22 มิ.ย. 2562 น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า การค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนพ.ค.2562 การส่งออกมีมูลค่า 21,017.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 5.79% เทียบกับเดือนพ.ค.2561 ถือว่าขยายตัวติดลบสูงสุดในรอบ 34 เดือนนับจากเดือนก.ค.2559 ที่ติดลบถึง 6.27% และเมื่อคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 663,647 ล้านบาท ลดลง 4.04% ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 20,836.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 0.64% เมื่อคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 666,810.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.17% ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 181.5 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่เมื่อคิดเป็นเงินบาทขาดดุล 3,163.3 ล้านบาท แต่เมื่อหักมูลค่าการส่งออกสินค้าทองคำและน้ำมัน ที่มีความผันผวนมากออก ทำให้เดือนพ.ค. การส่งออกติดลบเพียง 2.6%
สำหรับการส่งออกในช่วง 5 เดือน ของปี 2562 (ม.ค.-พ.ค.) มีมูลค่ารวม 101,561.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 2.70% เมื่อคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 3.204 ล้านล้านบาท ลดลง 2.31% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 100,830.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 0.99% เมื่อคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 3.229 ล้านล้านบาท ลดลง 0.45% ส่งผลให้เกินดุลการค้า 731 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่เมื่อคิดเป็นเงินบาทขาดดุล 24,676.8 ล้านบาท
“การส่งออกเดือนพ.ค. ที่ลดลง ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าชะลอตัว ภาวะการเงินโลกที่ตึงตัว รวมถึงความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองในยุโรป การถอนตัวออกจากสภาพยุโรป (อียู) ของสหราชอาณาจักรยังไม่ยุติ รวมถึงค่าเงินบาทที่แข็งค่ามาก แต่ยังดีที่การส่งออกไทยได้รับผลกระทบน้อยกว่าหลายประเทศในภูมิภาค ที่ส่วนใหญ่ติดลบมากกว่า 10% เช่น สิงคโปร์ ติดลบสูงถึง 17% และการส่งออกไทยยังขยายตัวได้ดีในหลายตลาด ทั้งตลาดเดิม อย่างสหรัฐฯ และอินเดีย และตลาดดาวรุ่งใหม่ เช่น แคนาดา รัสเซียและซีไอเอส โดยสินค้าเกษตร โดยเฉพาะกลุ่มออาหารและเครื่องดื่มยังขยายตัวได้ดีมาก”
น.ส.พิมพ์ชนกกล่าวว่า ในเดือนพ.ค. ผลกระทบของสงครามการค้า ทำให้มูลค่าการส่งออกไทยหายไป 135 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 0.64% ของมูลค่าการส่งออกเดือนพ.ค. เพราะทำให้มูลค่าส่งออกสินค้าไทยที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตของจีนลดลงมากถึง 281 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือลดลง 4.3% จากการลดลงของแผงวงจร เครื่องจักรและส่วนประกอบ ยานยนต์และชิ้นส่วน รวมถึงมูลค่าส่งออกสินค้าที่สหรัฐฯ ใช้มาตรการเซฟการ์ดขึ้นภาษีนำเข้า ทั้งแผงโซลาเซลล์ และเครื่องซักผ้า ลดลงมาก แม้สินค้าบางรายการที่ส่งออกไปสหรัฐฯ เพื่อทดแทนสินค้าจีน มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 126.8 ล้านเหรียญสหรัฐ
สำหรับเดือนพ.ค.2562 ที่มูลค่าส่งออกลดลงมาก มาจากหมวดสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ลดลง 1.4% สินค้าสำคัญที่ลดลง เช่น น้ำตาลราย ข้าว ยางพารา ทูน่ากระป๋อง และสินค้าอุตสาหกรรม ลดลง 3% สินค้าสำคัญที่ลดลง เช่น ทองคำ สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น ขณะที่ตลาดส่งออกของไทย ที่ยังขยายตัวได้ดี เช่น สหรัฐฯ บรูไน อินเดีย เป็นต้น ส่วนตลาดที่หดตัว เช่น ญี่ปุ่น อียู อาเซียน จีน ทวีปออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง ละตินอเมริกา
อย่างไรก็ตาม ต้องการเสนอให้รัฐบาลใหม่ เร่งเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับประเทศใหม่ๆ โดยเฉพาะอียู ไม่เช่นนั้น ไทยจะเสียเปรียบการแข่งขันส่งออกกับประเทศคู่แข่ง รวมถึงผลักดันการส่งออกภาคบริการอย่างจริงจัง และดึงดูดการลงทุนอุตสาหกรรมใหม่ เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ไม่เช่นนั้น สินค้าอุตสาหกรรมส่งออกของไทยจะล้าสมัย และเสียศักยภาพด้านการแข่งขัน
น.ส.บรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า กรมฯ ได้จัดทำแผน และกิจกรรมผลักดันการส่งออกแบบลงลึกในแต่ละภูมิภาคเสร็จแล้ว ซึ่งจะเริ่มดำเนินการได้ทันที โดยจะเริ่มเห็นผลสำเร็จได้ตั้งแต่เดือนก.ค.2562 เป็นต้นไป และหวังว่าจะทำให้มูลค่าส่งออกตั้งแต่เดือนก.ค.เป็นต้นไป ทำได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 21,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และจะทำให้มูลค่าส่งออกทั้งปีขยายตัวได้ตามเป้าหมาย 3% คิดเป็นมูลค่า 260,184 ล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ กรมฯ ยังเตรียมเสนอแผนการส่งออกในช่วงหลังของปี 2562 ให้รัฐบาลชุดใหม่ได้พิจารณา โดยเน้นการเชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ และผลักดันทำเอฟทีเอ , การเจาะตลาดใหม่ , การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า , ส่งเสริมการค้าออนไลน์ , ประชาสัมพันธ์สินค้าไทยผ่านผู้มีอิทธิพลในสื่อโซเชียล อย่างบล็อกเกอร์ หรืออินฟลูเอนเซอร์ เป็นต้น
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |