C Components of Information Warfare (Cont.)


เพิ่มเพื่อน    

C Components of Information Warfare (Cont.)

                วันนี้มาวิเคราะห์กันต่อว่าการทำสงครามข่าวสารที่เราใช้แนวคิดที่เป็นตัว C ของภาษาอังกฤษในการวิเคราะห์นั้น ยังมีอะไรเพิ่มเติมอีกบ้าง

                Collaboration การทำงานของพวกเขามีความร่วมมือกันเป็นอย่างดีทั้งทีมงานภายในที่มีการจัดระบบ กระบวนการและขั้นตอนไว้อย่างชัดเจนว่าใครทำอะไร อย่างไร แต่ในขณะเดียวกันเขายังได้กลุ่มเป้าหมายที่ชื่นชอบแนวความคิดของพวกเขาเป็นแนวร่วมในการช่วยกันเผยแพร่ข่าวสารของพวกเขา ด้วยการแบ่งปัน (Share) ข้อมูลไปในพื้นที่ต่างๆ ของ Social Media ทำให้พวกเขามีปริมาณของข่าวสาร (Share of Voice) มากกว่าฝ่ายคู่แข่ง

                Co-creation ด้วยความร่วมมือกันดังกล่าว ทำให้เขามีแนวร่วมมาช่วยผลิตข้อความที่พวกเขาต้องการนำเสนอให้แพร่กระจายไปบนพื้นที่ Social Media เป็นการร่วมกันสร้างข่าวสารที่พวกเขาต้องการนำเสนอให้แก่สาธารณชน ทำให้คนที่ได้พบเห็นเกิดความวิตกว่าพวกเขามีแนวร่วมเป็นจำนวนมาก และแนวคิดจะกลายเป็นการนำเสนอโดยคนจำนวนมากที่ช่วยกันสร้าง (Co-create) ข้อมูลป้อนสู่สาธารณชน

                Community การที่พวกเขาร่วมมือกันสร้างเนื้อหา ร่วมมือกันเผยแพร่เนื้อหา ทำให้พื้นที่ Social Media ทั้ง Facebook, Twitter และ Instagram กลายเป็นพื้นที่สำหรับการรวมตัวกันของชุมชนเสมือน (Virtual Community) ที่พวกเขาเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แลกเปลี่ยนข่าวสารกัน กลายเป็นคนที่มีเป้าหมายเดียวกัน มีอุดมการณ์เดียวกัน ทำให้เห็นภาพของการมีแนวร่วมจำนวนมาก จนทำให้กลุ่มเป้าหมายที่มีคุณลักษณะเดียวกัน มีความต้องการเดียวกัน มีปัญหาเดียวกันที่เรียกว่า Persona ของกลุ่มเป้าหมายทางการสื่อสาร มีความชัดเจน ทำให้ผู้วางแผนการสื่อสารสามารถสร้างยุทธศาสตร์การสื่อสารที่ตอบสนองกลุ่มเป้าหมายได้อย่างโดนใจ

                Curation  เมื่อพวกเขาร่วมมือกันทำงาน ร่วมกันสร้างข้อมูลข่าวสาร รวมตัวกันเป็นชุมชนเสมือนบนพื้นที่ Social Media ก็จะทำให้เกิดกระบวนการเสริมสร้างแนวคิด (Idea Curation) ที่มีกลุ่มบุคคลหลายกลุ่มที่มีความรู้สึกร่วมอุดมการณ์ กระโดดเข้ามาอยู่ในกลุ่มเป็นลักษณะของ Band Wagon คือการทำตามกระแส เพื่อไม่ให้ตกกลุ่ม แต่ละคนจะมีความรู้สึกเป็นเจ้าของอุดมการณ์ (Sense of Ownership) ที่จะคอยปกป้องแนวคิดของอุดมการณ์ไม่ให้ใครมาทำลาย

                Card Stacking เป็นหนึ่งในยุทธวิธีของการโฆษณาชวนเชื่อที่ใช้วิธีเลือกที่จะพูดบางเรื่องที่ปลุกเร้าอารมณ์ของแนวร่วมให้เกิดพฤติกรรมตามที่ต้องการ และเลือกที่จะไม่พูดบางเรื่องที่จะทำให้แนวร่วมเกิดความไขว้เขว เพราะการโฆษณาชวนเชื่อไม่ได้ให้ความสำคัญกับความคิดวิเคราะห์ แต่ต้องการให้คนมีพฤติกรรมตามที่ต้องการโดยไม่วิเคราะห์ พวกเขาจึงสร้างวาทกรรมที่ต้องการจะทำให้คนเกลียดชังรัฐบาลทหารที่มาจากการทำรัฐประหาร เช่น รัฐประหาร การสืบทอดอำนาจ การเป็นเผด็จการ ความไม่เป็นธรรม ความไม่ยุติธรรม การลิดรอนเสรีภาพ แต่พวกเขาจะไม่พูดถึงสาเหตุของการทำรัฐประหารว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามครรลองของประชาธิปไตยนั้นทำผิดอะไรไว้บ้าง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกลียดชังทหาร ออกมาเป็นแนวร่วมของพวกเขา และลงคะแนนเสียงให้พวกเขา โดยไม่ต้องพินิจพิเคราะห์ข้อมูลที่จงใจเลือกที่จะพูดบางเรื่อง และเลือกที่จะไม่พูดบางเรื่อง และฝ่ายตรงกันข้ามของพวกเขาก็ไม่คิดที่จะพูดสิ่งที่พวกเขาจงใจจะไม่พูดถึง

                Collective Wisdom พวกเขาจงใจให้กลุ่มเป้าหมายมองว่าข้อมูลข่าวสารที่พวกเขาร่วมกันนำเสนอต่อสาธารณชนนั้นเป็นปัญญามวลชนที่ปรารถนาให้ชีวิตมีเสรีภาพ หลุดพ้นจากกรอบที่ทำให้พวกเขาสูญเสียอิสรภาพ ทำลายความคิดสร้างสรรค์อยู่ในตัวของพวกเขา ดังนั้นพวกเขาจะต้องร่วมมือกันนำเสนอภูมิปัญญามวลชนที่พวกเขาร่วมกันผลิตและร่วมกันเสพ พวกเขากลายเป็น “Prosumer” ของข่าวสาร กล่าวคือ เขาเป็นผู้ผลิต (Producers of Contents) ของข่าวสาร และเป็นผู้เสพข่าวสาร (Consumers of Contents) ในเวลาเดียวกัน

                Currency พวกเขามีงบประมาณมากพอที่จะดำเนินการ ทั้งการสร้างกำลังพลและการใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์กับการต่อสู้สงครามข่าวสาร online รวมทั้งการลงพื้นที่ต่างๆ เพื่อทำสงครามข่าวสาร on ground ทำให้พวกเขาสามารถแย่งช่องพื้นที่ข่าวได้มาก เพราะการลงพื้นที่แบบ on ground ยังทำให้เรื่องการลงพื้นที่ของพวกเขาเป็นข่าว on air, on print และ online ได้เป็นจำนวนมากอีกด้วย เขาใช้เงิน เขาทำสื่อของเขาเอง (Owned media) และเขาใช้เงินซื้อสื่อคนอื่น (Paid media) เพื่อให้มีคนเอาไปเผยแพร่โดยไม่ต้องจ่ายเงิน (Earned media) และทำให้เรื่องราวของเขาได้รับการแบ่งปัน online เป็น Shared media ครบถ้วนทุกช่องทาง

                นอกเหนือจากแนวคิดตัว C ทั้งหลายที่เป็นยุทธศาสตร์ในการทำสงครามข่าวของพวกเขาแล้ว เขายังมีสำนึก (Mindset) เป็นพื้นฐานในการทำสงครามของเขาอีกด้วย สำนึกที่พวกเขามีมากกว่าฝ่ายตรงกันข้ามอย่างชัดเจนคือ

                Competitive Spirit คือพวกเขามีจิตวิญญาณของการต่อสู้ เมื่อเขาเริ่มต้นทำสงครามแล้ว พวกเขาจะไม่ยอมแพ้ ไม่ยอมถอยง่ายๆ เขามีจิตวิญญาณของนักสู้ที่ไม่เกรงกลัวต่ออำนาจใดๆ

                Conquest พวกเขามีจิตใจใฝ่ชนะ เมื่อพวกเขาลงในสนามครั้งนี้ พวกเขามุ่งมั่นที่จะต้องเป็นผู้ชนะเท่านั้น พวกเขาไม่มีวันที่จะยอมแพ้ พวกเขาจะเพิ่มความเข้มข้นในการต่อสู้อย่างต่อเนื่อง

                Complacency เขามีความหยิ่งทะนงตนว่าพวกเขาเป็นคนเก่ง พวกเขามองตนเองว่าเป็นคนที่จะมาทำหน้าที่เป็นอัศวินม้าขาวที่จะมาช่วยปลดปล่อยประชาชนที่พวกเขาเชื่อว่าเป็นคนที่ตกอยู่ภายใต้กรอบที่กำหนดโดยเผด็จการ และพวกเขารู้ดีว่าคนพวกนี้ต้องการที่จะหลุดออกจากกรอบ ดังนั้นด้วยการที่เขามองว่าพวกเขาเป็นคนเก่ง เขาจึงต้องทำหน้าที่ในการปลดปล่อยประชาชนให้หลุดพ้นจากการกดขี่ข่มเหงของผู้มีอำนาจที่เขาเรียกว่าเผด็จการ

                Confidence พวกเขาทำสงครามครั้งนี้ด้วยความมั่นใจ ไม่ว่าพวกเขาจะต้องเผชิญกับปัญหาหรืออุปสรรคใดๆ พวกเขาไม่เคยคิดที่จะถอย เพราะเขามั่นใจว่าเขามีแนวร่วมมากพอที่จะทำให้เขาชนะได้ ความมั่นใจของพวกเขาทำให้เขาพูดจาด้วยลีลาของคนที่มีความมั่นใจในสิ่งที่ทำ ไม่ว่าเรื่องนั้นจะถูกหรือผิด ทำให้ลีลาการพูดของเขามีพลังดึงดูดกลุ่มเป้าหมายที่เป็นแนวร่วมของเขาได้.

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"