10 ก.ค.62 - เมื่อเวลา 14.15 น. ที่หอประชุมใหญ่ทีโอที ถ.แจ้งวัฒนะ มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่มีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯเป็นประธานการประชุม ได้พิจารณากระทู้ถามสด เรื่อง ปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ทหาร – ตำรวจ เพื่อกดดันผู้ที่เคลื่อนไหวทางการเมือง โดยนายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม
นายรังสิมันต์ กล่าวว่า เหตุความรุนแรงต่อนายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ จ่านิว ถึงตอนนี้ยังไม่สามารถจับกุมคนร้ายที่กระทำผิดได้ และเมื่อวันที่ 7 ก.ค.ที่ผ่านมา นายสิรวิชญ์ ร้องขอเพื่อเข้าสู่กระบวนการคุ้มครองความปลอดภัยในฐานะพยาน ปรากฎว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจยื่นเงื่อนไขว่าการคุ้มครองพยานนั้น นายสิรวิชญ์ ต้องหยุดเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วย ซึ่งนายสิรวิชญ์ ปฏิเสธ
ต่อมาวันที่ 8 ก.ค.ที่ผ่านมา พล.อ.ประวิตร ให้สัมภาษณ์ว่าการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นสิ่งที่ทำได้ อยู่ภายใต้การดำเนินการของกฎหมาย ซึ่งตนเห็นว่า การเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลเป็นสิ่งที่ถูกคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ บุคคลที่มีตำแหน่งหน้าที่เป็นรองนายกฯ มีหน้าที่เคารพสิทธิของประชาชน และไม่สามารถทำลายหลักการนี้ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติเอาไว้ได้ โดยนายสิรวิชญ์ ย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการเคลื่อนไหวแสดงออกได้ ขณะเดียวกัน ย่อมมีสิทธิได้รับการปกป้องคุ้มครองจากเจ้าหน้าที่รัฐ
นายรังสิมันต์ กล่าวอีกว่า ขอย้ำว่าการคุ้มครองพยาน สามารถทำควบคู่ไปกับการปล่อยให้เขาได้ใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญด้วย แต่เหตุใดพล.อ.ประวิตร และเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงยื่นเงื่อนไขลักษณะดังกล่าว และเหตุใดจึงต้องส่งเจ้าหน้าที่คอยติดตามประชาชนที่แสดงออกต่อต้านคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รวมถึงเหตุใดการที่ประชาชนต่อต้านคสช. จึงถูกโยงให้เป็นเรื่องเดียวกันกับความมั่นคงของรัฐ การกดดันของเจ้าหน้าที่หากประสบผลสำเร็จทำให้ประชาชนเลิกแสดงออกทางการเมืองได้ ผู้ได้รับประโยชน์คือคสช.เอง เช่นนี้แล้วคสช.มีส่วนได้เสีย มีความเกี่ยวข้องหรือรู้เห็นเป็นใจต่อปฏิบัติการดังกล่าวหรือไม่
ด้าน พล.อ.ชัยชาญ ช้างมลคล รมช.กลาโหม ชี้แจงว่า เรื่องสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน รัฐบาลยืนยันว่า การดำเนินการดังกล่าวทำได้ตามที่กรอบกฎหมายกำหนด ส่วนการดูแลความปลอดภัยประชาชน รัฐบาลคำนึงหลักการบุคคลย่อมเสมอกันตามกฎหมายโดยไม่เลือกปฏิบัติ กรณีนายสิรวิชญ์ มาตรการเชิงป้องกันสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้เพิ่มมาตรการตั้งจุดตรวจ และเพิ่มสายตรวจมากขึ้น ส่วนการเข้าไปดูแลพยานและผู้เคลื่อนไหวทางการเมือง เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปเชิงบวกมากกว่า โดยเข้าไปสอบถามว่าต้องการให้ดูแลได้อย่างไร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนในพื้นที่ของตัวเอง
ส่วนความคืบหน้าทางคดีกรณีของนายสิรวิชญ์นั้น ได้สอบพยานแล้ว 15 ปาก มีการสืบสวนสอบสวนค่อนข้างมาก เชื่อว่าเร็วๆนี้จะออกหมายจับได้ ส่วนการเข้าไปดูแลมีส่วนของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งยืนยันว่า ในการให้สัมภาษณ์ของพล.อ.ประวิตร นั้นเป็นการตอบสองคำถามในคราวเดียวกัน พล.อ.ประวิตร จึงตอบว่าตำรวจจะดูแลความปลอดภัย ส่วนกรมคุ้มครองสิทธิฯจะดูแลเรื่องการคุ้มครองพยาน
"ขอยืนยันว่า เจ้าหน้าที่ไม่ได้ห้าม และไม่สามารถห้ามบุคคคลแสดงออกทางการเมืองโดยความบริสุทธิ์ใจได้ บุคคลต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ส่วนที่เป็นเรื่องความมั่นคงของรัฐ เพราะเมื่อมีการแสดงออกกิจกรรมทางการเมือง ย่อมมีประชาชนจำนวนมาก อาจเกิดเหตุกระทบกระทั่งของผู้เห็นด้วยและเห็นต่าง จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของตำรวจที่จะดูแลความปลอดภัยประชาชนอย่างใกล้ชิด การดำเนินการทั้งหมด เป็นการดูแลความปลอดภัยของผู้มาชุมนุม และประชาชนทั่วไปที่อยู่ใกล้เคียงด้วย ซึ่งยืนยันว่า เจ้าหน้าที่มีความจำเป็นต้องดูแลความปลอดภัยให้ประชาชน ฉะนั้น ใครจะได้ประโยชน์หรือได้เสียอย่างไรอยู่ที่ความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองเป็นสำคัญ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |