนด์การศึกษากำลังจะ shift จาก “การเรียนมหาวิทยาลัยเอาปริญญาเพื่อให้ได้งาน” เป็น “การทำงานเพื่อให้ได้ปริญญา” 
    PwC, Walmart, Starbucks, Disney มีโปรแกรมพิเศษที่ recruit เด็กมัธยมไปทำงาน และใช้เวลาทำงานแทนการเรียนแบบนับหน่วยกิต โดยจับมือกับมหาวิทยาลัยที่มี Online Degree 
    พนักงานก็ไปทำงานตามปกติ เพื่อเก็บสะสมชั่วโมงการทำงาน ให้ครบตามที่ตั้งไว้ แล้วก็ลงเรียนออนไลน์ ในวิชาที่หลักสูตรนั้นกำหนดไว้ เมื่อครบทั้งชั่วโมงทำงานและวิชาที่เรียน ก็จะได้ปริญญาเลย โดยบริษัทเหล่านี้เป็นคนออกค่าเรียนให้พนักงานด้วย
    ตัวอย่างโปรแกรมของ Disney ชื่อ “Disney Aspire” ก็มีสาขาวิชาให้เลือกหลากหลาย ตั้งแต่ปริญญาตรีจนถึงปริญญาโท หรือวิชาเฉพาะทาง สำหรับตำแหน่งงานนั้นๆ โดยที่ไม่ต้องมีปริญญาก็ได้
    องค์กรใหญ่ๆ ในสหรัฐ เริ่มมีโปรแกรมแบบนี้มากขึ้นเรื่อยๆ
    แล้วคุณวรวิสุทธิ์ก็สรุปว่า
    อีกไม่นาน คงไม่มีความจำเป็นต้องเรียนในมหาวิทยาลัย และบริษัทต่างๆ อาจพัฒนาหลักสูตรขึ้นมาเอง เพื่อเทรนพนักงานในแต่ละหน้าที่ โดยที่ไม่ต้องการปริญญาใดๆ มาเป็นตัวบ่งบอกความรู้ความสามารถ
    นั่นหมายความว่า The Next Biggest Disruption จะเกิดขึ้นในวงการการศึกษา และมหาวิทยาลัยมีโอกาสจะถูก Disrupt แบบถอนรากได้เลยเหมือนกัน
    คำว่า “disrupt แบบถอนรากถอนโคน” นี่แหละครับที่เป็นวลีที่คนในแวดวงมหาวิทยาลัยจะต้องนำไปพิเคราะห์เพื่อลงมือเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมจริงๆ
    เพียงแค่มีการจัดสัมมนา, workshops และตั้งคณะกรรมการศึกษาจะไม่มีหนทางแก้ปัญหาอีกต่อไป
    เพราะการที่อาจารย์มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ยังอยู่ใน comfort zone หรือ “เขตความคุ้นเคย” และปฏิเสธที่จะปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญคืออุปสรรคสำคัญที่สุดของการนำองค์กรไปสู่การปรับเปลี่ยนที่กว้างขวางและลุ่มลึก วิธีคิดของคนในวงการศึกษาก็คือการ “ค่อยๆ ทำ” หรือ “ทำทีละขั้นตอน” 
    แต่ความเป็นจริงในโลกวันนี้คืออัตราความเปลี่ยนแปลงไม่ได้ “ค่อยๆ เกิดขึ้น” แต่เป็นพายุที่ถาโถมเข้ามาอย่างไม่หยุดยั้งและยังไม่มีทีท่าว่าจะเบาบางลงแต่อย่างไร มีแต่จะทวีความรุนแรงและถี่มากขึ้น
    ในหลายกรณี ความเปลี่ยนแปลงภายใต้โครงสร้างเดิมอาจจะไม่ทันกับความรุนแรงของความป่วนด้วยซ้ำไป
    เพราะแม้ตกลงกันว่าจะเปลี่ยน แต่บุคลากรในหลายระดับก็ยังไม่ลงมือปรับตัวเองอย่างจริงจัง เพราะคิดว่าคนที่ต้องเปลี่ยนคือคนอื่น ไม่ใช่ตนเอง
    วันหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ในเวทีการแลกเปลี่ยนความเห็นที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขณะที่นักวิชาการหลายท่านพูดถึงการปรับตัวของมหาวิทยาลัยในรูปแบบต่างๆ ภายใต้โครงสร้างเดิม ก็มีอดีตอธิการบดีท่านหนึ่งลุกขึ้นมาเสนอว่าทางออกอาจจะต้องมีการตั้ง “มช.2” ขึ้นมาเพื่อเป็นตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ต้องเดินตามรอยเดิมๆ
    เพราะการเปลี่ยนของเก่าอาจจะยากกว่าการสร้างของใหม่
    “การทำลายอย่างสร้างสรรค์” หรือ creative destruction อาจจะจำเป็นเพื่อความอยู่รอดอย่างยั่งยืน
    การแก้ไขปรับปรุง มช.1 อาจจะยุ่งยากซับซ้อนยุ่งเหยิงมากกว่าการสร้าง มช.2 ใหม่ภายใต้โจทย์ที่ว่า
    ถ้าคุณสร้างมหาวิทยาลัยใหม่วันนี้ในยุคดิจิทัล ไม่ต้องทำอะไรแบบเก่าๆ เลยแม้แต่อย่างเดียว คุณจะมีรูปแบบใหม่ๆ อย่างไร?.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"