27 มิ.ย.62 - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ภาพข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ถึงกรณีนางสาวพรรณิการ์ วานิช ส.ส.บัญชีรายชื่อและโฆษกพรรคอนาคตใหม่ โพสต์วิพากษ์วิจารณ์งการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 34 นี้ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ
โดยโพสต์ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิติ มีเนื้อหาดังนี้ "ไม่รู้เรื่อง ไม่ถือเป็นความผิดนะครับ
แต่ไม่รู้เรื่อง แล้วไม่หาข้อมูล แต่ออกมาแสดงความคิดเห็น แบบไม่รับผิดชอบแบบนี้่ ในฐานะที่เป็นบุคคลสาธารณะ เป็นสส. ผมว่านี่เป็นความผิดครับ
อยากให้คนพรรค#อนาคตใหม่ เป็นนักการเมืองน้ำดีพิจารณาทบทวนก่อนให้สัมภาษณ์ครับ ไม่รู้เรื่อง ก็ไปหาข้อมูลก่อน ไม่ต้องรีบออกมาครองพื้นที่สื่อก็ได้ครับ
อยากให้คุณ #ช่อ Pannika Chor Wanichไปหาความรู้เพิ่มเติมเรื่อง Green Meeting ครับ venue ที่จะจัดงานต้องประกอบด้วย GreenVenue, Green catering, Green
Arrangements, Green Document และ Carbon Footprints ถ้าโรงแรมไหนมีครบก็จัดที่นั่น
1. Green Venue ต้องเลือกสถานที่จัดประชุมที่มีมาตรฐานสูงด้านสิ่งแวดล้อมและได้รับการรับรอง ในขณะเดียวกันก็ต้องอยู่ใกล้กับระบบขนส่งมวลชน เที่ยวนี้ใช้หลายโรงแรมครับ โดยเฉพาะที่พักของผู้นำ ทุกแห่งล้วนแต่ติดแนวรถไฟฟ้า ทั้ง Athenee, Okura, Anantara, Shangri-la แม้ผู้นำจะไม่นั่งรถไฟฟ้า แต่ต้องนึกถึงเจ้าหน้าที่ที่ต้องเดินทางไปปฏิบัติงานด้วยครับ ดังนั้นโรงแรมทั้งหมดต้องอยู่ในบริเวณใกล้กัน หรือเดินทางถึงกันได้ด้วยรถไฟฟ้า
2. Green Catering เที่ยวนี้ใช้อาหารที่มีวัตถุดิบในประเทศไทยทั้งหมด ผักส่วนใหญ่ใช้จากวิสาหกิจชุมชน ปลอดสาร
3. Green Arrangement ไม่มีโรงแรมไหนมีเก้าอี้เป็นพันๆ ตัวหรอกครับ ปกติต้องบรรทุกรถบรรทุกหลายเที่ยว แต่รอบนี้ใช้เก้าอี้กระดาษ Pulp ที่เยื่อกระดาษมาจากกระดาษใช้แล้ว รับน้ำหน้กได้ 150 Kg. ที่สำคัญมันพับแล้วแบนและเบา ทำให้ประหยัดพลังงานและจำนวนเที่ยวรถในการขนส่ง ใช้เสร็จก็พับเอาไปเก็บ ใช้ต่อในการประชุมคราวหน้า และเมื่อจบงานประชุม เก้าอี้พวกนี้จะถูกเอาไปบริจาค เช่นเดียวกับอุปกรณ์ตกแต่งต่างๆ ที่จริงๆ เป็นกล่องเก็บเอกสารครับ
4. Green Document เที่ยวนี้เริ่มต้นการเชิญและทำหนังสือต่างๆ เป็นไฟล์ดิจิตอลครับ
5. Carbon Footprint กิจกรรมท้ังหมดจดบันทึกครับ ว่าปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากน้อยแค่ไหน จากนั้นเสร็จประชุมจะมีการปลูกต้นไม้ทดแทน
ข้อมูลทั้งหมดมีการทำเป็นสารคดี มีรายการทีวี เผยแพร่ทาง Youtube สงสัยคุณช่ออาจจะไม่ได้ดู
ส่วนคุณ #ธนาธร แนะนำให้อ่านเล่มนี้ครับ 50ปีของไทยในอาเซียน http://www.mfa.go.th/asean/EBOOK/mobile/index.html#p=1
อ่านก่อนแล้วค่อยคุยกันเรื่อง #การไม่แทรกแซงกิจการภายใน ครับ"
สำหรับโพสต์ของนางสาวพิรรณิการ์ เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.ที่ผ่านมา มีเนื้อหาดังนี้
อาเซียนซัมมิท ทำไมต้องจัดที่พลาซา แอทธินี?
การประชุมอาเซียนซัมมิทเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นที่คาดหวังของคนไทยว่าจะได้เห็นไทยแสดงบทบาทผลักดันวาระต่างๆในฐานะประธานอาเซียน ซึ่ง 10 ปีโอกาสดังกล่าวจึงจะเวียนมาถึงสักครั้ง และปีนี้การเมืองการค้าระหว่างประเทศกำลังเข้มข้น เปิดให้ประธานอาเซียนมีบทบาทโดดเด่นได้ในหลายทาง ทั้งเรื่องสงครามการค้า ผู้ลี้ภัย ทะเลจีนใต้ ไปจนถึงการรับมือปัญหาสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน ซึ่งทั้งหมดนี้เรียกร้องให้อาเซียนต้องปรับเปลี่ยนทิศทางความร่วมมือให้มีการช่วยเหลือเกื้อกูลอย่างเข้มข้นและกว้างขวางกว่าในยุคแรกก่อตั้ง เพราะภัยที่ภูมิภาคเผชิญ ไม่ใช่ภัยความมั่นคงแบบยุคสงครามเย็นอีกต่อไป แต่เป็นปัญหาข้ามชาติข้ามพรมแดนแบบใหม่ในโลกดิจิทัล
อย่างไรก็ตาม นอกจากในการประชุมครั้งนี้ พลเอกประยุทธ์จะไม่ได้ดำเนินบทบาทโดดเด่นตามที่เราคาดหวังว่าผู้นำไทยในฐานะประธานอาเซียนควรทำ ยังเกิดข้อกังขาเป็นของแถมเล็กๆมาอีก 2-3 ข้อด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแถลงข่าวเป็นภาษาไทย (ซึ่งไม่ใช่เรื่องเสียหาย) แต่กลับไม่ได้จัดเตรียมล่ามไว้ ทำให้นักข่าวซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ ไม่เข้าใจว่าประธานอาเซียนกำลังแถลงอะไร การแสดงท่าทีรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยใช้เก้าอี้กระดาษรีไซเคิลในที่ประชุม จนนักสิ่งแวดล้อมตั้งคำถามว่าจะใช้เก้าอี้กระดาษให้เกิดขยะเพิ่มทำไม ในเมื่อโรงแรมมีเก้าอี้เพียงพออยู่แล้ว ไปจนถึงข้อกังขาเรื่องการเลือกสถานที่จัดการประชุม
โรงแรมพลาซา แอทธินี ถูกใช้เป็นสถานที่จัดการประชุมอาเซียน ซัมมิทครั้งที่ 34 ดูเผินๆเหมือนไม่มีเรื่องควรสงสัย เพราะใครๆก็ทราบดีว่านี่เป็นโรงแรมหรูอันดับต้นๆของไทย และตั้งอยู่บนย่านสถานทูตอย่างถนนวิทยุ และใครๆก็ทราบดีว่าโรงแรมแห่งนี้เป็นของมหาเศรษฐีอันดับต้นของไทย ผู้ซึ่งเคยซื้อที่ดินของครอบครัวของพลเอกประยุทธ์ด้วยราคาสูงกว่าราคาตลาดลิบลิ่ว ไม่นานหลังการรัฐประหาร พฤษภา 57 และก็เป็นมหาเศรษฐีคนเดียวกับที่บริษัทของเขาเพิ่งได้ต่อสัญญาการเช่าศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยไม่ผ่านการประมูล ไม่ต้องประกวดแข่งขันราคากับใคร
คำถามที่รัฐบาลควรตอบ ก็คือเหตุใดการประชุมจึงจัดขึ้นที่โรงแรมแห่งนี้ กระบวนการคัดเลือกคืออะไร ตัดสินใจจากเหตุผลใด ทำไมจึงไม่ใช้กระทรวงต่างประเทศเป็นสถานที่จัดประชุม ทั้งที่อาคารของกระทรวงฯ สร้างขึ้นเพื่อรองรับการประชุมระดับนานาชาติอยู่แล้ว หรือหากจะอ้างว่าโรงแรมขนาดใหญ่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการประชุมพรั่งพร้อมกว่า เหตุใดโรงแรมอื่นๆจึงไม่ได้รับการพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นโรงแรมโอเรียนเต็ล หรือโรงแรมแชงกรีลา ซึ่งมีประวัติเก่าแก่ยาวนาน และเคยเป็นสถานที่จัดงานประชุมระดับนานาชาติหรือรับรองทางการทูตมาแล้วหลายครั้ง หรือแม้แต่หอประชุมกองทัพเรือ ซึ่งเคยใช้รับรองผู้นำนานาชาติในการประชุมเอเปคเมื่อปี 2003 มาแล้ว
การประชุมอาเซียน ซัมมิท จะมีขึ้นอีกครั้งในปลายปีนี้ เราหวังว่าจะได้เห็นกระบวนการเลือกสถานที่จัดการประชุมที่โปร่งใสกว่านี้ และปราศจากข้อกังขาเกี่ยวกับการเอื้อประโยชน์ระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มทุนขนาดใหญ่ เพื่อให้ภาษีของประชาชนถูกนำไปใช้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสมที่สุด และเพื่อให้บทบาทของไทยในฐานะประธานอาเซียนปีนี้ เป็นไปอย่างสง่างาม นำเกียรติภูมิของประเทศกลับมาโดดเด่นบนเวทีโลกได้อีกครั้ง.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |