"นายกฯ" พอใจการประชุมกลุ่มผู้นำจี 20 เผยสหภาพยุโรปยินดีปรับระดับความสัมพันธ์ประเทศไทยมาอยู่ในระดับปกติ เพราะเราเป็นประชาธิปไตยแล้ว ส่วนปัญหาโรฮีนจาจะร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศผลักดันว่าทำอย่างไร ถึงจะเข้าไปช่วยแก้ปัญหาในเมียนมาได้ด้วยความสมัครใจของเมียนมาเอง
เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. ที่นครโอซากา ประเทศญี่ปุ่น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ถึงการประชุมกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (จี 20) ว่า การประชุมครั้งนี้บรรยากาศเป็นไปด้วยดี มีความสุข พูดจากันด้วยมิตรไมตรี ทั้งที่การประชุมจี 20 และการประชุมอาเซียนซัมมิตที่ไทยเป็นเจ้าภาพ โดยตนได้นำผลและมติต่างๆ จากการประชุมอาเซียนซัมมิตมานำเสนอต่อที่ประชุม จี 20 ซึ่งมีความสอดคล้องคล้ายคลึงกัน ในฐานะผู้นำประเทศและเป็นประธานอาเซียน จำเป็นต้องมองถึงโลกภายนอกด้วย เพราะจะต้องเตรียมรับสถานการณ์ต่างๆ ทั้งเรื่องของเศรษฐกิจ การพัฒนาเทคโนโลยี ซึ่งล้วนมีผลกระทบต่อไทยและประชากรโลก
"ต้องขอพูดกับคนไทยว่า เมื่อต้องมองปัญหาใด ต้องมองทั้งจากภายในออกไปภายนอก และมองจากภายนอกเข้ามาภายในประเทศ เพราะทั้งหมดจะเป็นตัวกำหนดว่าประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายด้านใดบ้าง"
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า บรรยากาศเป็นไปด้วยดีมีมิตรไมตรี ซึ่งหมายรวมถึงการประชุมทั้งสองการประชุม และที่ประชุมจี 20 ก็มีความคิดเห็นสอดคล้องกับมติประชุมอาเซียนซัมมิต ซึ่งเป็นมุมมองของประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนา และในการประชุมจี 20 ครั้งนี้ มีสหภาพยุโรป (อียู) เข้าร่วมด้วย ซึ่งทางอียูยินดีปรับระดับความสัมพันธ์ประเทศไทยมาอยู่ในระดับปกติ เพราะเราเป็นประชาธิปไตยแล้ว ที่ผ่านมาได้ปรับข้อมติต่างๆ ไปพอสมควร โดยจะเห็นว่าการค้าการลงทุนต่างๆ กับกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป โดยภาพรวมเพิ่มสูงขึ้นตลอด 5 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าความสัมพันธ์จะยังไม่ได้รับการยกระดับถึงขณะนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า สิ่งที่ได้พูดคุยครั้งนี้คือการหามาตรการรองรับจากผลกระทบด้านเศรษฐกิจของโลกใบนี้ ซึ่งเชื่อว่าทุกคนทราบดี แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าการพูดคุย การเจรจาในที่ประชุมจี 20 จะเป็นอย่างไร โดยคาดหวังว่าจะผ่อนคลายมากขึ้น ด้วยการแก้ปัญหาของประเทศมหาอำนาจ ในขณะที่เราเองต้องเตรียมความพร้อม เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล โอกาสการเข้าถึงระบบออนไลน์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตนหยิบยกปัญหาให้ที่ประชุมจี 20 รับทราบว่าอาจมีความแตกต่าง เพราะคนของเราที่อยู่ในระดับกำลังพัฒนามีอยู่มากพอสมควร
“ดิจิทัลและระบบออนไลน์มีทั้งแง่บวกและลบ ซึ่งในทางลบ เช่น ร้านค้าปลีก ร้านค้าย่อยอาจพัฒนาไม่ได้ ขณะที่ธุรกิจที่พัฒนาแล้วจะมีรายได้สูงขึ้น เห็นได้จากสถิติการค้าขายออนไลน์ที่มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นเกินกว่า 200% แสดงว่าผู้บริโภคหันมาใช้บริการออนไลน์มากขึ้น ดังนั้น คนที่ยังค้าขายแบบเดิมจึงมีรายได้ลดลง ซึ่งเป็นปัญหาของเศรษฐกิจระดับล่างที่ต้องหามาตรการแก้ปัญหาและสนับสนุนโดยตรง ขณะที่เรื่องอื่นๆ ของการหารือมีเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และปัญหาสภาวะเรือนกระจก เรื่องของขยะทะเล ซึ่งมติของอาเซียนได้ลงนามร่วมในการแก้ปัญหาขยะทะเล” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า นอกจากมติการประชุมอาเซียนที่ไทยได้นำเสนอต่อที่ประชุมจี 20 แล้ว ยังมีข้อเสนออื่นๆ อาทิ มุมมองเรื่องของอินโด-แปซิฟิก ประเทศต่างๆ ที่เสนอเข้ามา ซึ่งทุกอย่างที่จะพูดหรือแถลงออกไป ต้องเป็นมติจากสมาชิกทั้งหมด ไม่ใช่เรื่องที่ต่างคนต่างพูด ซึ่งตรงกับคำว่า One voice of asian เพราะฉะนั้นการประชุมครั้งนี้ที่เราตั้งธีมไว้ที่ประเทศไทย คือ ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน ถือว่าตรงทุกประการกับการประชุมจี 20
“หลายคนอาจมองว่าการประชุมจี 20 ไม่ได้ให้ความสำคัญกับอาเซียน แต่ผมมองว่าไม่ใช่ แต่อาจเป็นเพราะวันนี้อาเชียนมีความสงบ มีปัญหาภายในภูมิภาคน้อยมาก อาจจะมีเรื่องของทะเลจีนใต้ที่มีมาตรการดำเนินการตามกลไกที่อาเซียนวางไว้ และเห็นชอบให้แก้ปัญหาโดยสันติวิธีและรวดเร็ว จากมติที่จะแก้ปัญหาภายใน 3 ปี หากเร็วกว่านั้นก็จะเป็นเรื่องที่ดี ระหว่างนี้กำหนดให้เดินเรือได้อย่างปลอดภัย รวมถึงการเดินอากาศด้วย” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ส่วนเรื่องของโรฮีนจา ในส่วนของไทย ตนร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศพยายามผลักดันว่าทำอย่างไร ถึงจะเข้าไปช่วยแก้ปัญหาในเมียนมาได้ด้วยความสมัครใจของเมียนมาเอง เพราะปัญหาของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ทั้งเรื่องปัญหาเชิงโครงสร้าง ปัญหาพื้นฐานเชิงประวัติศาสตร์ จึงมีมติว่าทำอย่างไรอาเซียนจะมีส่วนร่วมมือแก้ปัญหาในรัฐยะไข่ของเมียนมาได้ ซึ่งได้ตกลงว่าจะรวบรวมความช่วยเหลือเข้าไป โดยต้องตรงกับความต้องการของทางเมียนมา ขณะเดียวกันต้องพูดคุยกับบังกลาเทศเพื่อความร่วมมือเรื่องของการส่งกลับ การคัดกรองให้มีความรวดเร็วขึ้น ขณะที่ทางเมียนมาเตรียมพร้อมเรื่องพื้นที่ ซึ่งไทยส่งทีมงานเข้าไปช่วยดูแลเรื่องของที่อยู่ที่อาศัยและการสาธารณสุข คิดว่าจะทยอยส่งกลับได้ตามลำดับ สถานการณ์ต่างๆ จะค่อยๆ คลี่คลายไปเรื่อยๆ หากไม่มีใครไปสร้างปัญหาใหม่
“วันนี้อาเซียนจะเพิ่มบทบาทด้วยการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งจะเป็นข้อตกลงทางการค้าของภูมิภาคที่จะไปประสานกับต่างประเทศ ซึ่งความตกลงนี้จะทำให้เราเกิดการเจริญเติบโตทุกด้าน ตอบสนองการพัฒนา 3 เสาหลักของอาเซียนที่ขณะนี้มีความคืบหน้าแล้วร้อยละ 90 และจะหารือกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมายที่จะเร่งดำเนินการให้เสร็จในช่วงที่ไทยเป็นประธานอาเซียน" นายกฯ ระบุ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |