30 มิ.ย. 2562 นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตแกนนำพรรคไทยรักษาชาติ(ทษช.)กล่าวถึงปัญหาความขัดแย้งในการจัดตั้งรัฐบาลว่า ภาพของรัฐบาลซึ่งขณะนี้นอกจากใครๆก็รู้ว่าใช้กฎกติกาใช้แทรกแซงกระบวนการองค์กรอิสระ แทรกแซงสี่อแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม ตลอดมาจนกระทั่งมาทำลายพรรคการเมืองและใช้อำนาจผลประโยชน์ต่างๆเข้าไปจัดการพรรคการเมืองมาได้ โดยโค้งสุดท้ายก่อนที่จะมีครม.ภาพการต่อรองแก่งแย่งผลประโยชน์กันสูงมาก ทำให้เห็นได้ว่ารัฐบาลนี้ยากที่จะปกครองบริหารประเทศ เพราะขาดความชอบธรรมอย่างรุนแรง ซึ่งตนเคยวิจารณ์ว่าถึงแม้จะเป็นอย่างนั้นถึงแม้เต็มไปด้วยความไม่ชอบธรรม แต่การล้มของรัฐบาลก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะว่าถ้ารัฐบาลมีเสียงเกินเกินหนึ่งในรัฐสภาก็ยังอยู่ได้ และยังนึกไม่ออกว่าจะมีพรรคไหนจะถอนตัวไม่ง่าย เพราะดูเหมือนว่าจะต้องเยียวยาตัวเองหรือถอนทุนกัน แต่มาในเวลานี้เมื่อเห็นภาพความขัดแย้งระหว่างพ.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้าคสช.กับนักการเมืองบางส่วนในพรรคพลังประชารัฐแล้วก็ทำให้เห็นว่าบางทีรัฐบาลนี้ก็อาจจะอยู่ได้สั้นกว่าที่เคยคาดการณ์เหมือนกัน
นายจาตุรนต์ กล่าวว่า รัฐบาลหลังการเลือกตั้งที่มีที่มาจากความไม่ชอบธรรม ได้รวบรวมเอาปัญหาความไม่ถูกอยู่ในตัวเองเต็มไปหมด ในการจัดครม.มองเป็นการต่อรองกันด้วยผลประโยชน์เป็นหลัก โดยที่ต่างฝ่ายต่างอาจจะมองไม่เห็นความจำเป็นของอีกฝ่ายหนึ่ง ขณะที่พล.อ.ประยุทธ์ อาจจะเห็นว่าตัวเองมีกองทัพและมีส.ว. 250 เสียงสนับสนุนอย่างเป็นเอกฉันท์ ทำให้ถือไพ่เหนือกว่าคนอื่น และต้องการได้คนของตัวเอง และพรรคการเมืองอื่นเห็นว่ารัฐบาลก็ต้องมีเสียงในสภาผู้แทนราษฎรเกินกึ่งหนึ่ง แต่ขณะนี้มีเสียงปริ่มน้ำอย่างมาก จึงทำให้เห็นว่าในส่วนของพรรคการเมืองก็มีความสำคัญต่อรัฐบาลและพล.อ.ประยุทธ์ ถ้าขาดพรรคการเมืองหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในพรรคการเมืองใหญๆก็จะทำให้รัฐบาลนี้ล้ม เพราะฉะนั้นเขาก็ต้องต่อรองเอาสิ่งที่ต้องการให้มากที่สุด
โดยในการต่อรองนี้ไม่มีการพูดเรื่องนโยบายเลย และจริงๆแล้วไม่ได้พูดถึงความเหมาะสมของตัวบุคคลแต่เป็นเรื่องที่ดูตามความใกล้ชิดอิทธิพลบารมีของบุคคลในแต่ละฝ่าย เท่ากับว่าเป็นรัฐบาลที่เราจะสะสมความไม่ชอบธรรมเต็มไปหมด แล้วกำลังเป็นรัฐบาลที่ไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชนและไม่ได้ถือว่าการแก้ปัญหาประเทศเป็นสำคัญ เมื่อรัฐบาลนี้มีเสียงปริ่มน้ำ ทำให้คนเหตุว่า ความขัดแย้งเต็มไปหมดอย่างนี้จะทำให้คนเห็นว่ารัฐบาลนี้ไม่มีเสถียรภาพเลย แต่ถ้าจะคิดว่ารัฐบาลนี้จะล้มยังไง ซึ่งก็แปลกที่ว่ายังไม่ทันตั้งได้ คนก็พูดคือว่าจะล้มยังไงแล้ว ตามธรรมชาติของรัฐบาลในระบบรัฐสภา มันจะล้มก็มักจะเกิดจากการที่มีความขัดแย้งระหว่างพรรคการเมืองที่ร่วมรัฐบาล จนทำให้รัฐบาลไม่มีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร ขณะที่พรรคต่างๆที่มาร่วมส่วนใหญ่ต้องการเยียวยาภาพพจน์ที่ไปตะบัดสัตย์ ไม่ได้ไปแก้ปัญหาให้ประชาชน และยังต้องพยายามฟื้นตัวเองในเรื่องของทุนรอน เพราะใช้จ่ายกันไปมาก โอกาสที่พรรคร่วมจะถอนตัวจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้เวลาอีกมากพอสมควร แล้วต้องมีเหตุจูงใจมากพอด้วยที่จะถอนตัว แต่พรรคพลังประชารัฐเองซึ่งเป็นแกนหลักก็มาเกิดปัญหาความไม่พอใจต่อตำแหน่งและการไม่รักษาคำพูดของพล.อ.ประยุทธ์เลยกลายเป็นปัญหาให้พรรคแกนนำรัฐบาล ซึ่งอาจจะเป็นเหตุหนึ่งกลับไปสู่รัฐบาลนี้จะอยู่ไม่ได้
ตอนนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าพล.อ.ประยุทธ์จะแก้ปัญหาระหว่างตัวเองกับพรรคพลังประชารัฐอย่างไรที่เป็นปัญหาเฉพาะหน้านี้พล.อ.ประยุทธ์จะแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างตนเองกับในพรรคพลังประชารัฐอย่างไรและในระยะปานกลางจะทำอย่างไรที่จะประนีประนอมพรรคร่วมรัฐบาลอื่นไว้ให้ได้แต่ทั้งหมดนี้น่าเศร้าใจตรงที่ว่ามันไม่มีอะไรที่เกี่ยวกับนโยบายและการแก้ไขปัญหาประเทศ มีแต่เรื่องจะทำให้รัฐบาลอยู่ได้อย่างไร หลักการที่สำคัญคือการต่อรองผลประโยชน์กันเป็นหลัก ถามว่าทำไมพล.อ.ประยุทธ์ปล่อยให้เกิดสภาพแบบนี้โดยที่ยังไม่สรุปเรื่องครม.เป็นเพราะว่า พล.อ.ประยุทธ์กำลังสนุกสนานกับการใช้อำนาจในฐานะนายกฯที่ทาจากการรัฐประหาร และอำนาจของคสช.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |