เปิดโปรแกรม co-creation ปั้นนักประเมินแหล่งท่องเที่ยว


เพิ่มเพื่อน    

ภายใต้ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง อพท. (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2562  ประกาศใช้เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2562 มีผลให้พื้นที่การทำงานของ อพท. จะครอบคลุมเขตพัฒนาการท่องเที่ยวทั้ง 9 เขต ซึ่งเป็นไปตามแผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยวของคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ  อพท. จึงได้ร่วมมือกับสภาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก หรือ GSTC หน่วยงานที่มีองค์ความรู้ด้านการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนผ่านเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนครอบคลุม 4 ด้าน รวม 41 ข้อ 105 ตัวชี้วัด จัดฝึกอบรมหลักสูตร “นักประเมินความยั่งยืนของแหล่งท่องเที่ยวตามแนวทางของ GSTC” ให้แก่บุคลากรจากสถาบันการศึกษาในเขตพัฒนาการท่องเที่ยว  โดยสถาบันการศึกษาได้จัดส่งอาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ จากภาควิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวมาร่วมอบรม

นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. กล่าวว่า ด้วยจำนวนบุคลากรของ อพท. ที่มีจำกัด ขณะที่อำนาจหน้าที่ พื้นที่การทำงานของ อพท. เพิ่มขึ้น วิธีการสร้างคนเข้ามาช่วยดำเนินงานให้ถึงเป้าหมายจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด โดย อพท. ร่วมกับสถาบันการศึกษาในแต่ละเขตพัฒนาการท่องเที่ยว เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากภาควิชาการของสถาบันการศึกษา ซึ่งถือเป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือเข้ามาอบรมหลักสูตรดังกล่าว และเมื่อผ่านการอบรมแล้วก็จะได้เป็นผู้เชี่ยวชาญในการประเมินความสำเร็จของแหล่งท่องเที่ยว และมีมาตรฐาน GSTC รองรับ อันจะทำให้ อพท. สามารถวางใจได้ว่า การพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ต่างๆ เมื่อเข้าสู่กระบวนการตรวจประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิกลุ่มนี้ จะทำให้แหล่งท่องเที่ยวของไทยผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่รับรองโดยองค์กรระดับโลกอย่าง GSTC ซึ่งถือเป็นกระบวนการทำงานที่ทำให้การควบคุมมาตรฐานเป็นไปได้อย่างทั่วถึง ภายใต้บุคลากรที่มีจำกัด

“เราเรียกโปรแกรมการทำงานรูปแบบนี้ว่ากลไกการมีส่วนร่วมแบบ co-creation  หรือ Manual of DASTA co-creation for sustainable destination planning และมีแผนที่จะรวบรวมจัดทำเป็นเอกสารคู่มือในลำดับต่อไป”

 

ประโยชน์ของคู่มือวางแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ด้วยกลไกการมีส่วนร่วมแบบ co-creation  หรือ Manual of DASTA co-creation for sustainable destination planning คือ

1. สามารถใช้ได้ในบริบทของแหล่งท่องเที่ยวที่มีความต่างกัน

2. แสดงถึงผลสัมฤทธิ์ (output –outcome) ในแต่ละประเด็น (4 ด้าน 41 ข้อ 105 ตัวชี้วัด) อย่างชัดเจน

3. เหมาะสมกับระบบติดตามและประเมินผลความสำเร็จของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของ GSTC (GSTC Destination Assessment)

4. ดำเนินการในแหล่งท่องเที่ยวระดับที่ใหญ่กว่าหมู่บ้าน (หมู่บ้านใช้ CBT Thailand) เช่น เป็นเกาะ หรือระดับตำบลขึ้นไป

5. ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมแบบโคครีเอชั่น (Co –Creation) ร่วมกับหน่วยงานผู้มีส่วนได้เสีย หรือหน่วยงานที่มีอำนาจในด้านต่างๆ

 

อย่างไรก็ตามการประเมินแหล่งท่องเที่ยวตามเกณฑ์ GSTC จะได้ผลลัพท์ในรูปองค์ความรู้ที่ก่อให้เกิดงานวิจัยและแนวทางการพัฒนาที่เป็นระบบมากขึ้นซึ่งจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยทั้งระบบในระยะยาว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"