26 ก.พ.61- เกิดประเด็นดราม่าในรั่วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างอาจารย์กับนิสิต เกี่ยวกับประเด็นสิทธิเสรีภาพ กับความรับผิดชอบส่วนตัว โดยเฉพาะเรื่องการแต่งกาย เริ่มจาก ผศ.ประมวล สุธีจารุวัฒน - คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว Pramual Suteecharuwat เมื่อวันที่ 22 ก.พ.ที่ผ่านมาว่า
วันก่อนครับ จารย์มวลให้นิสิตทำงานมา present หน้าชั้น
นิสิตชายนายหนึ่งขึ้นมา present ด้วยสภาพชายเสื้อออกนอกกางเกง รองเท้าแตะ และบรรยายงานของตัวเองโดยการอ่านข้อความจากโทรศัพท์มือถือ มีเพื่อนนิสิตอีกคนนั่งอยู่ข้างๆ คอยกดคอมพิวเตอร์เลื่อนสไลด์ให้ ฟังดูสิ่งที่นิสิตเล่า จับสัญญาณได้ว่าเพื่อนน่าจะเป็นคนเตรียมข้อมูล และนิสิตแค่มายืนอ่านเป็นคาราโอเกะ ไม่เข้าใจสิ่งที่ตัวเองกำลังบรรยาย
หลัง present จบลง จารย์มวลจึงพูดขึ้นว่า
"เวลาเราไปซื้อของ packaging ของสินค้าคือด่านแรกที่เราจะเกิด first impression กับของที่อยู่ข้างใน
ถ้าห่อสวย แต่แกะออกมาสินค้าคุณภาพต่ำ เราก็จะเสียความรู้สึก และคงไม่ซื้อสินค้าตัวนี้อีก หรือถ้า packaging ไม่สวย เราอาจไม่ประทับใจ อาจไม่ตัดสินใจทดลองเสียด้วยซ้ำ วันดีคืนดีไปหยิบมาลอง ก็อาจพบ ว่า เห้ย! ของดีนี่หว่า
ถ้า packaging ดี และของมีคุณภาพดี นั่นคือสุดยอด
การแต่งตัวของคุณ ก็คือ packaging ผมไม่ตำหนิอะไรคุณที่แต่งตัวเฮงซวยขึ้นมา present งาน ก็เพื่อเปิดโอกาสให้คุณพิสูจน์ว่า การแต่งกายไม่ได้สัมพันธ์อะไรกับคุณภาพการเรียน การทำงาน
แต่ถ้า packaging ของคุณห่วย และสินค้าของคุณเฮงซวย คุณก็คือกรณีตัวอย่างที่ทำให้มหาวิทยาลัยต้องออกมารณรงค์เรื่องการแต่งกาย
ถ้าคุณคิดว่าการแต่งกายไม่เกี่ยวอะไรกับคุณภาพ หรือความสามารถของคุณ คุณก็ต้องพิสูจน์ตัวเองด้วยการทำงานที่มีคุณภาพสูงออกมาโชว์ ไม่ใช่แต่งตัวเฮงซวย แล้วก็ทำงานเฮงซวย"....
โพสต์ดังกล่าวนำไปสู่การวิพากษ์วิจาณณ์อย่างกว้างขวาง ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยกับอาจารย์ อย่างไรก็ตามมีโพสต์ของนิสิตบางคน ทำให้การวิพากษ์วิจารณ์ดุเดือดขึ้น คือโพสต์ของนิสิตที่ใช้ชื่อเฟซบุ๊กว่า Tanawat Wongchai
ที่ตั้งคำถามว่า.... Present ไม่ดี แล้วเกี่ยวอะไรกับการแต่งกายอะ
แล้วแต่งกายดีจะส่งผลให้ present ดีได้ยังไงอะ งง
(ถึงแม้แกพยายามจะบอกว่าการแต่งกายไม่ได้สัมพันธ์กับคุณภาพการ present แต่ที่แกเขียนมาทั้งหมด มันสื่อว่าแกกำลังมองว่าการแต่งกายสัมพันธ์กับคุณภาพในการ present งาน)
แล้วการที่นิสิตแต่งกายไม่ถูกระเบียบและ present ไม่ดี มันทำให้มหาวิทยาลัยต้องออกมารณรงค์ยังไงอะครับ อะ สมมติว่ามหาวิทยาลัยรณรงค์ให้นิสิตแต่งกายถูกระเบียบได้สำเร็จ แล้วมันจะส่งผลทำให้นิสิตสามารถ present ได้ดีขึ้นทันตาเห็นเลยหรอครับ มันไม่เกี่ยวกันหรือเปล่า (ผมถึงบอกว่าอาจารย์ได้ผูก 2 เรื่องนี้ คือ แต่งกายไม่ถูกระเบียบ เลยทำให้ present ได้ไม่ดี ว่าเป็นเรื่องเดียวกันและสัมพันธ์กันไปแล้ว)
แล้วนี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ที่อาจารย์มองนิสิตเป็นแค่สิ่งของ ไม่ใช่มองนิสิตเป็นนิสิตที่มีสิทธิเสรีภาพ และมีความคิดเป็นของตัวเอง
แล้วนี่ก็ bias เต็มๆ อะครับ ตั้งป้อมก่อนแล้ว ว่าเด็กที่แต่งกายไม่ถูกระเบียบคนนี้จะต้อง present ได้แย่แน่ๆ แล้วการแต่งกายแบบนี้มันเฮงซวยยังไงหรอครับ ใครเป็นคนกำหนดอะ ว่าการที่ชายเสื้อออกนอกกางเกง ใส่รองเท้าแตะ คือการแต่งกายที่เฮงซวย
ผมว่าไอ้ระเบียบที่ล้าหลัง คร่ำครึ ของจุฬาฯ ที่ force ให้นิสิตต้องแต่งกายถูกระเบียบอย่างนั้นอย่างนี้มากกว่า ที่เฮงซวย แล้วอย่ามาบอกว่าถ้าระเบียบนี้เฮงซวยก็ต้องแก้ให้ได้นะครับ คุณคิดหรอว่าผู้บริหารที่ อนุรักษ์นิยมสุดโต่งแบบนั้น จะยอมให้เกิดการแก้ไขระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการแต่งกายขึ้น การแก้ไขระเบียบต้องผ่านความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัย แล้วผมกล้าท้าให้คุณไปดูรายชื่อกรรมการสภามหาวิทยาลัยได้เลยครับ ว่าแต่ละคนคัดค้านการยกเลิกบังคับแต่งกายชุดนิสิตขนาดไหน ยิ่งไปกว่านั้นการมีอาจารย์ที่มองนิสิตเป็นแค่สินค้าแบบนี้แหละที่เป็นเรื่องเฮงซวย....
และจากโพสต์นี้ กลายเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงในโลกไซเบอร์อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งในรั้วมหาวิทยาลัย และภายนอก ซึ่งนิสิตหลายคนระบุตรงกันว่า Tanawat Wongchai เป็นนิสิตกลุ่มเดียวกับนายเนติวิทย์ และมีแนวคิดที่คล้ายๆกัน และจากการติดตามพบว่า Tanawat Wongchai เคลื่อนไหวกลุ่มเดียวกับนายเนติวิทย์ รวมทั้งกลุ่มคนอยากเลือกตั้งอีกด้วย
ล่าสุด ผศ.ประมวล โพสต์ข้อความอีกครั้ง โดยตั้งหัวข้อว่า "เสรีภาพ เผด็จการ กับบัณฑิตอุดมคติ" ระบุว่า
....ในระหว่างที่ข้อเขียนของผมบน facebook เกี่ยวกับเรื่องการแต่งกายของนักเรียนในชั้นเรียน โดยยกตัวอย่างเรื่อง “packaging” หรือ “บรรจุภัณฑ์” กำลังร้อนระอุ มีผู้คนมากหน้าหลายตา รู้จักบ้าง ไม่รู้จักบ้าง กำลังโต้เถียงกันอย่างเอาเป็นเอาตาย ผมตั้งข้อสังเกตถึงประเด็นที่น้องๆ หลายคนกำลังพยายามนำเสนอ เพื่อหักล้างสิ่งที่ผมพยายามสื่อสาร ว่าด้วยเรื่อง “เสรีภาพ” กับเรื่อง “เผด็จการ” ซึ่งในที่นี้อาจสะท้อนออกมาจากเรื่องการแต่งกาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งกายอันเกิดขึ้นจากระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย (หรือสถานที่อื่นๆ ตามแต่เงื่อนไข) กาละเทศะ (อันอาจเกิดจากเงื่อนไขและธรรมเนียมปฏิบัติที่แต่ละสังคมกำหนดขึ้น) และส่วนสุดท้ายที่ผมไม่ได้กล่าวถึงในข้อเขียนต้นเรื่อง คือ “Code of Conduct” หรือ “หลักปฏิบัติ” อันเกิดจาก “practices” หรือผลการปฏิบัติซ้ำๆ จนพบเงื่อนไข หรือแนวทางที่ดีเพื่อใช้ในการประกอบวิชาชีพ เช่น การแต่งกายเพื่อความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน การแต่งกายเพื่อผลลัพธ์ในทางจิตวิทยา ฯลฯ...
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |