ตายายเลือกอาหารใส่บาตร ไร้มัน-หวาน..ช่วยสุขภาพดี


เพิ่มเพื่อน    

        ใกล้ถึงช่วง วันมาฆบูชา หรือวันที่พระสงฆ์จำนวน 1,250 รูปมารวมตัวกันอย่างพร้อมเพรียง เพื่อรับโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งเป็นหัวใจหลักของพระพุทธศาสนาจากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งปีนี้ตรงกับช่วงต้นเดือนมีนาคม แน่นอนว่าคุณตาคุณยายหลายท่านกำลังสาละวนเกี่ยวกับการเตรียมตัวไปทำบุญที่วัด เพราะถือเป็นประเพณีปฏิบัติจากรุ่นสู่รุ่น

      หนึ่งในนั้นคือเรื่อง อาหารถวายพระสงฆ์ เนื่องจากปัจจุบันอาหารใส่บาตรพระเป็นเมนูที่ไม่ถูกสุขภาพ ซึ่งทำให้เกิดโรคเรื้อรังอย่าง เบาหวาน โรคไต โรคอ้วน ฯลฯ ที่สำคัญนอกจากนำอาหารดังกล่าวไปทำบุญแล้ว ผู้สูงอายุหลายท่านก็จำเป็นต้องรับประทานเมนูดังกล่าวเช่นเดียวกัน เพื่อทำให้การทำบุญได้กุศลและรักษาสุขภาพของพระสงฆ์ อีกทั้งคนสูงวัย นพ.อุทัย จินดาพล ประธานสมาคมผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย มีข้อมูลมาแนะนำกัน

(นพ.อุทัย จินดาพล)

 

      นพ.อุทัยให้ข้อมูลว่า หลักในการปรุงอาหารที่ดีสำหรับไปทำบุญที่วัดนั้น แนะนำว่าให้เน้นผักปลอดสารพิษ และเมนูจากปลาเป็นหลัก โดยเฉพาะในต่างจังหวัดที่นิยมปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษอย่าง มะเขือ มะเขือพวง ถั่วฟักยาว สามารถเก็บมาทำเป็น เมนูน้ำพริกปลาสดกับผักลวก นอกจากนี้ ในบางพื้นที่เลี้ยงปลาน้ำจืดไว้กินเอง หรือในพื้นที่ภาคใต้ที่มีปลาสดในทะเล ก็สามารถนำมาทำ เมนูต้มยำปลา หรือ ปลานึ่ง ไปถวายพระ อีกทั้งหลีกเลี่ยงอาหารประเภททอด เช่น หมูทอด, ไก่ทอด แม้แต่ไข่ดาวที่ไม่ปริมาณไขมันสูงถึง 400 แคลอรี ขณะที่ไข่เจียวมีปริมาณไขมันอยู่ที่ 1,000 แคลอรี ซึ่งแนะนำว่าไข่ต้มจะดีต่อสุขภาพของพระสงฆ์กว่า อีกทั้งเมนูอาหารทอดมักเสี่ยงต่อการใช้น้ำมันซ้ำ ตรงนี้จะเป็นการเพิ่มอัตราการป่วยโรคมะเร็งให้กับพระสงฆ์ได้เช่นเดียวกัน แต่ในส่วนของ แกงกะทิ พระสงฆ์ยังสามารถบริโภคได้ เพราะกะทิมาจากมะพร้าว แต่ก็ควรบริโภคในสัดส่วนที่น้อย แต่ให้เน้นการผักปลอดสารพิษเป็นหลัก ดังนั้นการเตรียมอาหารใส่บาตรที่ใส่ใจสุขภาพเป็นเรื่องที่ผู้สูงวัยต้องให้ความใส่ใจ เพราะนอกจากทำบุญแล้ว ผู้สูงอายุยังได้รับประทานอาหารเหล่านี้ด้วย ก็เป็นการดูแลสุขภาพที่ได้สองทาง

(หมูทอด+ไข่เจียว เมนูไขมันสูงที่ไม่ควรนำไป ถวายพระ เพื่อป้องกันโรคเรื้อรัง)

 

นอกจากนี้ แนะนำว่าให้หุง ข้าวกล้อง ไปใส่บาตรก็สามารถช่วยลดโรคอ้วนให้กับพระสงฆ์ได้เช่นกัน เพราะข้าวกล้องมีกากใยอาหารสูง กินแล้วย่อยง่าย ส่วนของหวานนั้น แนะว่าให้เปลี่ยนมาเป็น ผลไม้ไทย แทนขนมหวานที่มีรสหวานจัด ไม่ว่าจะเป็น ทองหยิบ, ทองหยอด ฝอยทอง, ขนมชั้น, ขนมหม้อแกง, ปลากิมไข่เต่า, ขนมครองแครงน้ำกะทิ, เนื่องจากเป็นปัจจัยทั้งก่อและกระตุ้นโรคเบาหวานในคราวเดียวกัน ที่สำคัญผลไม้ไทยจะค่อนข้างมีราคาถูกกว่าผลไม้ต่างประเทศ และความหวานจากผลไม้จะไม่ทำร้ายสุขภาพได้เหมือนกับขนมหวาน เช่น ภาคใต้มีสับปะรด, มังคุด, มะม่วง แตงโม ก็สามารถนำมาเป็นอาหารใส่บาตรพระได้ ส่วนของการใส่ปัจจัยอย่าง เงิน ลงในบาตรพระ ผมมองว่าพระในต่างจังหวัดยังจำเป็นต้องใช้เงินในการจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ หรือค่าเดินทางไปพบแพทย์ ดังนั้นการใส่ปัจจัยก็ยังทำได้ แต่ไม่ควรใส่มากเกินไป หรืออยู่ที่ประมาณ 50-100 บาท อีกทั้งต้องใส่ซองให้เรียบร้อย และถวายในย่ามของพระสงฆ์ เพื่อไม่ให้เชื้อโรคจากธนบัตรปนเปื้อนในอาหารใส่บาตรอื่นๆ

นอกจากการเตรียมอาหารเพื่อสุขภาพแล้ว การเตรียมตัวไปทำบุญในวันมาฆบูชาโดยการนุ่งขาวห่มขาวไปนั่งสมาธิหรือวิปัสสนาในวันสำคัญดังกล่าว ก็เป็นสิ่งที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติ เพราะเป็นการทำให้จิตใจสงบ มีสติ และช่วยให้ระลึกถึงคุณงามความดี ที่เราสามารถทำในวันแสดงธรรมจากพระพุทธเจ้าได้เช่นเดียวกัน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"