ปชป.วิกฤติหรือไม่!'สาทิตย์'เคลียร์ยิบหลัง'บิ๊กเนม'ลาออกพ้นสมาชิกพรรค


เพิ่มเพื่อน    

26 มิ.ย.62 - นายทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง  พรรคประชาธิปัตย์  โพสต์เรื่อง  "สมาชิกระดับแกนนำของพรรคประชาธิปัตย์ ลาออก !!!  พรรคฯวิกฤต หรือ??" โดยมีเนื้อหาดังนี้ 

ข่าวการทะยอยลาออกของสมาชิกพรรคฯ หลายคน หลังจากการประกาศตัวเข้าร่วมกับรัฐบาลประยุทธ์ สร้างความสงสัยและหวั่นไหวใจกับผู้สนับสนุนพรรคจำนวนมาก

คำถามของหลายคนคือ เกิดอะไรขึ้น?

พรรคฯถึงคราววิกฤตแล้วหรือยัง?

สำหรับผม คิดมานานแล้วว่า วันหนึ่งพรรคจะต้องมาถึงจุดนี้...

ข้อสังเกตุของผมคือ พรรคการเมืองที่ก่อตั้งด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองแบบเสรีประชาธิปไตย อันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่มุ่งเน้น โครงสร้างประชาธิปไตยแบบพรรคไร้เจ้าของพรรค จะรวมตัวอยู่ได้ด้วยแนวคิดทางการเมืองที่ไปทางเดียวกัน หรือ ประนีประนอมกันได้

แต่ถ้ามีแนวคิดต่างกันสุดขั้ว หรือ ไม่มีแนวทางที่ประนีประนอมกันได้ จะทำให้เกิด คนแยกทาง หรือ หลุดวงโคจร ออกไปจากพรรค จะเหลือ แกนหรือ core ที่แนวคิดตรงกัน หรือ คล้ายกัน หรือ รับกันได้

ก่อนเกิดเหตุการณ์ เข้าร่วมรัฐบาลประยุทธ์นี้ มีเหตุการณ์ “สู้ระบอบทักษิณ “ ที่ประชาธิปัตย์ ชูธงต่อต้าน และเรียกว่า “เผด็จการของทุนสามานย์ “ ทำให้เป้าหมายร่วมของพรรค ชัดเจน เพราะ ระบอบทักษิณ มีลักษณะตรงข้าม กับแนวทางของพรรค เช่น รวบอำนาจ แทรกแซงองค์กรตรวจสอบ บิดเบือนกลไกของกฎหมาย ทุจริตโจ๋งครึ่ม และ มีข้อครหาเรื่องสถาบัน

เช่นเดียวกับในอดีต ที่ ประชาธิปัตย์ ชูธงต้านเผด็จการทหาร รวมทั้งบรรดานายพลที่ทุจริต กินบ้านกินเมือง ทำให้มีแนวสู้ชัดเจน รวมตัวกันได้

แต่ ใครจะคาดคิดว่าวันหนึ่ง พรรคฯต้องอยู่ท่ามกลางทางเลือก
ว่าจะทำงานร่วมกับ พรรคที่เคยถูกเรียกว่าเป็น เผด็จการของทุนสามานย์
หรือ จะไปกับพรรคฯ ที่ต่อยอด จากเผด็จการทหาร ที่ได้อำนาจมาจากการรัฐประหาร

ความย้อนแย้งนี้คือ
ประชาธิปัตย์ เชื่อมั่นในระบอบรัฐสภา แต่ ระบอบทักษิณ ครอบงำกลไกสภา กลายเป็นสภาทาส
เพื่อต้องการออกกฎหมายนิรโทษกรรม และ แก้ไขรัฐธรรมนูญ
จนสมาชิกพรรคฯส่วนหนึ่ง ออกมาสู้บนท้องถนน และลาออกจาก ส.ส. 
ในเวลาที่มวลชนจำนวนมากสนับสนุนแนวทางสู้อย่างสันติบนท้องถนน
ประชาธิปัตย์ ถนอมตัวกับการยึดแนวทางรัฐสภา โดยให้สมาชิกออกมาสู้ในนามบุคคล
แม้สุดท้าย จะลาออกจาก ส.ส. ทั้งพรรค แต่ก็อยู่ในแนวทางระบบรัฐสภา

สุดท้ายเมื่อ ความขัดแย้งบานปลาย จนไม่มีทางออกของระบบในขณะนั้น คือ วุฒิสภาไม่สามารถเป็นหลักให้บ้านเมืองได้ รัฐบาลหมดสิ้นความชอบธรรมและหัวหน้ารัฐบาลถูกกฎหมายตัดสินให้พ้นจากตำแหน่ง 
การชุมนุมเรียกร้องอย่างสันติภายใต้รัฐธรรมนูญถูกจัดการอย่างรุนแรงและนำไปสู่การใช้ความรุนแรงของขบวนการติดอาวุธนิรนาม 
การรัฐประหารจึงเกิดขึ้น บนเงื่อนไข ที่คนของรัฐบาลที่หมดความชอบธรรม ประกาศว่า “ยังไงก็ไม่ลาออก” อันเป็นการสร้างเดดล็อค ทางการเมือง

แม้ในภายหลัง ฝ่ายสูญเสียอำนาจในตอนนั้น พยายามอธิบายโดยใช้ “ทฤษฎีถูกกลั่นแกล้ง” มาอธิบาย แต่ฟังไม่ขึ้น เพราะเรื่องการทุจริตจำนำข้าวชัดเจนจนมีคนต้องติดคุกและนายต้องหนี กับ หลักฐานกฎหมายนิรโทษกรรม ล้างผิดคนทุจริต หนีคุก มันตำตาคนทั้งประเทศ

พรรคฯ เริ่มแตกต่างทางความคิด มากขึ้น
ฝ่ายหนึ่ง แม้ไม่เอาระบอบทักษิณ แต่ไม่อาจรับการรัฐประหาร เพียงแต่จนใจที่ไม่มีทางออกอื่น
ฝ่ายหนึ่ง ไม่เอาทักษิณ แต่เห็นว่า เมื่อมีการรัฐประหาร ก็ควรให้เงื่อนไขนี้ จัดการ เผด็จการของทุนสามานย์ แต่ควรอยู่ชั่วคราว

สองความคิดต่างนี้ ยังคงร่วมทางกันได้เพราะเชื่อว่า ยังไงก็ต้องไปเลือกตั้ง

จนเมื่อมีการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ คสช ความเห็นต่างชัดเจนมากขึ้น

เพราะ คำตอบ มีแค่ รับ หรือ ไม่รับ

จะเห็นว่า สมาชิกฝ่ายหนึ่ง ไม่รับ เพราะดูตามเนื้อหาสาระ ขัดหลักการประชาธิปไตย

แต่อีกฝ่าย รับ เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่แสดงออกว่า ต้องการรับ ให้ผู้มีอำนาจไปจัดการ เผด็จการของทุนสามานย์ เนื้อหาเป็นยังไงรับไปก่อน

จนเมื่อถึงตอนเลือกตั้ง ผู้นำพรรคฯ เสนอ แนวทางขั้วที่ ๓ ไม่เอาระบอบทักษิณ และ ไม่เอาประยุทธ์

แต่ผลคือ แนวคิดขั้วที่ ๓ ไม่อาจนำได้ พรรคพ่ายแพ้ มาอยู่อันดับ ๔ 
ซึ่งหมายความว่า พรรคจะไม่ได้กำหนดเกมเอง เป็นได้แค่ พรรคร่วม 
ประเด็นคือ จะร่วมฝ่ายไหน

มีคนพยายามเสนอแนวทางประนีประนอม ระหว่าง ๒ ทางนี้ หากไม่เลือกทั้งสองทาง
คือ ประกาศตนเป็นฝ่ายค้านอิสระ

แต่ไปไม่ได้เพราะ ส่วนใหญ่ไม่เชื่อว่ามีอยู่จริง และ ทำงานจริงไม่ได้

สุดท้าย เมื่อ ต้องเลือกสุดไปทางหนึ่ง คนที่สุดอีกฝ่าย ก็ไม่อาจร่วมแนวทาง

การลาออกจากสมาชิก เป็นการแสดงออกต่อพรรค อย่างสันติ และ เคารพความเห็นส่วนใหญ่

ผมว่าตรงนี้ คือ ประชาธิปไตย ในพรรคประชาธิปัตย์

ถ้าจะมองว่า วิกฤต ผมกลับมองว่า มันเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ มากกว่า

เป็นจุดเปลี่ยนทางแนวคิด ที่ทำให้พรรคการเมืองยาวนานพรรคนี้ ต้องพิเคราะห์บริบทรอบๆพรรคในทางการเมือง ที่เปลี่ยนไปมากจากเมื่อคราวก่อตั้งพรรค
จากยุคที่มีแต่เผด็จการทหาร มาเป็น เผด็จการของทุนนิยมสามานย์ 
ยุคที่ระบบรัฐสภาเป็นคำตอบ มาสู่ยุคสภาทาส ที่ครอบงำได้ สั่งได้

จากยุคก่อนที่แมวที่จะจับหนู ต้องมีสีเดียวมาสู่ยุคที่แมวสีอะไรก็ได้ ขอให้จับหนูได้

ผมว่า ถึงเวลาที่คนในพรรคประชาธิปัตย์ ต้องตั้งวงคุย แนวคิด แนวทางของพรรคฯในโลกยุคใหม่ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มวลชนบางส่วนล้ำหน้าพรรคไปแล้ว ปัญหาซับซ้อน กระบวนการทางสังคมซับซ้อน

บางทีการตีความอุดมการณ์พรรคฯแบบ คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ อาจไม่ใช่หนทางที่ดีที่สุด แต่ต้องประยุกต์ใช้ ตีความให้เหมาะกับสถานการณ์ โดยคง “ประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่” ตามที่บรรพประชาธิปัตย์ วางแนวไว้ น่าจะดีที่สุด

หมายเหตุ ผมเขียนบทความนี้เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนทางความคิดกับคนในพรรคและผู้สนับสนุน โดยไม่มีจุดมุ่งหมายอื่นใดให้เกิดการตีความในทางร้ายจากใคร เพราะผมยังเป็นสมาชิกพรรคฯ ที่ยังเชื่อว่า ประชาธิปัตย์ ยังเป็นความหวังให้สังคมไทยได้.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"