24 มิ.ย.62 - สำนักข่าวอิศรา นำเสนอรายงานพิเศษ ระบุว่าคดีผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ถูกคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ไม่ประกาศรายชื่อเป็นผู้สมัคร เนื่องจากขาดคุณสมบัติ กรณีเป็นเจ้าของหรือถือหุ้นสื่อมวลชน มีจำนวนทั้งสิ้น 10 คดี (เท่าที่ตรวจสอบพบ) แบ่งเป็นคดีที่ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งเห็นชอบกับคำวินิจฉัยของ กกต. 9 คดี (ราย) และ เป็นคดีที่ศาลฎีกาพิพากษาว่าผู้สมัคร ไม่ขาดคุณสมบัติ ให้กกต.ประกาศรายชื่อเป็นผู้สมัคร ส.ส. 1 คดี (ราย)
เพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งหมด ขอรวบรวมทั้ง 10 คดีมารายงาน ดังนี้ (ดูตารางประกอบ)
คดีที่ศาลฎีกาเห็นชอบกับคำวินิจของ กกต. 9 คดี (ราย) ผู้สมัคร ส.ส.ขาดคุณสมบัติ
1.คดีนายติณณ์ ศรีงาม ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กำแพงเพชร เขตเลือกตั้งที่ 2 พรรคอนาคตใหม่ เจ้าของหนังสือพิมพ์สื่อ ศิลป์เมืองกําแพง
2.คดีนายอรชุน ประสิทธิ์สมบัติ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.อ่างทอง พรรคประชาธิปัตย์ เจ้าของหนังสือพิมพ์ของบริษัท คลื่นเสียงอ่างทอง
3.คดีนายอนุสรณ์ เกษมวรรณ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่ 1 กรุงเทพฯ พรรคชาติพัฒนา เจ้าของหนังสือพิมพ์ สื่อกลางสภาไทย
4.คดีนายทวีป ขวัญบุรี ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.เขตเลือกตั้งที่ 1 จ.ระยอง พรรคพลังประชารัฐ เจ้าของและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์สื่อกลางรายวัน
5.คดีนายคมสัน ศรีวนิชย์ ผู้สมัคร ส.ส.อ่างทอง เขตเลือกตั้งที่ 1 พรรคประชาชาติ เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ที.เอ็ม.อินเตอร์เนชั่นแนล อิมพอร์ท เอ็กซ์พอร์ท จํากัด ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการโรงพิมพ์ รับพิมพ์หนังสือจําหน่าย และออกหนังสือพิมพ์
6.คดีนายรวิพล หินผาย ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. จังหวัดอุดรธานี เขต 3 พรรคพลังท้องถิ่นไท เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด รวิพลเรดิโอ และ ห้างหุ้นส่วนจํากัด ทุ่งแกเรดิโอ ทำวิทยุชุมชนในจ.อุดรธานี และหนองคาย
7.คดีนายวิวิธชิตวัน สุวรรณรัตน์ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.สงขลา เขตเลือกตั้งที่ 2 พรรคประชาธรรมไทย เจ้าของหนังสือพิมพ์อ่าวไทย วอยซ์
8.คดีนายสุวัฒน์ชัย สวัสดี ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. จังหวัดนครราชสีมา เขต 1 พรรคความหวังใหม่ เจ้าของและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ โคราชการเมือง
9.คดีนายภูเบศวร์ เห็นหลอด ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. เขตเลือกตั้งที่ 2 จ.สกลนคร พรรคอนาคตใหม่ เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการใน ห้างหุ้นส่วนจำกัด มาร์ส เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียง และโทรทัศน์ และออกหนังสือพิมพ์
คดีที่ศาลฎีกาพิพากษาว่าผู้สมัคร ไม่ขาดคุณสมบัติ 1 คดี (ราย)
1.คดีนายภัทรพล มานะสร้าง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. จังหวัดสระแก้ว เขต 1 พรรคพลังท้องถิ่นไท เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ประชารัฐ
ทั้ง 10 ราย เป็นผู้สมัคร 8 พรรคการเมือง
หากจำแนกคดีที่ศาลฎีกาพิพากษาว่าผู้สมัคร ส.ส. ขาดคุณสมบัติ 9 คดี (ราย) พบว่า
กลุ่มแรก คดีที่ผู้สมัคร เป็นเจ้าของสื่อ หนังสือพิมพ์หรือวิทยุกระจายเสียง 7 คดี ได้แก่
1.คดีนายติณณ์ ศรีงาม เจ้าของหนังสือพิมพ์สื่อ ศิลป์เมืองกําแพง
2.คดีนายอรชุน ประสิทธิ์สมบัติ เจ้าของหนังสือพิมพ์ของบริษัท คลื่นเสียงอ่างทอง
3.คดีนายอนุสรณ์ เกษมวรรณ เจ้าของหนังสือพิมพ์ ชื่อสื่อกลางสภาไทย
4.คดีนายทวีป ขวัญบุรี เจ้าของและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์สื่อกลางรายวัน
5.คดีนายรวิพล หินผาย เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด รวิพลเรดิโอ และ ห้างหุ้นส่วนจํากัด ทุ่งแกเรดิโอ ทำวิทยุชุมชนในจ.อุดรธานี และหนองคาย
6.คดีนายวิวิธชิตวัน สุวรรณรัตน์ เจ้าของหนังสือพิมพ์อ่าวไทย วอยซ์
7.คดีนายสุวัฒน์ชัย สวัสดี เจ้าของและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ โคราชการเมือง
กลุ่มที่สอง คดี ที่ผู้สมัครถือหุ้นใน บริษัทที่มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการโรงพิมพ์ รับพิมพ์หนังสือจําหน่าย และออกหนังสือพิมพ์ 2 คดี คือ
1.คดีนายคมสัน ศรีวนิชย์ เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ที.เอ็ม.อินเตอร์เนชั่นแนล อิมพอร์ท เอ็กซ์พอร์ท จํากัด และ 2. คดีนายภูเบศวร์ เห็นหลอด เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการใน ห้างหุ้นส่วนจำกัด มาร์ส เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส โดยคดีนายภูเบศวร์ ยังเพิ่มวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับสื่ออีกหนึ่งข้อ คือ แจ้งบริคณห์สนธิ (ข้อ 43) ประกอบกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ รับจัดทำสื่อโฆษณา สปอร์ตโฆษณา เผยแพร่ ข้อมูล ข่าวสารทุกประเภท ให้กับบุคคล คณะบุคคล นิติบุคคล ส่วนราชการ และองค์การอื่นๆ ของรัฐ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วย
ในส่วนของกลุ่มแรกคดีที่ผู้สมัคร เป็นเจ้าของสื่อ หนังสือพิมพ์หรือวิทยุกระจายเสียง จำนวน 7 คดี มีข้ออ้างและข้อเท็จจริงคล้ายกัน 3 คดี คือ คดีนายอนุสรณ์ เกษมวรรณ เจ้าของหนังสือพิมพ์ ชื่อสื่อกลางสภาไทย คดี นายสุวัฒน์ชัย สวัสดี เจ้าของและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ โคราชการเมือง และ คดี นายทวีป ขวัญบุรี เจ้าของและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์สื่อกลางรายวัน ทั้งสามคนรับว่า เป็นเจ้าของจริงแต่หยุดตีพิมพ์มาก่อนหน้านี้หลายปีแล้ว แต่ไม่ได้จดทะเบียนยกเลิกต่อเจ้าหน้าที่ภายใน 30 วันตามพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 ศาลฎีกาวินิจฉัยถือว่ายังเป็นเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ ขาดคุณสมบัติการเป็นผู้สมัคร ส.ส.
ส่วนอีก 4 คดีมีรายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน คือ คดีนายติณณ์ ศรีงาม เจ้าของหนังสือพิมพ์สื่อ ศิลป์เมืองกําแพง ผู้สมัครเป็นเจ้าของสื่อ แต่แจ้งยกเลิกภายหลังการสมัครส.ส. , คดีนายอรชุน ประสิทธิ์สมบัติ เจ้าของหนังสือพิมพ์ของบริษัท คลื่นเสียงอ่างทอง อ้างว่าถือหุ้นจริง แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการบริหารกิจการของหนังสือพิมพ์ของบริษัทฯ ,คดีนายรวิพล หินผาย หุ้นส่วนผู้จัดการ หจก. รวิพลเรดิโอ และ หจก. ทุ่งแกเรดิโอ ทำวิทยุชุมชนในจ.อุดรธานี และหนองคาย อ้างว่า ยังไม่ได้รับแจ้งการอนุญาตจึงไม่สามารถเปิดกิจการได้ และ คดีนายวิวิธชิตวัน สุวรรณรัตน์ เจ้าของหนังสือพิมพ์อ่าวไทย วอยซ์ อ้างว่า ได้ลาออกจากการเป็นบรรณาธิการ และ เจ้าของหนังสือพิมพ์ ก่อนยื่นใบสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. แต่ไม่มีหลักฐานการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลของเจ้าหน้าที่ จึงยังคงอยู่ในฐานะเจ้าของกิจการ
ขณะที่รายของ นายภัทรพล มานะสร้าง เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ประชารัฐ ที่ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งเห็นว่าผู้สมัครส.ส.ไม่มีความผิด เนื่องจากมีหลักฐานแน่ชัดว่า ได้จดแจ้งเปลี่ยนแปลงการลาออกจากการเป็นเจ้าของและบรรณาธิการแล้วตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค. 2561 ก่อนจะยื่นใบสมัครรับเลือกตั้ง การที่ยังปรากฎข้อมูลว่ายังคงเป็นเจ้าของและบรรณาธิการอยู่ในขณะที่ กกต.ตรวจสอบข้อมูล เกิดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่ได้แก้ไขข้อมูลในระบบฐานข้อมูล
ดังนั้น ในภาพรวมทั้งหมด เห็นได้ว่า มีข้อเท็จจริง คล้ายกัน และ แตกต่างกัน ในแต่ละคดี
หากเทียบกับ ส.ส. ที่ถูกร้องและอยู่ระหว่างการตรวจสอบในชั้น กกต. และ ผู้ที่ถูกร้องอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ 42 ราย รวม 2 กลุ่มเกือบร้อยราย ในขณะนี้ เนื้อหา ข้อเท็จจริงในการถือหุ้นจะสอดคล้อง หรือ ต่างกัน กับ คดีที่มีคำพิพากษาไปแล้ว 10 คดีข้างต้นหรือไม่ อย่างไร? อ่านต้นฉบับ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |