23 มิ.ย. 2562 เมื่อเวลา 15.00 น. ที่ห้องประกอบ หุตะสิงห์ อาคารเอกนกประสงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ท่าพระจันทร์) ภาคประชาชน 23 เครื่องข่าย นำโดย โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) ร่วมกันจัดงาน วาระแรกประชาชน “ปักหมุด ปลดอาวุธ คสช.” โดยมีตัวแทนพรรคการเมืองประกอบด้วย นายวิรัตน์ วรศสิริน รองหัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย พล.ท.พงศกร รอดชมภู รองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ นายวิโชติ วัณโณ รองหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร ที่ปรึกษาและหัวหน้าศูนย์สื่อสารข่าวเฉพาะกิจ พรรคเพื่อไทย เข้าร่วม
นายวิรัช กล่าวว่า การปลดอาวุธ คสช. นั้นเป็นเรื่องยากมาก เพราะทุกอย่างมีการวางแผนมาเป็นขั้นตอน ตั้งแต่การเริ่มต้นร่างรับธรรมนูญ โดยขั้นตอนการทำประชามติ ประชาชนถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความชอบธรรม ซึ่งทางพรรคเสรีรวมไทยต้องการเห็นประเทสปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างแท้จริง ไม่ใช่ดึงพระองค์ท่านลงมาเพื่อว่าร้ายคนอื่น ซึ่งเรื่องนี้ไม่เป็นผลดีต่อระบบการปกครอง รวมทั้งการพยายามสืบทอดอำนาจโดยไม่คำนึงถึงจริยธรรม จะเป็นผลร้ายกับประเทศชาติ เพราะอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย อย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงแค่ตัวหนังสือ
“ประเทศไทยมีการผลิตซ้ำทางความคิดอยู่เสมอว่า การรักษาความมั่นคงภายในเป็นอำนาจหน้าที่ของทหาร แต่ภาระอำนาจหน้าที่ของประเทศที่เป็นประชาธิปไตยนั้น หน้าที่นี้เป็นอำนาจของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และฝ่ายมหาดไทย ซึ่งประเทศไทยมีความพยายามทำภารกิจนี้ให้เป็นของทหาร ซึ่งอำนาจหน้าที่ของทหาร มีเพียงเตรียมกำลัง และ รบกับอริราชศัตรู ส่วนภารกิจรอง อาจจะมีอย่างการช่วยเหลือบรรเทา สาธารณภัย อย่างไรก็ตาม อย่าง พรบ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร นั้นเป็นส่วนที่ทำให้ทหารเข้ามามีบทบาทในการรักษาความมั่นคงภายใน จนทำให้ประชาชนคิดว่า ทหารเป็นคนทำหน้าที่รักษาความมั่นคงภายใน” รองหัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ระบุ
นายวิโชติ กล่าวว่า คำสั่ง คสช.ที่ออกมา ไม่ว่าจะเป็นประกาส หรือคำสั่ง เป็นการออกโดยกลุ่มบุคคลที่ยึดอำนาจ แน่นอนว่า ชนชนชั้นใดออกกฎหมาย ย่อมเป็นผลประโยชน์ของ ชนชั้นนั้น ซึ่งไม่ได้เกิดจากรากฐานความต้องการของประชาชนเลยแม้แต่น้อย ซึ่งการที่เราจะยื่นให้มีการแก้ไขประกาศ คสช.ทั้ง 35 ฉบับ นั้น เป็นความชอบธรรม เป้าหมายของกฎหมายไม่ใช่สิ่งที่จะมาจำกัดของประชาชน แต่เป็นการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่
“มีคำกล่าวว่า ระบอบเผด็จการไม่ได้ตายไป แม้จอมเผด็จการจะลงจากเวที ตอนนี้เราเห็นอยู่ในกฎหมายทั้งปวง ทั้งประกาศและคำสั่งทั้ง 512 ฉบับ ควรต้องล้มล้างไปให้หมด ผ่านรัฐสภา เพราะกฎหมายที่ถูกต้องควรออกมาจากรัฐสภาที่มีตัวแทนของประชาชน”
พล.ท.พงศกร กล่าวว่า เราพยายามหยุดยั้งการสืบทอดอำนาจ และผลพวงจากการใช้อำนาจของ คสช. รวมทั้งเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งการที่เราจะแก้กฎหมายได้ เพราะ กมธ.การแก้กฎหมายนั้น มีตัวแทนจากภาคประชาชน ฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้าน ในส่วนแรกคือเรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี หรือ กรณีการเพิ่มอำนาจของ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน(กอรมน.) ให้มีอำนาจเหนือ ผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดถูกครอบงำ อำนาจดังกล่าวก็ครอบคลุมลงไปถึงประชาชนอีกที แสดงให้เห็นว่า ประชาชนถูกควบคุมโดยไม่มีสิทธิเสรีภาพโดยแท้จริง
“ทั้งระบบ ประชาชนทุกควบคุมทั้งหมด เพราะองค์กรอิสระก็จมาจากการแต่งตั้งของ สว. อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ประชาชนตตื่นรู้มากขึ้น และรู้ว่า สิทธิเสรีภาพของเรา ใครมาแย่งไปไม่ได้ เพราะเขาไม่ยอม ซึ่งในสว่นนี้ต้องรบกวนภาคประชาชนร่วมมือกับภาคการเมือง เพื่อเดินหน้าแก้กฎหมาย ซึ่งทางพรรคอนาคตใหม่เองเห็นด้วยทุกประการในการเดินหน้า”
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีคือ คือ รูปแบบเดียวกับสหภาพโซเวียตใช้ โดยระบุให้ทุกคนเดินตาม เป็นระบบราชการรวมศูนย์ สุดท้ายสหภาพโซเวียต ล่มสลายเพราะพวกเขาอยู่ไม่ได้ เช่นเดียวกับระบบสังคมมแบบปีระมิด อย่างไรก็ตาม เราติดมายคติ ว่าพวกเขามีอำนาจ แต่หารู้ไม่ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน เป็นของพวกเรา
“การที่จะเปลี่ยนระบบได้คือ เราต้องปฏิรุปกองทัพ แบบที่ผมพูดไว้เสมอ เราต้องห้ามให้ทหารไปเที่ยวด้อมๆมองๆตามบ้านชาวบ้าน ต้องยุติหน้าที่ต่างๆเหล่านี้ที่ซ่อนอยู่ในกฎหมายหลายตัว หากเราดูการยึดอำนาจตลอดมา จะค่อยๆเห็นการพัฒนาของ กอรมน. แปลว่า มีการวางแผนอยู่ตลอดเวลา ที่พยายามเอาอำนาจจากประชาชนไป ซึ่งผมอยากจะสรุปว่า หากเราอยากจะชนะพวกเขา ต้องดึงสิ่งเหล่านี้ออกจากฝ่ายตรงข้าม 1.ความชอบธรรม 2.มวลชนของพวกเขาก็มี แต่ไม่เยอะพอ 3.คนที่สนับสนุนเขา อย่างเนติบริกร บางคนก็ถอยแล้ว 4.บรรดานายทุน 5.สิ่งที่มองไม่เห็น อย่างเรื่องบารมี เป็นต้”
พ.ต.อ. ทวี กล่าวว่า รัฐธณรมนูญฉบับปัจจุบันเขียนขึ้นมาเพื่อรับใช้ พล.อ.ประยุทธ์ ให้เป็นนายกรัฐมนตรี โดยไม่เปิดโอกาสให้ประชาชน ผลการเลือกตั้งวันที่ 24 มี.ค. เป็นต้นมา แม้พรรคฝ่ายประชาธิปไตยจะชนะ แต่ที่เป็นบทเรียนของประชาชน คือ ตามาตรฐานของคุณธรรม สัจจะจากคำพูดมีความสำคัญ แต่พรรคการเมืองบางพรรคางว่าจะไม่สนบัสนุนขั้วสืบทอดอำนาจ แต่ด้วยกลไกของรัฐธรรมนูญ หรือ อำนาจอื่นๆ กลับทำให้พรรคเหล่านี้ลืมประชาชน เมื่อพรรคการเมืองทั้ง 7 พรรค มีอุดมการณ์ร่วมกันคือ ทำให้บ้านเมืองไปสู่ประชาธิปไตย เพราะเราเห็นว่าปัญหาของประเทศ หากแก้ด้วยเผด็จการก็มีแต่ความเหลื่อมล้ำ และทุกข์ยาก เราเชื่อว่า หลักการประชาธิปไตยเท่านั้น จะนำประเทศไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง
พล.ท.ภราดร กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยเห็นพ้องกับประชาชนผู้รักประชาธิปไตย คือ ยุติผลพวงการสืบทอดอำนาจของ คสช. โดยเราจะขับเคลื่อนต่อไปอีกเพื่อยุติ คำสั่งหรือประกาศที่มาจากคสช.ทั้งหมด ซึ่งเราเชื่อว่า เหตุการณ์ที่เราเป็นอยู่นั้นไม่อยาก คราบใดที่รัฐธรรมนูญระบุว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน มันไม่มีทางตัน และมีพัฒนาการเสมอ อีกไม่นานเกินรอเมื่อพวกเขามีรัฐบาลอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขอให้เขานับถอยหลังไว้เลย ซึ่งขอให้ประชาชนมั่นใจได้เลยว่า อย่างไรเสียอำนาจอธิปไตยก็เป็นของประชาชน
“คสช.ใช้ความฉ้อฉลในการการเปลี่ยนถ่ายอำนาจ จากคำสั่งหรือประกาศต่างๆ ไปอยู่ในกฎหมายปกติ ในพ.ร.บ.ต่างๆ อย่างกรณี พรบ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กอรมน.จังหวัด สามารถเชิญบุคคลไปให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ผ่านคณะกรรมการที่มีผู้ว่า เป็นประธานกรรมการ แต่สุดท้าย แม่ทัพภาคก็เป็นนายของเขาอยู่ดี”
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |