บริการฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง เยียวยาปัญหาล้มคนเดียวเจ็บทั้งบ้าน


เพิ่มเพื่อน    


    เป็นที่ยอมรับว่า เมื่อมีผู้สูงวัยล้มหรือเจ็บป่วยไม่ว่าจะด้วยโรคอัมพฤกษ์อัมพาต ซึ่งเกิดจากปัญหาเส้นเลือดในสมอง หรือเกิดจากการหกล้ม ตลอดจนอุบัติเหตุต่างๆ เป็นสาเหตุก็ตาม ย่อมส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของทุกคนในครอบครัว ดังนั้นการเยียวยาหรือช่วยฟื้นฟูให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ สามารถช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุด และโดยเร็วที่สุด ย่อมเป็นทางเลือกที่ดี
    โรคหลอดเลือดสมอง หรือที่บางคนเรียกว่าโรคที่มากับความเจริญ เพราะมีสาเหตุมาจากการดำเนินชีวิต การบริโภคอาหาร สภาพแวดล้อม และพันธุกรรม ปัจจุบันการรักษาโรคหลอดเลือดสมองประกอบด้วย การรักษาทางยา หรือผ่าตัด ซึ่งผู้ป่วยควรรีบมาพบแพทย์ภายใน 3 ชั่วโมงหลังจากเกิดอาการ โดยในช่วง 3-7 วันแรกของการเจ็บป่วยถือเป็นระยะวิกฤติที่อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต จำเป็นต้องได้รับการรักษา หรืออยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด 
    จากการประเมินพบว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองไม่ต่ำกว่าปีละ 150,000 คน ทั้งนี้ การดำเนินชีวิตของคนไทยในยุคปัจจุบันเสี่ยงต่อการเกิดอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมองได้ง่าย จึงควรระมัดระวัง ป้องกันตนเองและคนในครอบครัวโดยหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ แต่สำหรับคนที่ป่วยด้วยโรคดังกล่าวสามารถเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพ หรือขอคำแนะนำในการปฏิบัติตัวจากทีมฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ ซึ่งประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล นักกิจกรรมบำบัด นักกายภาพบำบัด นักกายอุปกรณ์ ซึ่งประจำอยู่ที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพต่างๆ หรือตามโรงพยาบาลใหญ่ๆ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ

    นพ.ศักรินทร์ วงศ์เลิศศิริ ผู้อำนวยการสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กล่าวว่า การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์จะสามารถช่วยผู้ป่วยอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง โดยการรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่จะช่วยเร่งให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้มากที่สุดหลังจากเกิดความพิการ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะตามมา ลดความบกพร่องของระบบประสาท ชดเชยและปรับเปลี่ยนกิจกรรมต่างๆ ให้เหมาะสมกับความพิการที่เหลืออยู่ และสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในระยะยาว เป็นภาระแก่ครอบครัวและผู้ดูแลน้อยที่สุด 
    โดยมีขั้นตอนในการฟื้นฟูสมรรถภาพแบบเร็วที่สุดหลังจากผู้ป่วยสภาวะทางการแพทย์คงที่ เข้าสู่ภาวะปกติและไม่มีการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทในระยะที่ผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องนอนบนเตียง ประโยชน์ของการฟื้นฟูในขั้นตอนนี้ คือป้องกันความพิการซ้ำซ้อน เช่น ข้อติดแข็ง แผลกดทับ ปอดบวม เป็นต้น ผลลัพธ์ที่ได้จากการเข้ารับการฟื้นฟู คือผู้ป่วยสามารถฝึกทำกิจวัตรประจำวันได้หรือเดินได้แม้ว่าจะมีข้อจำกัดในการฟื้นตัวจากโรค.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"