24 พ.ย.2562 นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้เตรียมสรุปสถานะการเจรจาการค้าของไทยกรอบต่างๆ เพื่อนำเสนอให้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์คนใหม่ และรัฐบาลใหม่ เพื่อพิจารณา โดยมีกรอบการเจรจาที่จะต้องขอนโยบายจากรัฐบาล คือ ความตกลงครอบคลุมและก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ที่จะต้องพิจารณาว่าจะให้ความเห็นชอบให้ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกCPTPP หรือไม่ เพราะเรื่องนี้ ค้างอยู่ และต้องรอนโยบายจากรัฐบาลก่อนที่จะดำเนินการต่อ
“กรมฯ ในฐานะที่รับผิดชอบในการเจรจา ได้มีการศึกษาผลดีผลเสียของการเข้าร่วมความตกลง CPTPP รวมทั้งได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคแล้ว และปัจจุบัน ได้มีการสรุป ผลดี ผลเสีย แนวทางการปรับตัว มาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบครบถ้วนแล้ว เหลือก็แต่รอความชัดเจนในระดับนโยบายว่าจะให้ดำเนินการอย่างไร ซึ่งหากมีความชัดเจนแล้ว กรมฯ ก็จะเดินหน้าต่อทันที เพราะปัจจุบันมีหลายประเทศที่สนับสนุนให้ไทยเข้าร่วม ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นต้น”
ทั้งนี้ ผลการศึกษา พบว่า การเข้าร่วม CPTPP ในด้านการค้า ไทยจะได้รับประโยชน์จากการเปิดตลาดเพิ่มเติม กับประเทศที่ไทยมี FTA อยู่แล้ว เช่น เนื้อไก่สดและไก่แปรรูป เนื้อสุกร ข้าว น้ำตาล รถยนต์และชิ้นส่วน เป็นต้น และจากประเทศที่ไทยไม่เคยมี FTA ด้วย คือ แคนาดาและเม็กซิโก เช่น อาหารทะเล อาหารแปรรูป ยางพารา ผลไม้ปรุงแต่งและแปรรูป เนื้อไก่ปรุงแต่งและแปรรูป รถจักรยานยนต์ รถยนต์และชิ้นส่วน เป็นต้น
ส่วนในด้านการลงทุน การเข้าร่วม จะสร้างโอกาสในการดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่ไทยกำลังขับเคลื่อนในโครงการเขตพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) แต่ถ้าไทยไม่เข้าร่วม จะทำให้เสียโอกาสในการเป็นฐานการผลิตและดึงดูดการลงทุน เพราะนักลงทุนอาจจะพิจารณาไปลงทุนที่อื่นแทน สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเข้าร่วม CPTPP จะเสนอให้มีมาตรการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งที่เคยพิจารณากันมา ก็คือ ให้มีกองทุน CPTPP หรือจะมีมาตรการอย่างอื่นที่นำมาใช้ในการช่วยเหลือก็ได้
นางอรมนกล่าวว่า สำหรับข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่อยู่ระหว่างการเจรจา และหยุดชะงักไปก่อนหน้านี้ ก็จะเสนอเพื่อขอนโยบายในการเจรจาต่อ เช่น FTA ไทย-สหภาพยุโรป (อียู) FTA ไทย-สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) เพราะเป็น FTA ที่ได้มีการเจรจากันมาแล้ว แต่ค้างอยู่ ซึ่งเมื่อมีรัฐบาลใหม่ ทั้งอียู และ EFTA ก็พร้อมที่จะเจรจากับไทย โดยล่าสุดที่ได้คุยกับทางอียู เขาแจ้งว่ากำลังรอรัฐสภาใหม่ ถ้าได้ ก็พร้อมที่จะเจรจาทันที
“การทำ FTA กับอียู มั่นใจว่าจะใช้ระยะเวลาในการเจรจาไม่นาน เพราะเคยเจรจากันมาแล้ว มีกรอบการเจรจาแล้ว แค่มาเจรจากันต่อ ซึ่งที่ผ่านมา ก็มีตัวอย่างประเทศที่ทำสำเร็จเร็ว คือ เวียดนาม เริ่มปี 2559 ตอนนี้เจรจาเสร็จแล้ว กำลังรอให้มีผลบังคับใช้ ซึ่งหากไทยเจรจาได้ช้า ก็จะเสียเปรียบ เพราะเวียดนามเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยในตลาดอียู”นางอรมนกล่าว
สำหรับสถานะปัจจุบันของ CPTPP ความตกลงได้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 ธ.ค.2661 ที่ผ่านมา และได้เริ่มต้นรับสมาชิกใหม่แล้ว โดยหากไทยต้องการสมัครเข้าเป็นสมาชิก จะต้องส่งหนังสือแสดงเจตจำนงไปที่นิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นผู้ประสานงานรับสมาชิกใหม่ จากนั้นสมาชิกทั้ง 11 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์ และเวียดนาม จะตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อพิจารณาและเจรจาต่อรองกับไทย ก่อนที่จะประกาศรับไทยเป็นสมาชิกใหม่
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |