สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) เพิ่งจัดวงเสวนาในหัวข้อ Designing the future ซึ่งพบว่า ในเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศไทยแล้ว หากต้องการจะให้ขีดความสามารถในการแข่งขันดีขึ้นในอนาคต สิ่งที่ต้องโฟกัสมี 3 เรื่องหลักๆ คือ 1.การพัฒนาภาคเกษตรและอาหาร 2.พัฒนาคน 3.พัฒนาเมืองให้มีความอัจฉริยะ ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจและอยากหยิบมาเล่าก็คือ งานทางด้านการพัฒนาการเกษตรและอาหาร เพราะเรื่องนี้มีความเกี่ยวพันกับคนไทยจำนวนมาก
โดยอัครวิทย์ กาญจนโอภาษ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งกำกับดูแลและบริหารงานเมืองนวัตกรรมอาหาร (FOOD INNOPOLIS) ให้ข้อมูลว่า ธุรกิจการเกษตรและอาหารถือว่ามีความสำคัญมากที่สุดของไทย เพราะมีความเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก จากตัวเลขที่รวบรวมมา ในภาคเกษตร ตั้งแต่กลุ่มต้นน้ำไปยัง ปลายน้ำ ซึ่งก็คือการแปรรูปอาหาร มีผู้ที่อยู่ในภาคนี้ถึง 40 ล้านคน แต่น่าเสียดาย รายได้จากภาคเกษตรมีไม่ถึง 10% ของจีดีพี
ฉะนั้นหากประเทศไทยอยากจะพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ก็จะต้องยกระดับภาคการเกษตรและอาหารของประเทศไทยเราให้แข็งแกร่งขึ้นมาให้ได้ ถ้าสามารถช่วยให้ผลผลิตดีขึ้น และทำให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น ก็จะส่งผลดีต่อ ภาพรวมทางเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้นตามไปด้วย
ทำไมถึงต้องโฟกัสที่ธุรกิจอาหารและภาคเกษตร ก็เพราะว่ามีผลการศึกษาชัดเจน ที่ระบุว่าความต้องการอาหารของโลกมีแต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 60% เพื่อรองรับประชากรโลกที่จะถึง 10,000 ล้านคนในไม่ช้านี้ แต่ปัญหาที่ทั่วโลกกำลังเจอก็คือ สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง พื้นที่การเกษตรลดลง และแรงงานภาคการเกษตรลดลง และรวมถึงกระบวนการสูญเสียของวัตถุดิบในระหว่างการผลิต และกินไม่หมด ซึ่งสิ่งเหล่านี้กำลังเป็นปัญหาที่ท้าทายไปทั่วโลก
สำหรับไทยเรา 'อัครวิทย์' กล่าวว่า ตอนนี้ไทยเราก็เจอปัญหา อย่างในภาคเกษตรของไทยเราก็เจอ คือ แรงงานภาคเกษตรเรามีน้อยลง และที่มีเหลืออยู่คือวัย 60 ปีขึ้นไป ขณะที่คนรุ่นใหม่ก็ไม่ค่อยสนใจเข้ามาสู่ภาคการเกษตร เนื่องจากเป็นงานที่ดูหนักและรายได้ไม่ค่อยดี
ดังนั้น สิ่งที่จะช่วยได้ คือ เทคโนโลยีสมัยใหม่ และนวัตกรรม ฉะนั้นโจทย์ที่ท้าทาย คือ จะทำอย่างไรให้เกษตรกร สามารถใช้เทคโนโลยี หรือเครื่องมือสมัยใหม่ในการช่วยในการวิเคราะห์ และเพิ่มผลผลิตให้ได้มากขึ้น การใช้ปัญญาประดิษฐ์ การใช้อุปกรณ์ IOT ช่วยในการวิเคราะห์
ขณะเดียวกัน ในภาคการผลิตและแปรรูป จะต้องมีการร่วมมือกัน ระหว่างรัฐบาล เอกชน และภาควิชาการที่จะช่วยกันคิดค้น ต่อยอด สร้างอาหารแบบใหม่ๆ เติมนวัตกรรมเข้าไป สร้างมูลค่าเพิ่ม เจาะตลาดที่เฉพาะกลุ่ม ก็จะช่วยในการขายสินค้าได้มากขึ้น
และสุดท้ายสิ่งที่ภาครัฐจะต้องปรับตัวก็คือ การเปลี่ยนบทบาทของตัวเอง ไปเป็นหน้าที่ใหม่ จากเดิมที่ทำหน้าที่ผู้คุมกฎ จะต้องเปลี่ยนมาเป็นผู้อำนวยความสะดวก ซึ่งจะต้องปรับบทบาทการทำงานในด้านการส่งเสริมให้เกิดการใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ที่มากขึ้น เพราะต้องไม่ลืมว่า ผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมอาหารล้วนจะต้องถูกควบคุมด้วยกฎระเบียบเงื่อนไข และมาตรฐานระดับโลกอยู่แล้ว หากรัฐยังทำตัวเป็นแบบผู้คุมกฎอีกก็ยังสร้างความยากลำบากในการทำงานและการประกอบธุรกิจได้ยากขึ้น
ทั้งนี้ หากไทยสามารถสร้างความแข็งแกร่งให้ภาคเกษตรและอาหารได้แล้ว ก็ไม่ต้องห่วงเลยว่า ความเป็นอยู่ของชาวบ้านจะต้องดีขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย.
ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |