เพื่อไทยไม่กลัวถือหุ้นสื่อ!'ชูศักดิ์'ลั่นแค่บริษัทร้าง


เพิ่มเพื่อน    

25 มิ.ย.62-  นายชูศักดิ์ ศิรินิล ประธานคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการยื่นร้องปมถือหุ้นสื่อของส.ส.ว่า ต้องตีความให้ชัดเจนก่อน เนื่องจากกฎหมายเขียนว่า เป็นเจ้าของหรือถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ หรือสื่อมวลชน เมื่อตรวจสอบดูแล้วมีหลายวัตถุประสงค์ หลายบริษัท หลายคนที่มีการร้องเรียนไปเขียนว่าประกอบกิจการโฆษณา วิทยุ โทรทัศน์ คำถามคือ ถ้าเขียนอย่างนี้ถือว่า เป็นการประกอบกิจการสื่อมวลชนหรือไม่ โดยส่วนตัวคิดว่า ไม่ใช่เพราะบางคนค้าขายสิ่งพิมพ์ ไม่ใช่คนทำสื่อ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องตีความคำเหล่านี้ให้ชัดเจนก่อนว่าหมายความว่าอย่างไร 

ประเด็นต่อมาคือ ต้องถามว่า หากตีความว่าใช่ แล้วท้ายที่สุดศาลรัฐธรรมนูญจะยึดบรรทัดฐานแบบศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งหรือไม่ เพราะศาลฎีกาฯระบุว่า แม้ไม่ได้ประกอบกิจการเขียนไว้ในวัตถุประสงค์ของบริษัทเท่านั้น ไม่ได้ประกอบกิจการก็ต้องห้าม ปัญหาคือท้ายที่สุด ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องยึดถือตามที่ศาลฎีกาจังหวัดสกลนครหรือไม่ ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวเป็นดุลพินิจของศาลว่าจะเอาอย่างไร ประเด็นสุดท้ายคือ หากศาลเห็นว่าเข้าข่ายแล้ว จะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ ซึ่งดูจากรัฐธรรมนูญ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อ่านไปอ่านมาเหมือนตีความได้ว่า ถ้ารับมาพิจารณาแล้วก็ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่

นาชูศักดิ์กล่าวอีกว่า สำหรับพรรคเพื่อไทยได้ตรวจดูหลายครั้งหลายหน เป็นบริษัทร้าง ไม่ได้ประกอบกิจการ หรือเลิกกิจการแล้ว หรือเป็นการเขียนวัตถุประสงค์ไว้กว้างๆ ไม่อาจจะตีความได้ว่าเป็นเจ้าของ หรือถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ หรือสื่อมวลชน เพราะการเขียนวัตถุประสงค์ไม่ได้หมายความว่าจะประกอบกิจการสื่อได้เลย ซึ่งเราไม่ได้วิตกกังวลอะไร

เมื่อถามถึงถึงกรณีนายสมพงศ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ที่ถูกร้องในประเด็นการถือหุ้นสื่อ นายชูศักดิ์กล่าวว่า นายสมพงษ์เคยถือหุ้นอยู่ในบริษัทหนึ่งและได้ตรวจสอบแล้วว่าเป็นบริษัทร้าง เลิกกิจการแล้ว และดูจากคำร้องคล้ายกับว่ามีบริษัทอื่นๆอีก คำถามคือ จะถือว่าเขียนไว้แบบนี้ จะถือว่าเข้าข่ายในประเด็นดังกล่าวหรือไม่ แต่ดูแล้วว่า ท่านไม่ได้ประกอบกิจการแน่เพราะผ่านมา 40-50 ปีแล้ว

ถามว่า คำตัดสินของศาลฎีกาไม่ผูกพันกับศาลรัฐธรรมนูญ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ก็ต้องว่ากันอย่างตรงไปตรงมาว่า เพราะระบบของบ้านเราเป็นคนละช่องทาง ศาลฎีการแผนกคดีเลือกตั้งพิจารณาช่วงก่อนการเลือกตั้ง แต่ศาลรัฐธรรมนูญก็เป็นอีกช่องทางหนึ่ง ที่สำคัญคือเขียนไว้ว่า วินิจฉัยอะไรออกมาผูกพันทุกองค์กร ในท้ายที่สุดหากเรื่องนี้ถูกรับไว้พิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญจะคำนึงถึงคำวินิจฉัยของศาลฎีกามากน้องเพียงใด ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"