ภาษาตะวันตก ทางรอดยุคล่าอาณานิยม


เพิ่มเพื่อน    


    ยากที่จะบอกว่าชาวสยามคนแรกที่มาสามารถพูดภาษาอังกฤษได้คนแรกเป็นใคร  และเกิดขึ้นมาสมัยไหน  เพราะไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร 
    ที่จารึกไว้ในประวัติศาสตร์ หากนับเฉพาะชาวตะวันตก เดินทางมายังแผ่นดินที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบัน  ก็ต้องถอยหลังไปช่วง พุทธศตวรรษที่ 7-8 มีชาว อาหรับ กรีก และ โรมัน แถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เดินเรือเข้ามาค้าขายยังเมืองต่างๆ ในดินแดนแถบ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
    ในเอกสารของ กรีก โรมัน อาหรับ และ อินเดีย เรียกดินแดนแถบนี้ว่า แหลมทอง หรือ สุวรรณภูมิ ในเอกสารของจีน ระบุว่า ดินแดนสุวรรณภูม มีรัฐสำคัญในบริเวณนี้ คือ  ฟูนัน (อาณาจักรพนม)  กิมหลิน (อาณาจักรสุวรรณภูมิ)  หลั่งยะสิว (อาณาจักรนครชัยศรี)  พันพัน (แหล่งโบราณบ้านดอน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี) และ ลังเกียสุ (อาณาจักรลังกาสุกะ ต่อมาคือ ปัตตานี) เป็นต้น
    ชาวโปรตุเกสออกแสวงหาดินแดนใหม่โดยเดินทางมาทางตะวันตก อ้อมทวีปอาฟริกา ผ่านแหลมกู๊ดโฮป (Good Hope) และขยายตัวอย่างรวดเร็วมาทางเอเชีย 
    อัลฟอนโซ ดาลบูเคิร์ก (Alfonso d'Albouquerque) อุปราชของพระเจ้าแผ่นดินโปรตุเกส (Envoy) หรือผู้แทนพระองค์ เข้ายึดเมืองกัว (Goa) ซึ่งเป็นเมืองท่าทางฝั่งตะวันตกของอินเดียได้เมื่อปี ค.ศ.1509 ก่อนหน้านี้เล็กน้อย พระเจ้ามานูแอล (Manoel) กษัตริย์โปรตุเกส ได้ส่งดีโอโก โลเปซ เดอ เซเกอีรา (Diogo Lopes de Sequeira) ออกสำรวจหาข้อมูลและแหล่งสินค้าต่างๆ ตามเกาะและประเทศทางมาดากัสการ์ (Madagascar), ศรีลังกา (Ceylon) และมะละกา(Malacca) ปี ค.ศ.1508 ที่มะละกานี้เอง ชาวโปรตุเกส 27 คน ได้ถูกจับเป็นเชลย ในจดหมายของเชลยคนหนึ่งที่เขียนถึงอัลบูเคิร์ก   ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1510 กล่าวไว้ว่า เวลานี้กษัตริย์แห่งมะละกากำลังทำสงครามอยู่กับกษัตริย์แห่งสยามซึ่งมีอาณาจักรกว้างใหญ่และมีท่าเรือต่างๆ จำนวนมาก และจากสาเหตุนี้เองที่ทำให้อัลบูเคิร์กตัดสินใจโจมตีมะละกา 
               อัลบูเคิร์กยึดมะละกาได้เมื่อปี ค.ศ.1511 และได้เริ่มต้นสถาปนาสัมพันธภาพฉันมิตรกับประเทศสยามในทันที ด้วยการส่งดูอาร์ต เฟอร์นันเดส (Duarte Fenandes) เป็นทูต มาเฝ้าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ในปีเดียวกันนั้นเอง เหตุผลที่อัลบูเคิร์กสถาปนาสัมพันธภาพครั้งนี้กับประเทศสยาม เป็นเพราะประเทศสยามเป็นประเทศที่มั่นคงและมั่งคั่ง การจะทำสงครามกับประเทศสยามคงไม่ยากนักก็จริง แต่การรักษาไว้ต่อไปก็ไม่ง่ายนัก 
    อีกประการหนึ่งแม้ประเทศสยามจะเคยอ้างว่ามะละกาเป็นประเทศราชของตน ต้องส่งบรรณาการแก่ประเทศสยามมาตั้งแต่ครั้งสมัยพระรามาธิบดี อู่ทอง  แต่มะละกาก็ไม่ได้กระทำตนเป็นประเทศราช หลายครั้งยังทำตนเป็นศัตรูกับประเทศสยาม  
    แล้วอังกฤษเข้ามาเมื่อไหร่? 
    ปี 1612 อังกฤษเข้ามาสยามครั้งแรก แต่บางตำราบอกว่า ค.ศ. 1586  หรือ พ.ศ.2129 พ่อค้าชาวอังกฤษ ราล์ฟ ฟิตซ์ ralph fitch เดินทางมายังร่างกุ้งของพม่า  ไปยังอาณาจักรทางใต้ล้านนา เป็นครั้งแรก และสอนภาษาอังกฤษให้กับคนที่นั้นเป็นครั้งแรก  แต่ไม่มีการบันทึกไว้หลักฐานว่าคือใคร 
    การเรียนภาษาอังกฤษเป็นเรื่องเป็นราวจริงๆเริ่มจากในพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งโรงเรียนขึ้น จ้างครูสตรีชาวอังกฤษชื่อแอนนา เลียวโนเวนส์ มาถวายพระอักษรพระเจ้าลูกยาเธอและพระเจ้าลูกเธอที่ทรงพระเยาว์ 
    นอกจากนี้ก็โปรดฯให้เจ้าจอมหม่อมห้ามได้เรียนด้วย คนหนึ่งที่เรียนจนพูดภาษาอังกฤษได้คือเจ้าจอมมารดากลิ่นในกรมพระนเรศวรฤทธิ์ (ต้นสกุล กฤดากร)
    ล่วงมาถึงปลายรัชกาล คนไทยรุ่นแรกที่รู้ภาษาอังกฤษมากพอจะนำมาใช้ในราชการงานเมืองได้มีอยู่  5 คน คือ 
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ครั้งทรงดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ทรงศึกษากับครูสตรีและมิชชันนารีอื่นๆตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ต่อมาทรงศึกษาด้วยพระองค์เอง จนทรงแปลเรื่อง The Sleeper and the Waker ของเซอร์ริชาร์ด เบอร์ตันเป็นไทยได้ ชื่อว่า " นิทราชาคริต" 
    กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ หรือพระนามเมื่อครั้งประสูติว่าพระองค์เจ้ายอร์ช วอชิงตัน) พระโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทราบภาษาอังกฤษบ้างพอตรัสได้ และทรงถนัดเรื่องวิชาช่างเช่นเดียวกับพระชนกนาถ
    พระยาอรรคราชวราทร(หวาด บุนนาค)บุตรพระยาอภัยสงคราม สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ฝากนายเรือรบอเมริกันไปเรียนวิชาทหารเรือ เรียนรู้ทางภาษากลับมารับราชการในกรมท่าและได้เป็นพระยาเมื่อชรา
    พระยาอรรคราชวราทร (เนตร) บุตรพระยาสมุทบุรานุรักษ์ ไปเรียนภาษาอังกฤษที่เมืองสิงคโปร์จนใช้ได้ดี กลับมารับราชการได้เป็นขุนศรีสยามกิจ ผู้ช่วยกงสุลสยามที่เมืองสิงคโปร์ และหลวงศรีสยามกิจ ไวส์กงสุลสยามในเมืองสิงคโปร์ในรัชกาลที่ 4 ต่อมา ในรัชกาลที่ 5 ได้เป็นพระยาสมุทบุรานุรักษ์ตามอย่างบิดาและพระยาอรรคราชวราทรคนแรก
    เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เป็นลูกหลานสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ทางบ้านส่งไปเรียนที่อังกฤษอยู่ 3 ปี ต่อมาเดินทางกลับพร้อมกับเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ เมื่อครั้งเป็นราชทูตไปฝรั่งเศส ได้เป็นล่าม กลับมารับราชการเป็นนายราชาณัตยานุหาร หุ้มแพรวิเศษ ในกรมอาลักษณ์ พนักงานเชิญรับสั่งไปต่างประเทศ และเป็นราชเลขานุการภาษาอังกฤษตลอดรัชกาล 
    ในปลายรัชกาลนี้เอง ราชการได้เริ่มส่งนักเรียนไทยชุดแรกไปเรียนต่อที่ยุโรป 3 คน สองคนที่ไปเรียนในอังกฤษคือนายโต บุตรเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ กลับมารับราชการในบั้นปลายได้เป็นเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ และนายสุดใจ บุตรเจ้าพระยาภาณุวง์มหาโกษาธิบดี(ท้วม) กลับมารับราชการได้เป็นพระยาราชานุประพันธ์ ส่วนคนที่สามคือนายบิน บุตรเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ ไปเรียนที่ฝรั่งเศส กลับมาได้เป็นหลวงดำรงสุรินทฤทธิ์
    ส่วนในสยาม มีผู้เรียนภาษาอังกฤษกับมิชชันนารีแล้วเข้ารับราชการอีก 6 คน บางคนไปเรียนต่อต่างประเทศ บางคนก็เข้ารับราชการโดยตรง ส่วนใหญ่จะเจริญรุ่งเรืองในราชการอย่างดี
    เมื่อมาถึงรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้จัดตั้งชั้นเรียนภาษาอังกฤษขึ้นที่โรงทหารมหาดเล็ก จัดครูฝรั่งมาถวายพระอักษรบรรดาพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้านายที่ได้รับราชการเป็นเสนาบดีในรัชกาลที่ 5 อย่างสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงเล่าเรียนภาษาและวัฒนธรรมอังกฤษแทบทุกพระองค์ จึงทรงเป็นกำลังสำคัญอย่างมากในการพัฒนาบ้านเมือง
    จากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯยังโปรดเกล้าฯให้คัดเลือกลูกผู้ดีไทยรวมทั้งเชื้อพระวงศ์ประมาณ 20 คน ส่งไปเรียนภาษาอังกฤษที่สิงคโปร์อีกชุดหนึ่ง 
    3 คนในจำนวนนี้ได้ไปเรียนที่อังกฤษอีกด้วย คือ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์, หม่อมเจ้าเจ๊ก นพวงศ์ ในกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส และพระยาไชยสุรินทร์ (ม.ร.ว. เทวหนึ่ง ศิริวงศ์) เป็นต้น 
    คนไทยจำนวนน้อยนิดในรัชกาลที่ 3 และ 4 ที่รู้ภาษาตะวันตกเหล่านี้ เป็นผู้วางรากฐานความสำคัญของภาษาและวิทยาการตะวันตกให้เพิ่มพูนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 จนกลายเป็นความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่ขุนนางข้าราชการในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่จะส่งบุตรหลานของตนไปศึกษาต่อ ณ ทวีปยุโรป 
    และการรู้ภาษาอังกฤษรวมถึงภาษาตะวันตกอื่นๆนี่เอง ส่งผลให้แผ่นดินสยาม ไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของใคร. 
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"