ออกอาการปลื้มตัวลอยกันเป็นทิวแถว หลังธนาคารโลก (World Bank) ออกมาคอนเฟิร์มว่า ประเทศไทยได้ก้าวผ่านเส้นความยากจนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
โดยเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา นายชูเดีย แชตตี้ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ธนาคารโลก ได้เปิดเผยถึงรายงานแนวโน้มการเติบโตแบบมีส่วนร่วมของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกในระยะยาว ชื่อ Riding the Wave : An East Asian Miracle for the 21st Century ซึ่งในรายงานระบุว่า ประเทศไทยได้ขยับเข้ามาอยู่กลุ่มเดียวกับมาเลเซีย ซึ่งก็หมายถึงประเทศได้เริ่มหลุดพ้นจากความยากจน และกำลังก้าวสู่ความมั่งคั่ง
โดยธนาคารโลกยังได้เสนอ 3 แนวทางต่อรัฐบาล ที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ สำหรับเศรษฐกิจไทยในระยะยาว ประกอบด้วย คือ ให้โอกาสด้านเศรษฐกิจกับผู้มีรายได้น้อย มีระบบการดูแลด้านสังคม สาธารณสุข ประกันสังคม และการส่งเสริมการออม รวมทั้งการใช้เครื่องมือ เช่น ภาษี เครื่องมือทางการเงิน มาช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ
งานนี้หลายหน่วยงานของรัฐออกมาตีปีก ยิ้มน้อย ยิ้มใหญ่ สำหรับผลงานที่ออกมา โดยในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการสำนักงานฯ ก็ระบุเป้าหมาย แก้ปัญหาความยากจนยุคใหม่ ด้วยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (2560-2564) ที่จะมาในแนวคิด สร้าง "การเติบโตอย่างทั่วถึง และลดความเหลื่อมล้ำ" โดยกลุ่มที่พยายามช่วยเหลือ คือ ประชากรฐานรากระดับล่างประมาณ 29 ล้านคน หรือประมาณ 40% ของประชากรที่จะต้องเสริมความแข็งแรง
สำหรับแผนงาน การดำเนินการในรูปแบบ การกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค เพื่อเพิ่มรายได้ และเพิ่มการจ้างงาน ขณะเดียวกัน ก็จะเพิ่มหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชน คู่ขนานกับการสนับสนุนให้ประชาชนออมเงินผ่านกองทุนการออมแห่งชาติ และกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ รองรับผู้สูงอายุซึ่งแผนชัดๆ บางส่วนก็เริ่มถูกนำมาทดลองใช้
ด้านกระทรวงการคลังเอง ก็ออกมาตอบรับรายงานดังกล่าว โดยเฉพาะการบ้าน สามข้อที่ธนาคารโลกฝากไว้ ก็คือ การให้โอกาสด้านเศรษฐกิจกับผู้มีรายได้น้อย ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวรัฐบาลเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจตลอดทั้งการเข้าถึงแหล่งทุน การพัฒนาบุคลากร ก้าวสู่การใช้ความรู้ประกอบอาชีพ 2.พัฒนาระบบดูแลสังคม สาธารณสุข ประกันสังคม การออม ข้อเสนอดังกล่าวเริ่มดำเนินการมาแล้วหลายปีอย่างต่อเนื่องทั้งพัฒนาด้านการศึกษา ประกันสังคม และ 3.ข้อเสนอใช้เครื่องมือภาษี ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม ได้ทยอยปรับภาษีเพิ่มขึ้นหลายประเภท เพื่อดูแลรายย่อย จากข้อเสนอดังกล่าวจึงมองว่าแนวทางแก้ปัญหาความยากจนของไทยเริ่มดีขึ้นในสายตาของต่างชาติ จึงมองว่ากลุ่มที่มีความเสี่ยงความยากจน มีรายได้ใต้เส้นความยากจน 2,646 บาทต่อคนต่อเดือน จะลดลง และหายไป ขณะที่นโยบายไทยแลนด์ 4.0 จะช่วยยกระดับค่าครองชีพตั้งเป้าหมายเฉลี่ยรายได้ของผู้มีรายได้น้อยขยับสูงขึ้น
ต้องยอมรับว่า ผลงานของรัฐบาลชุดนี้ ในเรื่องปัญหาความยากจน ทำได้เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะการขึ้นทะเบียนคนจน ภายใต้โครงการ “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” ที่รัฐบาลใส่เงินตรงให้กับประชาชนเดือนละ 300 บาท ในการนำไปใช้เป็นส่วนลดหรือใช้รับสวัสดิการรัฐ เช่น ส่วนลดค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ารถเมล์ รถไฟ และสามารถเพิ่มหรือลดสวัสดิการได้นำไปซื้อสินค้าและบริการต่างๆ ในร้านธงฟ้าประชารัฐ ซึ่งในส่วนนี้สามารถแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายไปได้บางส่วน แต่วิธีนี้ก็ยังคงแก้ปัญหาความไม่ยั่งยืน เพราะจะทำให้ประชาชนกลายเป็นผู้เฝ้ารอเงินจากภาครัฐ
แต่แว่วๆ ว่ารัฐบาลก็กำลังจะมีแนวทางช่วยเหลือคนจน เพื่อมอบให้เป็นของขวัญปีใหม่ ซึ่งคราวนี้จะเป็นมาตรการที่ยกระดับขึ้นมา ไม่ใช่การให้เงินโดยตรงแล้ว แต่จะเป็นการให้ความช่วยเหลือในรูปแบบการสร้างอาชีพ และการพัฒนาความรู้ที่ก่อให้เกิดทักษะในการหารายได้สำหรับอนาคต โดยก่อนหน้านี้ นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ก็ได้มอบนโยบายแล้วว่า หลักการของมาตรการช่วยเหลือเฟสสอง จะประกอบไปด้วย 4 ด้าน 1.เพิ่มการเข้าถึงแหล่งทุน 2.เพิ่มความรู้ด้านการศึกษาแบบตลอดชีวิต 3.เพิ่มเติมทักษะด้านการทำงาน หรืออาชีพ และ 4.ให้คนจนเข้าถึงปัจจัย 4 ต่อการดำรงชีวิตครบถ้วน
จากนี้คงต้องจับตาว่ามาตรการที่ออกมาจะเปรี้ยงปัง ขนาดไหน และจะส่งผลให้คนไทยลืมตาอ้าปาก และก้าวข้ามความยากจนจนหมดประเทศ ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่.
ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |