24 มิ.ย.62 - คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ออกแถลงการณ์ 1/2562 โดยมีเนื้อหาระบุว่า ตามที่คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(ครป.) ได้จัดประชุมสมัชชา ครป. ประจำปี 2562 ขึ้นระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายน 2562 ณ จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีคณะกรรมการ ครป. และเครือข่ายภาคประชาชนเข้าร่วมประชุมสมัชชาวิเคราะห์สถานการณ์และความเป็นไปทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมทั้งวิเคราะห์ ประเมินและทบทวนเป้าหมายและผลการดำเนินภารกิจของครป.ในช่วงเวลาที่ผ่านมา เพื่อกำหนดทิศทาง เป้าหมายและภารกิจระยะต่อไปของครป. ผลการประชุมระดมความคิดร่วมกันปรากฏข้อสรุปสำคัญหลายประการซึ่ง ครป.เห็นว่าควรสื่อสารให้สังคมได้รับรู้ร่วมกัน ครป.เห็นว่า ประเทศไทยยังคงเผชิญปัญหาใหญ่ 5 ประการดังต่อไปนี้
1.เราเห็นปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมีเหตุปัจจัยระดับรากฐานสำคัญมาจาก “ความเหลื่อมล้ำทางอำนาจ” ระหว่าง (1) ประชาชนกับประชาชนด้วยกันเองแต่สังกัดชนชั้นแตกต่างกัน และ (2) ระหว่างชนชั้นนำที่กุมอำนาจรัฐ และกลุ่มทุนใหญ่ที่สามารถเข้าถึงช่วงใช้หรืออาศัยประโยชน์จากอำนาจรัฐในศูนย์กลางรัฐได้ กับประชาชนทั่วไป ความเหลื่อมล้ำที่รุนแรงนี้ส่งผลให้ทรัพยากรของสังคมถูกจัดสรรโดยรัฐไปเป็นประโยชน์แก่เจ้าของทุนขนาดใหญ่ในหลายพื้นที่และหลายประเด็น ก่อให้เกิดการผูกขาดทางเศรษฐกิจโดยทุนใหญ่เพียงบางกลุ่มและตัดโอกาสการแข่งขันของทุนเล็กในพื้นที่ท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ เกิดการละเลยการรักษากติกาการแข่งขันที่เป็นธรรมในระบบเศรษฐกิจ ชุมชนและประชาชนซึ่งยากจนเป็นจำนวนมาก และไร้อำนาจในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ ถูกเบียด-บ่อนเซาะให้สูญเสียวิถีชีวิตและความมั่นคงในชีวิต เกิดการกระจายรัฐสวัสดิการที่ขาดความสมดุล–กลายเป็นการกระจายสวัสดิการตามใจชอบ ขาดความยั่งยืนและเป็นธรรม หรือถูกเบี่ยงเบนเพื่อประโยชน์ทางคะแนนเสียง เป็นต้น
2. เราเห็นปัญหาความแตกแยกที่รุนแรงทางความคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองที่ทำให้เกิดการแยกขั้ว-แบ่งฝ่ายระหว่างประชาชน แต่สังคมไทยยังขาดทั้งหลักคิด แนวทาง กลไกและผู้นำทางความคิดที่จะชี้นำให้เกิดการเชื่อมประสานเพื่อหาทางออกจากปัญหา เราเห็นว่า แม้ธรรมชาติของการเมืองจะหลีกพ้นไปจากความขัดแย้งไม่ได้ แต่ความขัดแย้งนั้นควรอยู่ในระดับที่พอประสานไปด้วยกันได้หรืออย่างน้อยมีกลไก หรือแนวทางที่จะสมานฉันท์ระหว่างประชาชน
3. ปัญหาการขาดเสถียรภาพของรัฐบาลยังเป็นปัญหาที่จะส่งผลกระทบต่อสังคมการเมืองทั้งระบบ ปัญหาการผูกขาดอำนาจของชนชั้นนำ การสร้างประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาและพรรคการเมือง รวมทั้งปัญหาเกี่ยวเนื่องอื่นๆ เราเห็นว่า แม้ปัญหานี้จะมีที่มาจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่มีมาตลอดทศวรรษ จึงมีความจำเป็นที่ต้องนำกติกาทางการเมืองที่เหมาะสมและเป็นธรรม นำกลับมาใช้และต้องทำให้เกิดขึ้นโดยเร็ว
4.เราเห็นว่า ในภาวะความขัดแย้งของการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศระหว่างชาติมหาอำนาจซึ่งทวีความรุนแรงและซับซ้อนขึ้นโดยลำดับนั้น ได้ส่งผลให้รัฐบาลตัดสินใจรักษาดุลอำนาจไปในทางที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนคนไทยอย่างไม่อาจเหลีกเลี่ยงได้ ประเทศไทยได้กลายเป็นพื้นที่แสวงประโยชน์ของชาติมหาอำนาจทั้งในแง่การใช้เป็นตลาดที่เกินส่วน การฉวยใช้ทรัพยากรของประเทศในระดับที่น่าเป็นห่วงต่อความมั่นคงของชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เป็นต้น
5. เราเห็นว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่ได้เป็นกติกาสูงสุดของประเทศที่จะช่วยบรรเทาหรือป้องกันปัญหาที่กล่าวมา ในขณะที่ไม่ได้ทำหน้าที่พื้นฐานในการเป็นกติกาทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยสำหรับจัดสรรอำนาจ ผลประโยชน์และสิทธิหน้าที่ที่เป็นธรรมระหว่างสมาชิกฝ่ายต่างๆ ของสังคมอย่างเพียงพอ ปัญหาการเปิดพื้นที่ให้ทหารเข้าสู่การเมือง รวมถึงการเข้าสู่อำนาจที่เหมาะสมและเป็นธรรมยังคงเป็นปัญหาในรัฐธรรมนูญ
ต่อปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ครป. จึงมีความเห็นพ้องกันว่า การลงมือปฎิบัติร่วมกันในแนวทางที่ให้ผลเป็นการออกจากปัญหาดังกล่าวจะเป็นกระบวนการประสานความเข้าใจและสมานความแตกต่างทางความคิดและอุดมการณ์ได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกัน จะเป็นการวางรากฐานที่ถูกต้องสำหรับการก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง ก่อให้เกิดความสุข และความสงบอย่างยั่งยืนแก่ประเทศและประชาชน ด้วยเหตุนี้ ครป. จึงได้กำหนดแนวทางและเป้าหมายที่เราเชื่อว่าจะเป็นจุดคานงัดที่จะทำให้เกิดผลดังกล่าว 5 ประการสำหรับระยะเวลา 2 ปีข้างหน้าคือ
(1) การขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการกระจายอำนาจในเชิงโครงสร้างตามแนวคิดจังหวัดจัดการตนเอง และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาประชาธิปไตยทั้งในระดับประเทศและในระดับพื้นที่ชุมชน รวมถึงการสร้างนวัตกรรมใหม่ทางการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมและมรรคผลจากนโยบายสาธารณะที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและสังคมโดยรวมอย่างเสมอภาค เท่าเทียมและเป็นธรรม
(2) การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ในประเด็นที่ตอบสนองเป้าหมายการแก้ไขปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น รวมถึงการแก้ปัญหาประชาธิปไตยทางการเมืองในระบบรัฐสภาและพรรคการเมือง
(3) การรณรงค์ผลักดันประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและรัฐสวัสดิการ เพื่อขจัดปัญหาความเหลื่อมล้ำและทุนผูกขาดในประเทศไทย และทุนเสริมธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ Sustainable Development Goals (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ
(4) การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ นโยบายและการดำเนินการของรัฐในทุกมิติ รวมถึงองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่ไร้ประสิทธิภาพและไม่ตอบสนองต่อภารกิจที่มีอยู่ ตามเป้าหมายการปฏิรูปการเมือง
(5) การเชื่อมประสานภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายและโครงการพัฒนาของรัฐ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาในระดับนโยบายและกฎหมายอย่างเป็นรูปธรรม และเสริมสร้างความเข้มแข็งภาคประชาชนที่หลากหลายที่ถูกทำลายและแบ่งแยกในปัจจุบัน เพื่อเป็นการเมืองของพลเมืองที่มีคุณภาพในการพัฒนาประชาธิปไตยที่ยั่งยืนร่วมกัน
สำหรับรายชื่อคณะกรรมการครป.ประกอบด้วย คณะที่ปรึกษา ศ.ธีรยุทธ บุญมี, รศ.ดร.สุธี ประศาสน์เศรษฐ, รศ.สุรัสวดี หุ่นพยนต์, คุณสมบูรณ์ สุพรรณฝ่าย, คุณชาญวิทย์ อร่ามฤทธิ์, คุณเดช พุ่มคชา, คุณสกุล สื่อทรงธรรม, คุณกษิต ภิรมย์, คุณปรีดา เตียสุวรรณ์, คุณสมชาย หอมลออ, คุณพิภพ ธงไชย, คุณสันติ คุณพิสิฐวงศ์, คุณอดุลย์ เขียวบริบูรณ์, คุณสมภพ บุนนาค
ประธาน รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธาน คุณบรรจง นะแส, คุณบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์, ดร.สุริยะใส กตะศิลา, ดร.ศักดิ์ณรงค์ มงคล
เลขาธิการ คุณเมธา มาสขาว รองเลขาธิการ คุณกิตติชัย ใสสะอาด, คุณธัชพงศ์ แกดำ, คุณพิชิต ไชยมงคล เหรัญญิก คุณธนิกา เนาวรัชต์, คุณลัดดา รักษ์ประชาไท
กรรมการ คุณประสาท มีแต้ม, คุณหาญณรงค์ เยาวเลิศ, คุณสุริยันต์ ทองหนูเอียด, คุณศิริชัย ไม้งาม ,คุณต่อพงษ์ เสลานนท์, คุณชัยวัฒน์ ตรีวิทยา, คุณประกิต จันทร์สมวงษ์, คุณสุริยา บุญโชติ ,คุณสมควร พรมทอง, คุณประยงค์ ดอกลำใย, คุณโกศล รักษ์ประชาไท, คุณสาวิทย์ แก้วหวาน,คุณวรภัทร วีรพัฒนคุปต์.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |