ล้วงลึกรอยร้าว 'พปชร.' 'เด็กนาย' VS 'เสือ สิงห์ กระทิง'


เพิ่มเพื่อน    

   จบเพียงชั่วข้ามคืน สำหรับ “ศึกใน” อีกระลอก หลัง “กลุ่มสามมิตร” ที่นำโดย "สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ" "สมศักดิ์ เทพสุทิน" ส.ส.บัญชีรายชื่อ และ "อนุชา นาคาศัย" ส.ส.ชัยนาท พรรคพลังประชารัฐ ออกมาแถลงการณ์ 5 ข้อ ถึง “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้มีอำนาจ

                สาระสำคัญของ “กลุ่มสามมิตร” คือ การเรียกร้องเก้าอี้รัฐมนตรีให้กับ "อนุชา" หรืออย่างน้อยที่สุดต้องเอาตำแหน่ง รมว.พลังงาน คืนกลับมาให้ สุริยะ หลังมีข่าวว่า มีการสลับเก้าอี้ดังกล่าวไปให้นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ

                เป็นการแสดงปฏิกิริยา “รุนแรง” เพื่อต้องการให้ผู้มีอำนาจได้เห็นข้อมูลอีกด้าน หลัง “กลุ่มสามมิตร” รู้สึกว่าตัวเองเป็นฝ่ายถูกกระทำ และไม่ได้รับความเอาใจใส่พอสมควร

                “กลุ่มสามมิตร” รู้ว่า เก้าอี้ที่ถูกสลับของ "สุริยะ" ครั้งนี้มีเบื้องหลัง โดยเฉพาะ "สนธิรัตน์" ที่ระยะหลังทำตัวเป็น “ศิลปินเดี่ยว” ผิดแปลกจากอีก 3 อดีตรัฐมนตรี เกี่ยวข้องเต็มๆ

                ขณะเดียวกันยังทราบว่า มีขบวนการเป่าหูผู้มีอำนาจ โดยพุ่งเป้าไปที่ “เสธ.ม.” คนดัง และบางกลุ่มก้อนในพรรคพลังประชารัฐ ที่ไม่ลงรอยกับกลุ่มสามมิตร

                การกระตุกแรง จึงมีนัยที่ต้องการให้ผู้มีอำนาจรับฟังข้อมูลฝั่งตนเองบ้าง หรือถ้าเป็นไปได้คือ การเปิดโต๊ะเจรจาให้ทางกลุ่มสามมิตรได้มีโอกาสพูดโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านคนกลาง

                เพราะที่ผ่านมา “บิ๊กตู่” ไม่ได้ลงมาคุยกับ ส.ส.โดยตรง แต่ใช้แมสเซนเจอร์ในการนำสาร หรือให้พี่ใหญ่ที่มีอำนาจอีกคนเป็นคนเจรจา

                เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว “กลุ่มสามมิตร” จึงลดโทนความร้อนแรงลง ดังปรากฏการณ์ร่วมแถลงข่าวกับนายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ

                อย่างน้อยก็ทำให้ “บิ๊กตู่” ได้รับข้อมูลอีกด้าน แม้น้ำหนักจะสู้อีกฝั่งในพรรคไม่ได้ เพราะในสายตาของนายกฯ ยังคงหวาดระแวงอดีตนักการเมืองจากพรรคไทยรักไทย และมักจะฟังจากกลุ่มที่มาจากพรรคประชาธิปัตย์ และ กปปส.มากกว่า

                ขณะที่การจุดประเด็นขับไล่ "สนธิรัตน์" ที่ "สิระ เจนจาคะ" ส.ส.กทม. ในฐานะสมาชิกกลุ่มสามมิตรเป็นผู้แถลง เป็นเพียงการผสมโรงระหว่างเรื่องการทำหน้าที่แม่บ้านพรรค กับตีท้ายครัวฉก รมว.พลังงานไปจาก "สุริยะ"

                31 ส.ส.ของพรรคพลังประชารัฐ ที่ร่วมลงชื่อขับไล่นายสนธิรัตน์ในตอนแรก หากสแกนดูจะพบว่า ไม่ได้มีเพียงแต่กลุ่มสามมิตรเท่านั้น แต่มาจากหลายกลุ่มภายในพรรค        

                สำหรับ “กลุ่มสามมิตร” ไม่พอใจที่ "สนธิรัตน์" แอบเข้าหลังบ้านในตำแหน่ง รมว.พลังงาน ของ "สุริยะ" แต่กับบางส่วนที่มาจากกลุ่มอื่นไม่พอใจ "สนธิรัตน์" เรื่องการทำหน้าที่ และกับอีกบางส่วนมานั่งปรากฏตัวเพื่อให้กำลังใจและสนับสนุนนายอนุชา ที่สนิทสนมและเห็นการทำงานกันมา

                บางคนมองว่า หากเทียบกันปอนด์ต่อปอนด์ ระหว่าง "สนธิรัตน์" กับ "อนุชา" แล้ว "อนุชา" ยังเหมาะสมได้ตำแหน่งรัฐมนตรีมากกว่า "สนธิรัตน์"

                มีการยกตัวอย่างตั้งแต่การทำงานให้กับพรรค ที่ "อนุชา" ลงแรงมาตั้งแต่แรกในฐานะตัวแทนกลุ่มสามมิตร แต่ทำตัวเสมือนเป็น “ภารโรง” อยู่ข้างหลัง

                อย่างน้อยหากไม่ได้ในโควตากลุ่มสามมิตร แต่ควรได้ในโควตาพรรค เพราะเป็นกรรมการบริหารพรรค ที่ ส.ส.ก๊วนอื่นต่างยืนยันว่า เป็นคนทำงานจริงๆ

                ต่างจาก "สนธิรัตน์" ที่แม้จะเป็นเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ แต่ในทางปฏิบัติไม่ได้เป็นผู้มีอำนาจ เป็นเพียงมืองานที่ถูกส่งเข้ามาเท่านั้น หนำซ้ำในระยะหลังยังพยายามสร้าง “ทางเดิน” ให้ตัวเองมากกว่าส่วนรวม

                เป็นการอัดอั้นของ ส.ส.ส่วนใหญ่ภายในพรรค ถึงขนาดเปรียบเปรยว่า ลำพังผู้บริหารพรรคคนอื่นๆ ไม่รู้จัก ส.ส.ทุกคนไม่เท่าไร แต่ “แม่บ้านพรรค” จำเป็นต้องรู้จักในฐานะทำหน้าที่ประสานงาน

                หลายคนพยายามติดต่อ แต่ไม่สามารถเข้าถึง "สนธิรัตน์" ได้ ขณะที่เรื่องปม “มาแต่ตัว” แต่กลับได้ตำแหน่งรัฐมนตรีถ้วนหน้าเป็นต้นทุนที่อยู่ในใจอยู่แล้ว เพราะคนที่มีพื้นที่ของตัวเอง มี ส.ส.อยู่ในพรรค อย่าง “เสี่ยเฮ้ง” สุชาติ ชมกลิ่น ส.ส.ชลบุรี และ "อนุชา" กลับหลุด

                นี่จึงเป็น “โรคแทรกซ้อน” ที่กลุ่มสามมิตรนำมาต่อยอดร่วมกับเรื่องที่ตัวเองต่อสู้

                หลายกลุ่มในพรรคตั้งวงหารือกันเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ว่า พวกเขารู้ว่านี่เป็น “เกม” ของกลุ่มสามมิตร ในการต่อสู้เรื่องตำแหน่ง และประเด็นขับไล่นายสนธิรัตน์เป็นเพียง 1 ในเกมเท่านั้น

                แต่หากจะขับไล่ "สนธิรัตน์" จริงๆ หลายมุ้งในพรรคพร้อมจะร่วม “กระแทก” ด้วย เพราะอึดอัดกับการทำงานของผู้บริหารพรรคในปัจจุบัน

                ซึ่งแม้ “ญัตติ” นี้จะไม่ได้เข้าสู่ที่ประชุม ส.ส.ของพรรค เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคมที่ผ่านมา แต่หลายคนได้หยิบเอาเรื่องนี้ขึ้นมาระบาย หรือต่อยอด

                และจะนำไปสู่การปฏิบัติจริง หลังจากรัฐบาลที่พรรคพลังประชารัฐจะมีการปรับผู้บริหารใหม่

                สถานการณ์ภายในพรรคพลังประชารัฐตอนนี้ เหมือนอยู่ในสภาวะ “ภูมิต้านทานต่ำ” มีโรคแทรกซ้อนเข้ามาได้ตลอดเวลา

                แม้จะอยู่กันคนละกลุ่ม เดินคนละแบบ แต่ถ้าได้รับผลกระทบร่วม หรือคิดตรงกัน ก็จะมีลักษณะ “ผสมโรง” เกิดขึ้นเหมือนครั้งนี้

                โดยมีปมเรื่องการดูแลที่ไม่ทั่วถึง หรือไม่ยุติธรรมเป็น “ต้นทุน” ที่พร้อมจะนำไปสู่ประเด็นใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา

                สิ่งที่ปรากฏขึ้นมาในช่วงหลัง เป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งของพรรคพลังประชารัฐเท่านั้น. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"