การประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันพุธที่ 26 มิ.ย.นี้ ที่ห้องประชุม ตึกทีโอที จำกัด ตามระเบียบวาระจะมีการพิจารณาเรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษากรณีการต่อสัญญาสัมปทานให้กับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เสนอโดย นายระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังธรรมใหม่ ไว้พิจารณาด้วย
ที่มาที่ไปของเรื่องนี้ ที่เรียกกันว่า ”ญัตติค่าโง่ทางด่วน” ทาง “นพ.ระวี" ปูพื้นให้ฟังถึงเรื่องดังกล่าว ก่อนถึงคิวต้องลุกขึ้นอภิปรายกลางที่ประชุมสภาฯ ว่า เป็นญัตติที่เสนอต่อที่ประชุมสภาฯ เพื่อขอให้สภาฯ เห็นชอบให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาค่าโง่ทางด่วนที่เกิดจากการบริหารงานคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ “BEM” ที่ผิดพลาดจนทำให้เกิดการฟ้องร้องดำเนินคดีมาอย่างต่อเนื่องกว่า 20 คดี ซึ่งคาดว่ารัฐจะต้องจ่ายค่าเสียหายเป็นเงินร่วม 1.37 แสนล้านบาท หากพ่ายทุกคดี โดยล่าสุด กทพ.ต้องเสียค่าปรับหรือค่าโง่ให้กับบริษัท BEM สองคดี คือ คดีทางด่วนปากเกร็ด-บางปะอิน จำนวน 4.3 พันล้านบาท และคดีที่ กทพ.ไม่อนุมัติให้ขึ้นค่าทางด่วนตามสัญญา 1.9 พันล้านบาท โดยศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษายืนตามคำสั่งศาลปกครองกลาง
นอกจากนี้ บอร์ด กทพ.ยังได้มีการเจรจาลดวงเงินค่าโง่ที่ต้องจ่ายให้กับบริษัท BEM จาก 1.37 แสนล้านบาท มาอยู่ที่ 5.8 หมื่นล้านบาท และมีมติขยายอายุสัมปทาน 3 โครงการ โครงการละ 30 ปี เป็นข้อแลกเปลี่ยน ประกอบด้วย ทางด่วนศรีรัช ทางด่วนศรีรัช ส่วนดี และทางด่วนบางปะอิน-ปากเกร็ด ซึ่งอยู่ระหว่างอัยการตรวจสอบร่างสัญญา
"นพ.ระวี” อธิบายลงรายละเอียดแบบให้เข้าใจง่ายๆ ว่า สัญญาก่อสร้างทางด่วนมีด้วยกันหลายสาย มีการสร้างกันตั้งแต่ปี 2533 โดยกลุ่ม BEM ที่ ”กลุ่ม ช.การช่าง” ถือหุ้นใหญ่ก็มีการสร้างกันหลายเส้น ผ่านมาหลายรัฐบาลบางเรื่องก็เกิดค่าโง่ เช่น ค่าโง่แรก 4.3 พันล้านบาท เกิดจากไปสร้างโทลล์เวย์ต่อไปถึงรังสิต ทั้งที่มีทางด่วนของเขาอยู่แล้ว มันก็ผิดชัดๆ ทั้งที่ กทพ.ไปแจ้งรัฐบาลไว้ก่อนแล้วว่ามันจะผิด แต่รัฐบาลในอดีตตอนนั้นบอกว่าต้องสร้าง โดยไม่เจรจาให้เรียบร้อย แบบนี้ไม่ใช่ความผิดของ กทพ. ก็เลยต้องเสียค่าโง่ หรือค่าโง่ที่สอง 1.9 พันล้านบาท ตอนนี้ผ่านในชั้นการพิจารณาของศาลปกครองกลางไปแล้ว เหลือต้องรอดูคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุด ซึ่งคดีนี้ กทพ.แพ้คดี เป็นกรณีไม่ยอมให้ขึ้นค่าผ่านทาง เพราะในสัญญาบอกว่าเมื่อครบสิบปีต้องให้เขาขึ้นค่าผ่านทาง แต่รัฐบาลเวลานั้นไม่ยอมให้ขึ้น ก็เท่ากับผิดสัญญา ก็อาจแพ้อีก ทั้งที่จริงรัฐบาลน่าจะไปบอกเอกชนว่าไม่ให้ขึ้น แต่สัดส่วนที่ BEM ต้องให้รัฐบาล ก็ปรับให้น้อยลง จากสี่สิบเปอร์เซ็นต์ก็เหลือสามสิบเปอร์เซนต์ เรื่องก็จบ แต่ไม่ได้ทำ แบบนี้ก็เสียค่าโง่
...รวมค่าโง่ทั้งหมดอยู่ที่ 1.37 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นค่าโง่ที่คาดว่าต้องสู้กัน ตอนนี้บอร์ด กทพ.ตัดสินใจโดยจะต่อรอง ขอให้อยู่ที่ 5.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งก็ยังเป็นอภิมหาค่าโง่ แต่ปรากฏว่า BEM ตกลงกับบอร์ดโดยร่างสัญญาใหม่ให้ บนเงื่อนไขไม่คิดค่าโง่ทั้งหมด ตัดทิ้งหมด กทพ.ไม่ต้องจ่ายแม้แต่บาทเดียว โดยแลกกับต่อสัญญาสัมปทานให้ BEM อีก 30 ปี มูลค่า 3แสนล้านบาท โดยบอร์ด กทพ.มีการส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดแล้ว หากอัยการเห็นชอบก็ส่ง ครม.ให้อนุมัติได้เลย
นอกจากนี้ ในสัญญาพบว่าทาง BEM ขอบริหารพื้นที่ใต้ทางด่วนทั้งหมด ซึ่งมีมูลค่ามหาศาล โดยที่สัญญาเดิมไม่มี แต่มาเขียนไว้ในสัญญาใหม่ที่ BEM ยื่นเป็นเงื่อนไขกับ กทพ. และจะให้มีการสร้างทางด่วนชั้นที่สอง อยู่เหนือทางด่วนแรก ที่ต้องใช้เงินหลายหมื่นล้านบาท BEM บอกว่าจะสร้างให้ แต่ กทพ.ต้องผ่อนจ่ายเงินให้ ซึ่งมีการวิเคราะห์แล้วว่าไม่เหมาะ เราจึงต้องการศึกษาว่าเรื่องนี้ทำถูกต้องหรือไม่ ประเทศได้ประโยชน์สูงสุดหรือไม่ กับแนวทางอื่นเช่นก็สู้คดีค่าโง่ไป คดีเดียวก็จ่ายไป 4 พันล้านบาท ที่เหลือก็สู้ไป เพราะบางคดี กทพ.ก็ชนะ ไม่ใช่ว่าจะแพ้หมดทุกคดี แพ้ก็จ่ายไป แล้วเอาทางด่วนนั้นมาประมูลใหม่ ที่อาจได้ราคาที่ดีกว่า หรืออาจต่อให้สิบปี แต่ค่าโง่ต้องจบหมด แล้วพื้นที่ใต้ทางด่วนก็ประมูลใหม่ อย่าไปพ่วงในสัญญาที่เสนอมา ก็ทำหลายแนวทางให้รอบคอบ แล้วให้รัฐบาลตัดสินใจ
“หากมีการตั้ง กมธ.ขึ้น เราขอเวลาสามเดือน จะเรียกสัญญามาดูทั้งหมด เพื่อหาทางออก จะไม่มีการไปโจมตีรัฐบาลเก่าๆ ที่เคยเกี่ยวข้องทำเรื่องนี้ แต่หากศึกษาแล้วพบว่าใครผิดอย่างรุนแรง ทำเลินเล่อ ก็ไปอีกเรื่องหนึ่ง ก็อาจนำเสนอเข้าสู่การฟ้องร้อง แต่หากไม่ได้ประมาทเลินเล่อ ไม่ได้จงใจ ก็ถือว่าจบ เรื่องนี้ต้องเรียกว่ามหากาพย์อภิมหาค่าโง่ เพราะมีกว่ายี่สิบคดี”
"นพ.ระวี-ส.ส.พรรคพลังธรรใหม่” กล่าวว่า เรื่องแบบนี้จริงๆ ต้องเป็นฝ่ายค้านยื่นเรื่อง แต่พลังธรรมใหม่ที่อยู่รัฐบาลมาทำเอง ซึ่งตอนที่ผมจะเสนอญัตติ มี ส.ส.ฝ่ายค้านพอเขาทราบเรื่องก็ติดต่อจะขอร่วมลงชื่อด้วยหลายคน เพราะผมบอกตั้งแต่ตอนเริ่มทำว่าเรื่องนี้จะไม่ทำเพื่อไปหาเรื่องโจมตีใคร ไม่ว่าจะเป็นเพื่อไทย ทักษิณ ชินวัตร พรรคประชาธิปัตย์ที่เคยร่วมบริหารงาน กทพ.ในอดีต เพราะที่เสนอญัตติเพื่อให้สภาฯ ได้ร่วมกันศึกษาว่ามันเกิดค่าโง่ทางด่วนตรงไหน ผิดตรงไหน แล้วมาช่วยกันแก้ไข
“หัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่” ย้ำว่า กมธ.ชุดที่จะตั้งขึ้นที่จะมี ส.ส.ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลอยู่ใน กมธ.ชุดที่จะตั้งขึ้น เพื่อมาร่วมกันศึกษาค่าโง่ทางด่วนทั้งหมดโดยละเอียด เมื่อได้ข้อสรุปว่าปัญหาเกิดจากตรงไหน แล้วควรแก้ไขอย่างไร ก็เสนอต่อรัฐบาลให้รับทราบนำไปแก้ไข เราเห็นว่าข้อตกลง กทพ.อาจทำให้รัฐเสียโอกาส เพราะหากเปิดให้มีการทำประมูล รัฐอาจได้เงินประมาณ 3 แสนล้านบาท แต่หากให้ BEM ต่อสัมปทานออกไป 30 ปี เพื่อแลกกับคดี เรามองว่าเป็นความต้องการกลบเกลื่อนค่าโง่จากการบริหารงานที่ผิดพลาดของ กทพ. และรัฐบาลในอดีตหรือไม่ เพราะการทำงานให้เกิดค่าโง่ 4.3 พันล้าน ไม่ควรจะเอามาเป็นข้ออ้างแลกเปลี่ยนกับอายุสัมปทานหรือรายได้ในอนาคตที่จะเข้าสู่ภาครัฐ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |