นายดำรงฤทธิ์ หลอดดำ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง เปิดเผยในระหว่างเป็นประธานเปิดเวทีเครือข่ายและเปลี่ยนเรียนรู้ต้นแบบอาสาสมัครเกษตรระดับเขต ปี 2562 ณ โรงแรมพรีม่า วงศ์อมาตย์ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการบริการ แก่เกษตรกรในระดับพื้นที่หมู่บ้าน จึงมีหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำนวน 16 หน่วยงานดำเนินงานอาสาสมัครเกษตร (อกษ.) ซึ่งในแต่ละสาขามีความรู้ความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาของหน่วยงานนั้นๆ เป็นผู้รับผิดชอบ
จึงมีนโยบายให้คัดเลือกตัวแทนเกษตรกรในท้องถิ่นตามความชำนาญเฉพาะสาขา จำนวน 16 สาขา เป็นอาสาสมัครเกษตร ทำหน้าที่ประสานงานและช่วยเหลือการปฏิบัติงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถ่ายทอดความรู้ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา และช่วยเหลือแก้ไขปัญหาเบื้องต้นด้านการเกษตร การประชาสัมพันธ์กิจกรรมและโครงการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แก่ประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนเฝ้าระวัง และแจ้งเหตุภัยธรรมชาติเหตุการณ์ฉุกเฉินทางการเกษตรต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อดำเนินการแก้ไขช่วยเหลือได้อย่างทันเหตุการณ์
โดยในปีงบประมาณ 2562 อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) จะครบวาระในการดำรงตำแหน่งตามระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยการบริหารอาสาสมัครเกษตร 2560 จึงต้องมีการคัดเลือกอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) ขึ้นมาใหม่ พร้อมทั้งคัดเลือกคณะกรรมการแต่ละระดับเพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางการพัฒนาและขับเคลื่อนงานอาสาสมัครเกษตร โดยมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการ
นโยบาย เป็นผู้ดำเนินการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการของคณะกรรมการชุดต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวให้เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ
ตลอดจนการขับเคลื่อนและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครเกษตรให้มีความรู้ทักษะการปฏิบัติงาน และการสร้างความเข้มแข็งของอาสาสมัครเกษตร ผ่านรูปแบบกระบวนการส่งเสริมให้เกิดเวทีถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสนับสนุนการรวมกลุ่มเครือข่ายและภาคีเครือข่าย รวมถึงการสร้างขวัญกำลังใจและเชิดชูเกียรติอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) ในรูปแบบต่างๆ ด้วย
สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง ซึ่งรับผิดชอบการดำเนินงานในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคตะวันออก ได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมด้านอาสาสมัครเกษตรมาอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดโครงการอาสาสมัครเกษตร กิจกรรมจัดทำเวทีเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต้นแบบอาสาสมัครเกษตรระดับเขตขึ้น เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ผลงานของอาสาสมัครเกษตร รวมทั้งเป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้และยกย่องเชิดชูเกียรติเสริมสร้างขวัญกำลังใจ ในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) ให้มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง ตลอดจนเกิดต้นแบบการทำงานด้านอาสาสมัครเกษตร
“พื้นที่การเกษตรของ 9 จังหวัดภาคตะวันออกส่วนใหญ่จะเป็นพืชสวนประเภทผลไม้ ส่วนพืชไร่มีบ้างเช่นที่จังหวัดสระแก้ว แต่การผลิตจะมีความแตกต่างกันในเชิงพื้นที่ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจึงเข้าพื้นที่ได้ไม่ค่อยทั่วถึง เนื่องจากมีภาระกิจที่ค่อนข้างมาก จึงต้องอาศัย อกม. เข้ามาเป็นตัวช่วยในการเชื่อมโยงนำเทคโนโลยีทางการผลิตสมัยใหม่ให้เข้าถึงเกษตรกรโดยเร็ว ซึ่งจะทำให้สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้กับเกษตรกรได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึงตามเป้าหมาย สำหรับกิจกรรมการจัดเวทีเครือข่ายฯ นอกจากมีการบรรยายในหัวข้อต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แล้วในครั้งนี้ยังให้ความรู้เรื่องการจำกัดการใช้สารเคมี 3 ชนิด ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ออกประกาศเกี่ยวกับการจำกัดการใช้สารเคมีเกษตรประกอบด้วย พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส ตามที่คณะกรรมการวัตถุอันตราย เห็นชอบให้ดำเนินการตามมาตรการจำกัดการใช้สารเคมี โดยกำหนดให้ เกษตรกรผู้ใช้สาร ผู้รับจ้างพ่น จะต้องผ่านการอบรมและสอบขอใบอนุญาตเพื่อให้สามารถใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัยได้ โดยเวทีเครือข่ายฯได้ให้ความรู้แก่ อกม. เพื่อเข้าใจและสามารถนำไปประชาสัมพันธ์ถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ตนเองได้อย่างทั่วถึงต่อไป” นายดำรงฤทธิ์ หลอดดำ กล่าว
ด้านนางอมรรัตน์ ลิมป์สุคนธ์ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง เปิดเผยว่าการจัดเวทีเครือข่ายฯ ครั้งนี้มีบุคคลเป้าหมาย จำนวน 200 คน ประกอบด้วย อาสาสมัครเกษตรจาก 9 จังหวัดภาคตะวันออก จำนวน 180 คน เจ้าหน้าที่ผู้รับงานอาสาสมัครเกษตรระดับจังหวัด/อำเภอ จำนวน 9 คน เจ้าหน้าที่ผู้จัด/เจ้าหน้าที่สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง จำนวน 5 คน และวิทยากร จำนวน 6 คน
ทั้งนี้เพื่อให้อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านได้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานตามบทบาทหน้าที่ พร้อมประชาสัมพันธ์ผลงานของอาสาสมัครเกษตรทั้ง 9 จังหวัดภาคตะวันออก โดยกิจกรรมการจัดเวทีเครือข่ายฯ จะมีการบรรยายเรื่องแนวทางการดำเนินงานของต้นแบบอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน ผู้ปฏิบัติงานดีเด่น 9 จังหวัดภาคตะวันออก
ปี 2562 การบรรยายเรื่อง อมก. กับการจัดเก็บข้อมูลทะเบียนเกษตรกรและการใช้แอพพลิเคชั่นสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัล (DOAE FARMBOOK) การเปิดเวทีเสวนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก อกม. ดีเด่น 9 จังหวัด เรื่องแนวทางการดำเนินงานของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในพื้นที่ และการสร้างเครือข่ายการนำเสนอผลปฏิบัติงานของต้นแบบอาสาสมัครเกษตรระดับจังหวัด
ด้านนายอ๋า พรมไธสง เกษตรกรสาขาเกษตรผสมผสาน ตำบลทุ่งควายกิน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง หนึ่งใน อมก. ที่เข้าร่วมเวทีเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต้นแบบอาสาสมัครเกษตร ระดับเขต ปี 2562 ในครั้งนี้เปิดเผยว่า
การเข้าร่วมเวทีฯ ครั้งนี้นับว่าดีได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับเกษตรกรรายอื่นๆ ในพื้นที่อื่นๆ มากขึ้น
“ได้รับรู้ถึงแนวทางนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่เพิ่มเติมเข้ามาในการส่งเสริมและสนับสนุนการเกษตรในพื้นที่ เช่น โครงการลดการใช้สารเคมี 3 ชนิดตามประกาศของกระทรวงฯ ตลอดถึงช่องทางในการเชื่อมโยงเครือข่ายของเกษตรกรระหว่างจังหวัดให้มีความใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มช่องทางให้การทำการผลิตและการจำหน่ายให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและผู้บริโภคโดยตรง”นายอ๋า
พรมไธสง กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |