ถึงจะแล้งก็อยู่ได้ “กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะบ้านคำวังยาง” พลิกวิกฤตผืนดินแห้งแล้งสู่การเลี้ยงแพะ


เพิ่มเพื่อน    

ระหว่างการเดินทางไปในจังหวัดต่างๆ เคยรู้สึกหรือไม่ว่าถนนหนทางในบางที่มันช่างร้อนและแห้งแล้งเหลือเกิน โดยเฉพาะภาคอีสานที่ขึ้นชื่อเรื่องความแห้งแล้ง และทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่าชาวบ้านจะเพาะปลูกหรือทำการเกษตร ทำมาหาเลี้ยงชีพอะไรได้บ้าง กับสภาพดินเช่นนี้

เมื่อเร็วๆนี้ ได้มีโอกาสเดินทางไปที่เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ของ กฟผ. เพื่อไปศึกษาดูงานโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ที่มีชื่อว่า “เขื่อนสิรินธรโมเดล” และได้พบกับ “พี่วสันต์ สุทรนิกรกิจ” หัวหน้ากลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะบ้านคำวังยาง ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเขื่อนสิรินธร ขณะที่พี่วสันต์ได้พาเกษตรกรในกลุ่มมาตัดแต่งต้นกล้วยที่ศูนย์การเรียนรู้ชีววิถีของเขื่อนสิรินธร พร้อมกับขนต้นกล้วยที่ตัดทิ้งขึ้นรถกระบะคู่ใจ เมื่อเข้าไปถามจึงได้ความว่า พี่วสันต์จะเอาต้นและใบกล้วยเหล่านี้ไปเป็นอาหารแพะ เราจึงไม่รอช้าที่จะขอตามพี่วสันต์ไปดูบรรดาแพะที่เลี้ยงไว้

ระหว่างเดินทาง เมื่อเลี้ยวออกจากถนนใหญ่เข้าสู่ถนนเล็กที่มุ่งหน้าไปที่ฟาร์มเลี้ยงแพะของพี่วสันต์ เราได้สังเกตเห็นพื้นดินที่เป็นเหมือนทะเลทราย ทรายขาวละเอียดยิบ ก็ดูสวยงามดี แต่ในใจเราก็คิดว่าที่ดินแบบนี้ชาวบ้านจะเพาะปลูกได้อย่างไร

พอถึงที่หมาย ทุกคนช่วยกันขนใบกล้วยลงจากรถ พี่วสันต์และชาวบ้านได้นำเครื่องสับออกมาจากหลังบ้าน เพื่อสับใบกล้วยก่อนจะนำไปให้แพะกิน ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีใบกล้วยที่บรรทุกมาเต็มคันรถก็ถูกสับหยาบๆจนหมด พร้อมเป็นอาหารแพะ ทำให้เห็นว่าการเกษตร ถ้ามีอุปกรณ์ที่ดีและเทคโนโลยีที่เหมาะสม ก็สามารถช่วยให้ประหยัดเวลาและเพิ่มประสิทธิผลได้มากทีเดียว

ได้เวลาให้อาหารแพะ เราเดินไปที่หลังบ้านจะมีคอกแพะและลานกว้างๆที่ดูค่อนข้างจะแห้งแล้ง พี่วสันต์ได้เล่าให้ฟังว่า “ที่นี่แห้งแล้งมาก เห็นได้จากดินที่แห้งเป็นผง ก่อนที่จะมาเริ่มเลี้ยงแพะ เพาะปลูกอะไรก็ไม่ขึ้น ชาวบ้านต้องออกไปหางานทำที่อื่น ออกไปรับจ้าง แต่หลังจากที่ได้ไปศึกษาดูงานกับ กฟผ. ซึ่ง กฟผ. พาไปที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สกลนคร จึงเกิดแนวคิดในการเลี้ยงแพะ เพราะพื้นที่เราแห้งแล้ง เราจึงต้องการสัตว์ที่อยู่รอดได้ในพื้นที่แบบนี้ และแพะก็คือคำตอบ จึงได้ขายวัวและไปซื้อแพะมาเริ่มเลี้ยง จากนั้นองค์ความรู้เรื่องการเลี้ยงแพะและการหาตลาดรองรับ ก็ได้มาจากการสนับสนุนของ กฟผ. ที่พาเกษตรกรกลุ่มเราไปศึกษาดูงานในที่ต่างๆ นอกจากนี้ กฟผ. ยังให้เข้าไปตัดใบกล้วย ขนผักตบชวา ที่อยู่ในบริเวณของเขื่อนสิรินธร นำมาเป็นอาหารแพะได้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพราะถือเป็นการเกื้อกูลกัน ชาวบ้านก็ได้อาหารแพะ ส่วน กฟผ. ก็ได้คนมาช่วยดูแลพื้นที่”

 

เลี้ยงแพะนี้ดี ขายได้ราคาตั้งแต่เนื้อ นม เขา กระดูก ไปจนถึงมูลแพะหรือขี้แพะ ก็สามารถขายได้ราคาดี มีความต้องการของตลาดมาก อีกทั้งยังสามารถนำขี้แพะมาฟื้นฟูดินได้อีกด้วย ทุกวันนี้สามารถอยู่ได้ด้วยการเลี้ยงแพะขาย เรามีสหกรณ์ของตัวเอง และส่งขายต่างประเทศด้วย แพะเลี้ยงดูง่าย ใช้เวลาไม่มาก จึงมีเวลาไปทำอย่างอื่นเพิ่มเติมอีก เช่น ปลูกผัดปลอดสารพิษ ทำขนม เพื่อหารายได้เพิ่มเติม ไม่ต้องห่างบ้านไปไหน สามารถทำมาหากินในพื้นที่ของตนเองได้ ถือว่าเป็นความสุขที่ได้อยู่ในบ้านเกิด” พี่วสันต์กล่าวทิ้งท้ายด้วยใบหน้าเปื้อนยิ้ม

โครงการเขื่อนสิริธรโมเดล” ที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นโครงการที่น้อมนำแนวทางของ “ดอยตุงโมเดล” คือ “ศาสตร์พระราชา” และ “ตำราแม่ฟ้าหลวง” มาปรับใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน ท้องถิ่น และสังคมโดยรอบพื้นที่เขื่อนสิรินธรของ กฟผ. โดยหลักการสำคัญคือ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยชุมชนต้องมีรายได้เพิ่มขึ้น มีตลาดรองรับผลผลิตของชุมชน ฟังเสียงความต้องการของชุมชน สร้างรายได้ให้กับชุมชนโดยที่ไม่ใช่เป็นการให้เปล่า และหากชาวบ้านมีกำไรเหลือจะนำไปจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาต่อยอดต่อไป สร้างศูนย์การเรียนรู้โดยทำต้นแบบให้ชาวบ้านได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้และให้ชาวบ้านลงมือปฏิบัติเอง และสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆที่มีศักยภาพ ให้ชุมชนสามารถอยู่ได้ด้วยตนเองและมีความสุข และหวังให้เป็นกรณีศึกษาสำหรับหน่วยงาน กฟผ. ในจังหวัดอื่นๆ ในการดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมต่อไป


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"