"หนึ่งล้านหลุมขนมครก"เป้าหมายใหม่ ตามรอยศาสตร์พระราชา  


เพิ่มเพื่อน    

 
โครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน”หรือการแก้ปัญหาดิน น้ำ ป่า คน และหยุดท่วม-หยุดแล้งยืน โดยการนำศาสตร์พระราชาที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย ไปลงมือปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และโฟกัสไปที่แม่น้ำป่าสัก   ได้เริ่มต้นเข้าสู่การดำเนินโครงการระยะที่ 3 (ปีที่ 7-9   )โดยมีบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ร่วมกับ สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนโครงการ 
ในการก้าวเข้าสู่ปีที่ 7  ยังคงวางแผนปฎิบัติการภายใต้แนวคิด  “แตกตัวทั่วไทย สานพลังสามัคคี” หรือการรวมพลังสร้างความเปลี่ยนแปลง ตามศาสตร์พระราชา นำทีมลงพื้นที่ อ. ภูหลวง จ. เลย ร่วมกันฟื้นฟูป่าต้นน้ำแถบเทือกเขาเพชรบูรณ์แหล่งกำเนิดแม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำสำคัญหลายสายที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนไทยในภาคกลาง และชาวอีสานตอนบนตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน

อ.ยักษ์ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร

ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรืออาจารย์ยักษ์ ผู้ริเริ่มโครงการ  กล่าว ผลสรุป 6ปีที่ผ่านมา   ถือว่าโครงการมาไกลเกินเป้ามาก  จากจุดเริ่มแรกมองเห็นว่า ความเข้าใจในศาสตร์พระราชา ไม่ลึก ไม่กว้างพอ เป็นอุปสรรค หรือเป็นคอขวด ที่จะขยายความรู้ของในหลวง ร.9 ออกไป  ซึ่งผ่านไป 6ปี  ก็คาดว่ามีคนเข้าใจมากขึ้น  และความเข้าใจนี้ ได้ถูกำหนดในแผนยุทธศาสตร์เรื่องน้ำของประเทศแล้ว  แต่แผนก็ยังเป็นแค่แพลนนิ่ง ถ้าจะให้นำไปสู่การนำไปปฎิบัติได้ต้องออกแรงกันมากขึ้น   
ในการเข้าสู่ระยะที่  3  จึงต้องเร่งสร้างคน ที่เป็นวิทยากรอบรม  สามารถออกแบบ คำนวณ  สามารถเป็นที่พึ่ง ของคนที่สนใจต้องการทำหลุมขนมครก ตามสูตร โคก หนอง นา ได้  ใช้วิธีการเอามื้อสามัคคี หรือการลงแขกของชาวบ้านมาใช้  เพราะขณะนี้ ศูนยฝึกที่กระจายตามพื้นที่ต่างๆ ยังขาดคนที่จะมาเป็นวิทยากร ซึ่งถ้าหากเร่งขยาย และคาดว่า ปฎิบัติการใน 3 ปีหลัง น่าจะทำได้ครบ 70 จังหวัดได้  ครอบคลุมเชื่อมโยงทั้ง 25ลุ่มน้ำ ซึ่งเป็นการขยายตัวที่เร็วกว่า 2ระยะที่ผ่านมา
   
นอกจากนี้ การเร่งขยายผลระยะที่ 3  อ.ยักษ์ กล่าวว่า ยังเพิ่มแรงกระตุ้นด้วยการทำการศึกษาวิจัย ใส่เข้าไปในโครงการ  ว่าผลลัพธ์การทำตามศาสตร์พระราชา ที่ได้เป็นอย่างไร เพื่อเป็นเครื่องช่วยยืนยันความสำเร็จ และจะเป็นแรงผลักขับเคลื่อนต่อไป 


"เราทำวิจัยผลสำเร็จของโครงการ เช่น ที่ศรีไศล มีอยู่รายหนึ่ง หลังทำตามศาสตร์พระราชา รายได้เขาเพิ่มขึ้นจากแต่ก่อนอย่างเห็นได้ชัด ผลวิจัยแบบนี้ เราจะต้องนำไปแสดงให้คนที่ยังไม่ได้ทำได้เห็น"

อาทิตย์ กริชพิพรรธ 


นายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวว่า  เชฟรอนภูมิใจที่มีส่วนร่วมขับเคลื่อนและสนับสนุนโครงการมาอย่างต่อเนื่องจนประสบความสำเร็จเช่นนี้  ด้วยการเป็นแกนนำภาคเอกชนทั้งพนักงานของเราเองและพันธมิตรในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ และสืบสานพระราชปณิธานของ ในหลวงร. 9  การดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างชัดเจน และพิสูจน์ได้ว่าการประยุกต์ ‘ศาสตร์พระราชา’ ทั้งหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ มาใช้ร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถพลิกฟื้นพื้นที่แห้งแล้งให้กลับเขียวขจี ทำให้เกษตรกรให้มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นจริง ปลดหนี้ได้ ที่สำคัญเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม  เชฟรอนจึงยังยืดหยัดที่สนับสนุนและมีความหวังที่จะเห็นการขยายตัว แตกตัวไปให้ครบทั้ง 25 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ
ผู้จัดการใหญ่ ฯกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ส่วนตัวยังมองว่า เป้าหมาย การทำหลุมขนมครก  เพื่อแก้ปัญหาเรื่องน้ำ 1แสนหลุม อาจจะไม่พอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ แต่ควรวางเป้าไว้ที่ 1ล้านหลุม  นับว่าเป็นการตั้งเป้าที่สูง แต่มองเห็นว่าถ้าเราทำscale เล็ก แสนหลุม จะไม่มีแรงขับเคลื่อนพอ ที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้  ดังนั้น เป้าหมายเราจึงต้องเพิ่มไปที่ ล้านหลุม นอกจากนี้ ยังคิดว่าเป้าหมายล้านหลุม ขนมครก มีความเป็นไปได้ เพราะประเทศไทย ไม่ได้เป็นประเทศที่ขาดทรัพยากร เรามีน้ำจืด มีดินเพียงพอ 


"ถ้าทำได้ ตามนี้ ความปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้น เราไม่ควรเป็นประเทศยากจน อดอยาก หรือต้องพึ่งพิงคนอื่น โดยเฉพาะอาหาร เรามีทรัพยากรเหลือเฟือ แต่ขาดแค่การจัดการทีดีเท่านั้น ผมอยากให้เกษตรอินทรีย์ หรือ แนวคิดเรื่องโคก หนอง นา ไม่ใช่แค่ทางเลือกอีกต่อไป แต่เป็นทางหลักทางหนึ่งของคนไทย ที่สามารถทำได้  เพราะทุกวันนี้เกษตรเชิงเดี่ยวไม่สร้างกำไร ขนาดเกษตรกร ไม่คิดค่าแรงตัวเอง ก็ยังไม่มีกำไร แต่ถ้าคิดบวกเข้าไปก็คือขาดทุน  "

 


เขายังย้ำอีกว่าเรื่อง หลุมขนมครกเก็บน้ำ 1ล้านหลุม ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน พร้อมกับอธิบายวิธีคิดว่าถ้าครึ่งหนึ่งของประชากร หรือราว 30 ล้านคน 1ใน 5 ของคนกลุ่มนี้ ก็ประมาณ 6ล้านคน ทำตามศาสตร์พระราชา มีการทำโคก หนอง นา  การสร้างหลุมขนมครก 1 ล้านหลุมก็มีความเป็นไปได้  ซึ่งนำไปสู่การสร้างแหล่งอาหารปลอดภัย ให้คนในประเทศเราเอง และต่างชาติที่เข้ามาเที่ยว เป็นมูลค่าที่ต่อยอดจากการท่องเที่ยว แนวคิดนี้ ต่างจากเรื่องเราให้บีโอไอ หรือส่งเสริมการลงทุนต่างชาติ ที่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี และคนไทยเป็นเพียงลูกจ้างต่างชาติที่นำเงินมาลงทุนเท่านั้น


"การขับเคลื่อนอีกประการ คือ เราต้องมีตัวอย่างเยอะๆ คนที่ทำแล้วสำเร็จ อยู่ใกล้ๆ กัน เพื่อนบ้านเห็นแล้วก็อยากทำตาม  ก็จะเป็นแรงจูงใจอยากเปลี่ยนแปลง"อาทิตย์กล่าว

ผศ. พิเชฐ โสวิทยสกุล

ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล  -อ.โก้ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์บูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการแก้ไขปัญหาประเทศ สจล. หนึ่งในภาคีเครือข่ายภาควิชาการ กล่าวถึง “โครงการวิจัย ‘การออกแบบเชิงภูมิสังคมไทย การติดตามและประเมินผลเพื่อบริหารจัดการน้ำและชุมชนอย่างมีส่วนร่วม’ ของศูนย์บูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการแก้ไขปัญหาประเทศ สจล. (ITOKmitl) ว่า ได้มีการลงพื้นที่เพื่อจัดเก็บข้อมูล รวมทั้งออกแบบและปรับปรุงการพัฒนาพื้นที่ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ให้เป็นระบบและได้มาตรฐานทางวิชาการ สามารถนำฐานข้อมูลมาประมวลผลในมิติต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม โดยมีพื้นที่วิจัยอยู่ใน 3 จังหวัด คือ อ. นาเรียง จ.อุดรธานี  อ.แม่ระมาด จ.ตาก และ อ.แม่ฮ่าง จ.ลำปาง จำนวน 30 ราย รวม 300 ไร่ แต่เนื่องจากมีผู้ให้ความสนใจจำนวนมาก จึงขยายพื้นที่วิจัยเป็น 40 ราย 400 ไร่  ทั้งนี้ ศูนย์ฯ ได้ส่งข้อมูลเรื่องดินบางส่วนจาก 200 กว่าตัวอย่างใน 3 พื้นที่ให้แก่กรมพัฒนาที่ดินซึ่งสามารถวัดได้ละเอียดกว่า และได้รับผลตรวจกลับมาแล้วเมื่อเดือนมีนาคม 2562 ขั้นตอนต่อไป คือ การนำข้อมูลทั้งหมดมาสรุปเป็นผลวิจัย ซึ่งคงต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่ง 


นอกจากผลวิจัยที่เป็นตัวเลขสถิติ เราสามารถวัดความสำเร็จของโครงการด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่องคน เพราะหัวใจของโครงการ คือ การสร้างคน การต่อยอดคนมีใจ เช่น ที่ อ.นาเรียง จ.อุดรธานี เครือข่ายเปิดศูนย์ฝึกและอบรมคนไปแล้ว 3 รุ่นๆ ละ 100 คนรวม 300 คน ที่ห้วยกระทิง แม่ระมาด จ.ตาก เครือข่ายเปิดศูนย์ฝึกและอบรมไปแล้ว 2 รุ่น ส่วนที่แม่ฮ่าง จ.ลำปาง แม้จะไม่ได้มีการเปิดศูนย์ฝึก แต่มีความสำเร็จในรายบุคคล  นอกจากนี้เครือข่ายยังตระเวนสอนการออกแบบพื้นที่ในหลายจังหวัด เช่น จ.น่าน จ.พะเยา จ.แพร่ จ.สุโขทัย  แม้ว่าเราจะใช้มาตรฐานเดียวกันในการวัดความสำเร็จของทั้ง 3 พื้นที่ไม่ได้ เพราะแต่ละพื้นที่มีบริบททางสังคมต่างกัน  แต่ถือได้ว่าเราประสบความสำเร็จอย่างน่าพอใจ


ในแง่ของคุณภาพดิน อ.โก้ เล่าว่า 2ปีได้เก็บตัวอย่างการวิจัย ทั้งดิน น้ำ ใช้เครื่องมือตรวจวัดดิน เจอเรื่องอัศจรรย์ใจ เพราะปรากฎว่าไม่เจอค่า NPK หรือสารอาหารสำคัญของพืชในดิน แต่เมื่อดูจากต้นไม้ที่ปลูกกลับพบว่าโตเอาๆ แต่ถึงอย่างนั้น ก็จะต้องนำดินมาตรวจให้แน่ชัดอีกครั้ง เพื่อให้ได้คำตอบว่าการทำเกษตรแบบใช้สารเคมี ไม่ใช่คำตอบของการทำเกษตร 


ประเด็นผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ผศ.พิเชษฐ์ กล่าวว่า งานวิจัย พื้นที่จุดหนึ่ง 10ไร่ จะมีผลตอบแทน 8.4หมื่นบาท เราก็เลยคำนวณว่า ถ้าทำ1ล้านจุด ก็จะมีผลตอบแทน ประมาณ 8หมื่นล้าน ซึ่งเป็นการคิดจากปีแรก แต่ปีที่2รายได้จะขยายขึ้นเรื่อยๆ แต่บางคน ที่ไปเก็บข้อมูลพบว่ามีรายได้ 1.8แสนบาท/ปี จากเมื่อก่อนที่ปลูกข้าวโพด 10 ไร่ได้แค่ 4หมื่น/ปี 


"ลุงกาลี แกมีพื้่นที่ 57ไร่ ทำข้าวโพดอย่างเดียวได้ 4หมื่น แต่พอมาทำเกษตรทฤษฎีใหม่  10 ไร่แกก็ได้ 8.4 หมื่นแล้ว ส่วนอีก 47ไร่ อาจจะได้ป่าเพิ่มขึ้น เพราะเขาไม่ต้องทำเยอะ ทำตามกำลังแค่ 10ไร่  เหนื่อยน้อยลง แต่รายได้เพิ่มขึ้น   ถ้าทำเราแบบนี้ 1ล้านจุด ใช้เงินลงทุนแค่ 1.16แสนล้าน   10ปีก็คืนทุนแล้ว ความสูญเสียน้ำท่วมปี54 มูลค่า 1.44 ล้านล้าน จะไม่เกิดขึ้น"


อ.โก้ บอกอีกว่าในการวิจัย ถ้าสามารถเก็บตัวเลขได้7-8พันแปลง ก็จะรู้ตัวเลขเก็บน้ำได้เท่าไหร่ ซึ่งตัวเลขเหล่านี้ เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ ยืนยันแนวคิดเกษตรพอเพียง ที่ใครก็เถียงไมได้  แต่การทำวิจัย ต้องใช้่เวลาและกำลังคน ต้องเข้าไปเก็บข้อมูล บางหมู่บ้านเช่นที่แม่แจ่ม เชียงใหม่ กว่าจะเก็ยได้ทั้งหมู่บ้าน ต้องใช้เวลาเดินไม่ต่ำกว่า 2วัน นอกจากนี้ ยังมีคนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธกส.ต้องการให้สอนเรื่องการคิดคำนวณ ออกแบบพื้นที่ เพื่อนำไปสอนต่อชาวบ้าน นับเป็นภาระการขับเคลื่อนที่ยุ่งเหยิงพอสมควร

ไตรภพ โคตรวงษา ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ

นายไตรภพ โคตรวงษา ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และตัวแทนสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง เครือข่ายภาควิชาการกล่าวว่า ระยะที่ 3 ยังคงใช้กลยุทธ์การ ‘เอามื้อสามัคคี’ หรือ การลงแขกตามประเพณีดั้งเดิมของคนไทยมาเป็นกลวิธีในการขับเคลื่อน และขยายผลให้ครอบคลุม 25 ลุ่มน้ำทั่วประเทศไทยตามเป้าหมายที่โครงการตั้งไว้  นอกจากขยายฐานในวงกว้างพร้อมกับสร้างความเข้มแข็งในเชิงลึก  ฟื้นฟูลุ่มน้ำไปพร้อมๆกับ การเร่งสร้างผู้นำและเสริมศักยภาพให้แก่คนเหล่านี้เพื่อให้เป็นแม่ทัพในลุ่มน้ำต่างๆ ทั่วประเทศ  

ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย

 


กิจกรรมแรกเอามื้อสามัคคีปีที่ 7 ที่เริ่มกิจกรรมที่จ.เลย ในวันที่ 1 สิงหาคม 2562 เพื่อฟื้นฟูป่าต้นน้ำป่าสักที่จะจัดขึ้นที่ อ.ภูหลวง  นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการ จ.เลย กล่าวว่า เลย ตั้งอยู่ทางตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา จึงเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญ ได้แก่ ต้นน้ำเลย ลำน้ำพุง ลำน้ำพอง และแม่น้ำเหือง มีเนื้อที่ทั้งหมด 6,562,289 ไร่ มีสภาพป่าคงเหลือ 2,119,436 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 32.30 ของพื้นที่ แนวโน้มในการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของพื้นที่ป่ามีลักษณะคงที่ แสดงว่าไม่มีการบุกรุกพื้นที่แปลงใหญ่เพิ่มขึ้น ดังนั้น ถ้าส่งเสริมให้ประชาชนปลูกต้นไม้ในพื้นที่ของตนเองในลักษณะปลูกสวนป่าเพื่อเศรษฐกิจ จะทำให้ จ.เลยมีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นได้ และยังเป็นการส่งเสริมอาชีพให้ราษฎรได้อีกทางหนึ่ง”


สำหรับกิจกรรมครั้งนี้ จังหวัดได้มอบหมายสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเลย ร่วมกับ อ.ภูหลวง  อบต.เลยวังไสย์ หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ลย. 9 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง และเจ้าหน้าที่มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ร่วมกันตรวจสอบเพื่อจัดกิจกรรมเอามื้อสามัคคีในแปลงที่ดินของนายแสวง ดาปะ บ้านศรีเจริญ ต.เลยวังไสย์ อ.ภูหลวง จ.เลย ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติอยู่ระหว่างป่าภูหลวง และป่าภูหอ ที่กรมป่าไม้ได้มอบให้ สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ดูแล ส่วนกิจกรรมนำสื่อมวลชนชมต้นน้ำป่าสัก จะดำเนินกิจกรรมบริเวณจุดชมวิวสักหง่า บ้านหินสอ ต.ปลาบ่า อ.ภูเรือ จ.เลย 

บรรยากาศการแถลงทิศทางเข้าสู่ระยะที่ 3 เริ่มปีที่ 7

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"