26 มิ.ย. 62 - น.ส.เกศปรียา แก้วแสนเมือง โฆษกพรรคเพื่อชาติ กล่าวถึงกรณีนายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ฉายาแรมโบ้อีสาน อดีตแนวร่วม นปช. และอดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ หลุดพ้นจากการดำเนินคดีล้มการประชุมผู้นำอาเซียน เมื่อปี 2552 เนื่องจากคดีหมดอายุความ เพราะอัยการนำตัวผู้ต้องหาส่งฟ้องศาลไม่ทัน โดยอ้างตำรวจไม่จับตัวมานั้นว่า ข้อกล่าวอ้างนี้ไม่มีน้ำหนัก เพราะนายสุภรณ์จัดเป็นบุคคลสาธารณะ เนื่องจากลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกผู้แทนราษฏร และขึ้นเวทีหาเสียงและให้สัมภาษณ์สื่อเป็นประจำ ช่วงเดือนธันวาคม 2561 - มีนาคม 2562 ถ้าต้องการจะนำตัวมาฟ้องจริง ทั้งอัยการและตำรวจพัทยาสามารถขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่นอกพื้นที่ได้ เพราะการหาตัวผู้สมัครลงเลือกตั้งไม่ใช่เรื่องที่ยากลำบากเกินความสามารถเจ้าหน้าที่
น.ส.เกศปรียา กล่าวว่า เป็นเวลาหนึ่งทศวรรษที่ประชาชนฝ่ายตรงข้ามเผด็จการอำนาจนิยม ไม่ได้รับความยุติธรรมจากการดำเนินคดีในหลายลักษณะ แต่อยู่ในสภาพต้องจำทน ซึ่งในอดีตตนยังเด็กไม่เคยเข้าใจเรื่องความยุติธรรมที่ไม่เท่าเทียม พอมาเจอกรณีนายสุภรณ์ ที่อัยการไม่สั่งฟัองด้วยเหตุผลไม่มาพบอัยการและตำรวจไม่นำตัวมาให้จนคดีหมดอายุความ ทั้งที่ทำกรรมเดียวกับแกนนำ นปช. ที่โดนฟ้องทุกคน ทำให้คนรุ่นใหม่ที่ไม่ทันเหตุการณ์ความขัดแย้งทางความคิดทศวรรษที่ผ่านมานี้เข้าใจจากการตามหาประวัติศาสตร์ส่วนนี้เพิ่ม
อีกทั้งคดีกรุงไทยของนายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐก็เช่นกัน ที่หลุดจากคดี ทั้งที่นายอุตตมเป็นกรรมการนั่งประชุมอยู่และได้ลงลายมือชื่อเช่นเดียวกับกรรมการอีก 3 คนที่ทำกรรมเดียวกันซึ่งโดนฟ้องและรับโทษไปแล้ว มีเพียงนายอุตตมที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ไม่สั่งฟ้อง ก็ตอกย้ำเรื่องความยุติธรรมตั้งต้นที่ไม่เท่าเทียม ส่งผลให้ประชาชนไทยได้รับความเหลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรมมาตลอด 10 ปี โดยเฉพาะ 5 ปีหลังปี 2557 เป็นต้นมา มีวาทกรรมทำตามกฎหมาย ที่ถูกเสนอขึ้นมาจากทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และรมว.กลาโหม แต่คำถามคือ กฎหมายของใคร ใครบังคับใช้ ใครตัดสิน ความแตกต่างระหว่างกระบวนการยุติธรรมตั้งต้นที่ได้รับถ้าเป็นฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายต่อต้าน
สำหรับผู้ต้องหาทั้งสองกรณีที่ไม่ถูกกระบวนการยุติธรรมตั้งต้นสั่งฟ้องมีสิ่งที่เหมือนกันคือทั้งคู่เป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ที่ทั้งประเทศรับรู้ว่าเป็นพรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนความต้องการอยากสืบทอดอำนาจของพล.อ.ประยุทธ์ ทั้งสองกรณีนี้คือการยืนยันหรือใบเสร็จที่ชัดเจนให้สังคมโลกรับรู้ว่า กระบวนการยุติธรรมไทยตั้งต้นสั่งได้ถ้าศิโรราบผู้มีอำนาจ หรือ ที่ในโลกโซเชียลเรียกกรณีนี้ว่า โปรแรง ย้ายค่าย เปลี่ยนผิดเป็นถูก นี่คือปัญหาของประเทศที่ตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมา ได้เกิดการเลือกปฏิบัติเพื่อเล่นงานบางฝ่าย ทำให้กระบวนการยุติธรรมมีหลายมาตรฐาน ประชาชนจำนวนไม่น้อยหมดความเชื่อถือ
“ยังพบข้อมูลว่ามีจำเลยหลายคนในคดีล้มประชุมอาเซียนถูกตัดสินจำคุกในศาลชั้นอุทธรณ์ ขณะนี้กำลังรอคำพิพากษาศาลฎีกา อย่างไรก็ตาม คดีนี้พบว่าทางเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่พัทยาที่ทำคดี ได้นำตำรวจในพื้นที่พัทยามาเป็นพยานเท็จกล่าวหาตำรวจด้วยกันว่า มีส่วนล้มการประชุมอาเซียน ทั้งๆ ที่ในวันเวลาดังกล่าวตำรวจที่ถูกซัดทอดนั้นอยู่ที่กรุงเทพฯ ไม่ได้มาที่พัทยา ต่อมาตำรวจที่เป็นพยานเท็จได้ถูกดำเนินคดีและถูกลงโทษ นี่คือการใช้กระบวนการยุติธรรมกลั่นแกล้งผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่าง จัดเป็นความจริงอันเจ็บปวดของผู้ที่ไม่สนับสนุนเผด็จการอำนาจนิยมอย่างคนเสื้อแดง” โฆษกพรรคเพื่อชาติ ระบุ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |