ต่อยอดอีอีซีขยายพื้นที่สร้างงาน


เพิ่มเพื่อน    

      “การขยายไปยังเขตพื้นที่อื่นเป็นสิ่งที่อยากจะเห็นมากกว่า เพราะสามจังหวัดในภาคตะวันออกได้ถูกพัฒนามานานแล้ว อยากเห็นการเติบโตไปที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคใต้ เพื่อกระจายการพัฒนามากกว่า ต้องยอมรับว่าทุกวันนี้คนที่อยู่ในโซนอีอีซีก็ใช่คนในพื้นที่ เนื่องจากที่บ้านเขาไม่มีงานทำ ส่งผลให้ประชาชนจากภาคต่างๆ ต้องเข้ามาทำงานกันที่นี่ ขณะเดียวกันประชาชนที่เป็นคนในพื้นที่จริงๆ ของจังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง เขาก็ไม่ได้อยากเจอรถติด ควันดำ หรือน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มากขึ้น แน่นอนว่าอีอีซีเป็นแนวคิดที่ดี แต่ควรที่จะต่อยอดมากกว่านี้ เพื่อกระจายการทำงานให้มันกว้างและมีงานทำมากขึ้น”

 

      หากย้อนกลับไปตั้งแต่การลงทุนในยุคอีสเทิร์นซีบอร์ด ที่ปรับเปลี่ยนภาพจากสังคมเกษตรกรรมมาสู่อุตสาหกรรม ขณะเดียวกันทิศทางและแนวโน้มอุตสาหกรรมทั่วโลกยังเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง ย่อมทำให้ประเทศไทยเองต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด และสร้างการเติบโตให้กับประเทศ โดยในช่วงที่ผ่านมาโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้กลายเป็นการลงทุนขนาดใหญ่ ที่จะยกระดับการพัฒนาประเทศไปสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0

        รัฐบาลได้เร่งเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค การท่องเที่ยว ธุรกิจ และเมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ให้ก้าวสู่ความเป็น เวิลด์คลาส อีโคโนมิกโซน เพิ่มขีดความสามารถทางด้านอุตสาหกรรมให้มีความทันสมัย ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมชั้นสูง มีความไฮเทคยิ่งขึ้น ภายใน 5 ปี

        นั่นคือการคมนาคมทั้งทางถนนมอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ-ชลบุรี, พัทยา-มาบตาพุด และแหลมฉบัง-นครราชสีมา การขนส่งทางเรือตามท่าเรือขนาดใหญ่ เช่น ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือมาบตาพุด ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ และแผนเชื่อมต่อระหว่างสนามบินดอนเมือง-สนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินอู่ตะเภา ด้วยรถไฟฟ้าความเร็วสูง คาดว่าจะเปิดให้บริการปี 2566 จุดนี้ทำให้หลายส่วนคาดหวังว่าประเทศไทยจะกลายเป็นศูนย์กลางทางการบิน ด้วยทำเลที่ตั้งของประเทศไทยเอื้ออำนวยให้เป็นจุดยุทธศาสตร์ของภูมิภาคเอเชียตามไปด้วย โดยมีการแบ่งโซนสร้างพื้นที่สีเขียวขึ้นเพื่อเป็นแนวกันชนระหว่างชุมชนกับอุตสาหกรรม และแยกพื้นที่เกษตรกรรมออกจากพื้นที่ท่องเที่ยวอย่างชัดเจน

        ทั้งนี้ จุดประสงค์หลักของนโยบายอีอีซีนั้นคือหนุนเศรษฐกิจไทย และการสร้างรายได้เข้าประเทศ รวมไปถึงการยกระดับให้ประเทศไทยหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง และกระจายความเจริญสู่ท้องถิ่น นายวินท์ สุธีรชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วิน วิน โฮลด์ดิ้ง จำกัด เปิดเผยถึงนโยบายการส่งเสริมอีอีซีของรัฐบาลว่า อุตสาหกรรมในเขตภาคตะวันออกได้ถูกพัฒนามา 30 ปีแล้ว จนกระทั่งปัจจุบันได้กลายเป็นโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี และยังเพิ่มสิทธิประโยชน์ แต่ทว่าสิ่งที่อยากเห็นคือการที่ภาครัฐสามารถขยายโซนให้กว้างมากขึ้น จากที่มีแค่เพียงเฉพาะภาคตะวันออก อาจมีการต่อยอดไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิ นครราชสีมาและขอนแก่น โดยรัฐได้มีการต่อท่อแก๊สไปยังนครราชสีมา และมีการต่อรถไฟไปยังขอนแก่น มองว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก

        ดังนั้น หากเป็นไปได้อยากให้ขยายไปยังทางด้านโซนอื่นบ้าง หรืออาจจะขยายมาทางใต้ ส่วนตัวแล้วได้มีโอกาสไปดูนิคมอุตสาหกรรมรับเบอร์ซิตี้ทางใต้มา โดยเป้าหมายคือยากจะให้ผู้ผลิตยางรถยนต์ไปเปิดโรงงานในนิคมฯ ดังกล่าว แต่ก็สงสัยมาตลอดว่าหลายรายทำไมอยู่ภาคใต้ สรุปว่าท่อแก๊สต่อมาถึงแล้ว แต่ขาดอีก 20 กิโลเมตร ไม่ได้ต่อเข้านิคมฯ ก็เกิดความสงสัยต่ออีกว่าแล้วทำไมไม่เข้าไป คำตอบคือรอมีลูกค้าก่อนแล้วค่อยต่อไป หากตัวเองเป็นโรงงานรถยนต์ลงทุนเป็นหมื่นล้าน ถามว่าจะรอให้ท่อแก๊สต่อก่อนแล้วลงทุน หรือจะลงทุนเป็นหมื่นล้านแล้วค่อยรอท่อแก๊สทีหลัง คำตอบคือก็ต้องมีท่อแก๊สก่อน มันเสี่ยงไม่ได้ เพราะต้องลงทุนด้วยเม็ดเงินขนาดใหญ่

        “การขยายไปยังเขตพื้นที่อื่นเป็นสิ่งที่อยากจะเห็นมากกว่า เพราะสามจังหวัดในภาคตะวันออกได้ถูกพัฒนามานานแล้ว อยากเห็นการเติบโตไปที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคใต้ เพื่อกระจายการพัฒนามากกว่า ต้องยอมรับว่าทุกวันนี้คนที่อยู่ในโซนอีอีซีก็ใช่คนในพื้นที่ เนื่องจากที่บ้านเขาไม่มีงานทำ ส่งผลให้ประชาชนจากภาคต่างๆ ต้องเข้ามาทำงานกันที่นี่ ขณะเดียวกันประชาชนที่เป็นคนในพื้นที่จริงๆ ของจังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง เขาก็ไม่ได้อยากเจอรถติด ควันดำ หรือน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มากขึ้น แน่นอนว่าอีอีซีเป็นแนวคิดที่ดี แต่ควรที่จะต่อยอดมากกว่านี้ เพื่อกระจายการทำงานให้มันกว้างและมีงานทำมากขึ้น”

แรงงานปัญหาใหญ่ในอีอีซี

(วินท์ สุธีรชัย)

      นายวินท์ กล่าวว่า สำหรับในกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย หรือเอสเอ็มอี การจะเข้าไปลงทุนในอีอีซีคงมีปัญหาเรื่องของแรงงาน ซึ่งค่อนข้างจะหาได้ยาก เนื่องจากต้องไปต่อสู้กับผู้ผลิตรถยนต์ที่ให้ค่าตอบแทนสูงกว่า ส่งผลให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะประสบปัญหาเรื่องเทิร์นโอเวอร์เรท  ขณะเดียวกันที่ดินก็มีราคาแพง บวกกับแรงงานหายาก อีอีซีอาจจะไม่ได้เหมาะกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเท่าไหร่ เรื่องสิทธิประโยชน์ภาษีอาจช่วยได้ แต่หากเจอเรื่องที่ดินกับแรงงานตั้งแต่แรก ก็อาจไม่มีกำไรแต่ต้น เนื่องจากเอสเอ็มอีต้องเริ่มทำเรื่องต้นทุนต่ำที่สุดก่อน นับเป็นเป็นข้อกังวลใจอย่างหนึ่ง มองว่าผู้ที่ได้ประโยชน์จากอีอีซีจะเป็นนักลงทุนต่างชาติ สามารถซื้อที่ดินได้ในเขตนิคมอุตสาหกรรม

        นายวินท์ กล่าวว่า การดำเนินงานของ บริษัท วิน วิน โฮลด์ดิ้ง จำกัด จะประกอบด้วยกัน 3 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ 1.ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 2.ธุรกิจเหล็ก อาทิ แผ่นรีดร้อน ท่อเหล็ก สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า และ 3.โมเดลบ้านเหล็กน็อกดาวน์ Blox Living

        สำหรับในช่วงที่ผ่านมาเคยมีลูกค้าบางรายให้ช่วยออกแบบที่พักคนงานไม่ว่าจะชั่วคราวและถาวร ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา เนื่องจากบ้านน็อกดาวน์ที่ทำอยู่นั้นมีเพียงแค่ชั้นเดียว แต่สำหรับที่พักคนงานต้องการประหยัดพื้นที่ จึงจำเป็นต้องสร้างออกมาให้เป็น 2 ชั้น หรือ 3 ชั้น ซึ่งน่าจะเห็นความชัดเจนได้ในปีหน้า

        ส่วนบ้านเหล็กน็อกดาวน์ Blox Living “นายวินท์” กล่าวว่า เกิดจากประสบปัญหาด้วยตัวเองตอนสร้างบ้าน เจอปัญหาหลายอย่างทำให้ช้าไปเป็นระยะเวลา 2 ปี ทำให้นึกถึงโซลูชั่นตรงนี้ขึ้นมา เพราะมองว่าโครงสร้างเหล็กตอบโจทย์ เนื่องจากเซตเร็ว ไม่จำเป็นต้องพึ่งแรงงาน ทุกอย่างมีจะกระบวนการตรวจสอบสินค้าในระหว่างการผลิตทุกขั้นตอนให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด และการรับประกันในระดับคุณภาพของสินค้าหรือบริการต่างๆ ตั้งแต่โรงงานแล้ว ไม่ต้องห่วงฝีมือช่าง

        “เราอยู่ในวงการเหล็กระดับหนึ่ง เริ่มเจอกลุ่มคนหลากหลาย หุ้นส่วนแต่ละบริษัทมารวมตัวกันแล้วลงตัว ไม่ว่าจะเป็นงานออกแบบและที่ปรึกษาก่อสร้าง ผลิตเหล็กรูปพรรณ งานผนัง นับเป็นการวมกันที่ลงตัว และตอบโจทย์ปัญหาของคนสร้างบ้านที่เจออยู่ทุกวันนี้ โดยตลาดบ้านสำเร็จรูปที่มีมาก่อนหน้า ส่วนมากจะเป็นระบบที่ไม่มีอินซูเลชั่น และมาทำทีหลัง จะประสบปัญหาเรื่องความร้อน เนื่องจากเป็นเหล็กที่มาทำอินซูเลททีหลัง และต้องเจอปัญหาเรื่องฝีมือช่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสม่ำเสมอ กระบวนการรีด และการผลิต โดยในส่วนของบริษัทจะสามารถผลิตได้ในต้นทุนที่ถูกกว่า แต่ได้คุณภาพมาตรฐาน” นายวินท์ กล่าว

        จากการรวมตัวกันของแต่ละบริษัท นำความเก่งของแต่ละด้านมาหลอมรวมให้เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ของบ้านน็อกดาวน์ โดย Blox Living ได้พิสูจน์มาแล้วว่าสามารถสร้างบ้านน็อกดาวน์ในพารากอนได้ภายใน 6 ชั่วโมง และการขนย้ายต้องสะดวก และงานสถาปนิกฯ ก็มีเสียงตอบรับค่อนข้างดี รวมถึงกำลังพูดคุยกับเชนรายใหญ่ในการเปิดร้านกาแฟ และอีกกลุ่มเป็นรีสอร์ต มีทั้งลูกค้ารายย่อยและเฉพาะทางที่ต้องการให้ออกแบบพิเศษ

        ส่วนแผนงานในตอนนี้ต้องการขยายตลาดให้มากที่สุด โดยเตรียมสร้างเฮดควอเตอร์อยู่ที่ซีดีซี เพื่อบ้านน็อกดาวน์ทั้ง 3 รูปแบบไปติดตั้ง เพื่อให้ลูกค้าได้เห็นงานของจริง และเริ่มประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง โดยสิ้นปีจะมีจัดกิจกรรมเพิ่มในการสร้างการรับรู้แก่ลูกค้า เพราะมองว่าความต้องการมีอยู่แน่นอน ควบคู่ไปกับการจัดแคมเปญลดราคา การทำซื้อขายผ่านออนไลน์ และทดสอบการติดตั้ง โดยปี 2562 นี้มีเป้าหมาย 50-100 ล้านบาท

        นายวินท์ กล่าวว่า บริษัทมีแผนจะขยายช่องทางไปยังร้านค้าปลีกวัสุดก่อสร้าง ขณะเดียวกันก็มองว่าการขายเป็นรายย่อยต่อยูนิตค่อนข้างทำได้ดี แต่พอเป็นแมสจะกังวลเรื่องการติดตั้ง ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ของบริษัท การผลิตของแต่ละบริษัททำกันมานานแล้ว แต่พอเป็นการติดตั้ง ซึ่งต้องมาดูการปรับพื้นที่หน้างานและอื่นๆ คงต้องพยายามทดสอบกระบวนการติดตั้งจนมั่นใจว่ามีศักยภาพที่จะทำให้ลูกค้าไม่มีปัญหา

        ในปีนี้นับเป็นการเริ่มบุกตลาดจริงจังแล้ว แต่ไม่รับมาในปริมาณที่ทำไม่ได้ ส่วนการขยายช่องทางโมเดิร์นเทรดในต่างจังหวัด อาจเริ่มจากหัวเมืองใหญ่ก่อน คาดการณ์ว่าในอนาคตหากสินค้ากระจายได้ระดับหนึ่ง ก็มีแผนจะจำหน่ายวัสดุที่ลูกค้าเปลี่ยนเองได้ อาทิ ผนัง หรือขายโครงสร้างที่ต่อเติมได้เอง โดยศักยภาพตอนนี้มีความพร้อมอยู่แล้ว เพียงแค่ยังไม่อยากลงทุนกับเงินทุนทางด้านนี้เยอะไป ค่อยๆ เปิดตลาดไปก่อน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"