ดูเหมือนว่าจะเกิดเสียงแตกในแวดวงธุรกิจ เกี่ยวกับเรื่องค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องในเวลานี้ โดยล่าสุดศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นในเวลานี้แตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 6 ปี ครั้งใหม่ที่ 30.62 บาทต่อดอลลาร์แล้ว
แน่นอนการแข็งค่าขึ้นแบบนี้ ทำให้ภาคอุตสาหกรรม และการเกษตรที่ต้องเพิ่งการส่งออก ได้รับความเดือดร้อนทันที เพราะจะต้องมีการขยับราคาขึ้น เนื่องจากบาทแข็ง ทำให้กำไรนั้นลดลง และยังส่งผลต่อการแข่งขันกับคู่แข่ง ที่มีความเป็นไปได้ว่า ราคาสินค้าของไทยจะแพงกว่าคู่แข่งในตลาดเดียวกัน
ขณะเดียวกัน สิ่งที่น่าห่วงคือเกษตรกรที่ผลิตพืชผล เพื่อส่งออก ที่จะได้เงินลดลง ซึ่งก็ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพตามไปด้วย
ประเด็นค่าเงินบาท กำลังจะเป็นหัวข้อที่ในแวดวงธุรกิจจะต้องมีการพูดคุยกับทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่าควรจะต้องไม่ปล่อยให้ค่าเงินแข็งไปมากกว่านี้
แน่นอนนักธุรกิจที่คร่ำหวอดในวงการมาไม่ต่ำกว่า 40-50 ปี อย่าง นายบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ ก็ระบุว่าในเวลานี้เศรษฐกิจกำลังเจอปัญหาความยากลำบาก โดยเฉพาะกำลังซื้อหดตัว ซึ่งส่วนหนึ่งของปัญหากำลังซื้อชะลอตัวเป็นผลมาจากค่าเงินบาทที่แข็งค่ามาที่ระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และส่งผลต่อสินค้าที่ผลิตในประเทศทำให้มีต้นทุนสูงและสามารถส่งออกได้น้อยลง โดยเฉพาะภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรที่ใช้วัตถุดิบและแรงงานในไทยแบบต้นน้ำจนถึงปลายน้ำแบบ 100%
"ตอนนี้คนระดับล่างและเกษตรกร เดือดร้อนมากจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น จากเดินเคยอยู่ที่ 34 บาท/ดอลลาร์ ตอนนี้มาอยู่ที่ 30 บาท/ดอลลาร์ ลองคิดดูขายของเท่าเดิม แต่เงินหายไปแล้ว 4 บาท หรือคิดเป็น 10% ที่หายไป ซึ่งมองว่าเรื่องนี้ ภาครัฐ โดยเฉพาะ ธปท.จะต้องจัดการดูแลค่าเงินด้วย หากปล่อยทิ้งไว้จะยิ่งทำให้รากหญ้าอ่อนแอขึ้น ซึ่งมองว่าอัตราที่เหมาะสมต่อการส่งออกคือ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ"
แต่ในขณะเดียวกัน ในอีกด้านที่เป็นธุรกิจในการลงทุน อย่างนางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) ก็ระบุว่า ปริมาณเงินไหลเข้าในตลาดบอนด์ตั้งแต่ต้นเดือน มิ.ย.2562 เงินทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดบอนด์รวมแล้วกว่า 4-5 หมื่นล้านบาท เมื่อรวมกับเดือน พ.ค.ที่ผ่านมาก็เพิ่มขึ้นเกือบ 6 หมื่นล้านบาท ยังถือว่าไม่น่าห่วง และเชื่อว่า ธปท.ยังไม่จำเป็นต้องออกมาตรการควบคุมเงินไหลเข้าในเวลานี้
"เงินที่ไหลเข้าในบอนด์ระยะยาว ซึ่งคาดว่าการที่แบงก์ชาติระบุออกมาน่าจะพูดในเรื่องของหลักการ เพราะหากมีความจำเป็นแบงก์ชาติก็จะมีมาตรการกำกับดูแล อย่างไรก็ตาม มองว่าตอนนี้ยังไม่มีความจำเป็น" นางสาวอริยากล่าว
ตอนนี้ทางด้านนักวิชาการก็ประเมินว่าแนวโน้มค่าเงินบาทปลายปียังมีทิศทางแข็งค่าในระยะต่อไป เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟดมีแผนที่จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง 2 ครั้ง หรือประมาณ 0.5% ขณะที่นโยบายดอกเบี้ยของไทยจากการประชุมครั้งล่าสุดของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) นั้น คาดว่าจะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 1.75% ไปจนถึงสิ้นปี ดังนั้นมีความเป็นไปได้ว่าค่าเงินบาทแข็งค่าในระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ซึ่งผู้ประกอบการส่งออกต้องระวัง ควรป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน 70-80% ของยอดส่งออก หรือใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการค้าขาย เพราะจะได้รับผลกระทบน้อยกว่าการผูกรายได้ไว้กับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
เบื้องต้น ผู้ประกอบการอาจจะต้องพยายามดูแลตัวเองไปก่อน โดยตัวแทนจาก ธปท. นางสาวพรเพ็ญ สดศรีชัย ผู้อำนวยการสำนักวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจ ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ก็ระบุว่า ภาวะที่ตลาดการเงินโลกที่ยังมีความไม่แน่นอน ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าจะมีผลกระทบต่อค่าเงินบาทได้ ภาคเอกชนที่ค้าขายระหว่างประเทศต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยง ซึ่ง ธปท.พยายามที่จะเพิ่มเครื่องไม้เครื่องมือเพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีการบริการจัดการความเสี่ยงมากขึ้น เป็นการปิดความเสี่ยงของตัวเอง.
ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |