ผู้ทรงคุณวุฒิสสส.ดูงานSTOP TEEN MOMลำปาง เคล็ดลับครองแชมป์วัยใสท้องไม่พร้อมต่ำสุดในเมืองไทย


เพิ่มเพื่อน    

        STOP TEEN MOM สสส.นำขบวนทีมผู้ทรงคุณวุฒิเจาะลึกวัยใสท้องวัยเรียนสู่สถานีสุขภาวะเขลางค์นครลำปาง เป็นแบบอย่างแก้ไขปัญหาท้องไม่พร้อมจำนวนน้อยที่สุดในเมืองไทยติดต่อกัน 3ปี เรื่องจริงของวัยรุ่นลำปางมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุเฉลี่ย 15-16 ปี ที่บ้านตัวเองและบ้านเพื่อน 55% รองลงมาเป็นบ้านเช่า และหอพัก ปรัศนี เด็กท้องลดลง แต่โรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศยังไม่ลดลง ผู้ทรงคุณวุฒิตั้งข้อสังเกต ปัญหาเด็กท้องทั่วประเทศ 9 หมื่นคน คลอดแล้วเด็กไปอยู่ที่ไหน คาดเดาว่าเด็กออกจากระบบโรงเรียนทั้งหมด เด็กท้องส่วนใหญ่เป็นเด็กเรียนดี วิชาการดี แต่วิชาชีวิตไม่ดี ต้องช่วยกันสอดส่อง รองพ่อเมืองลำปางตั้งเป้าหมายต้องทำให้ดีกว่าที่ 1 เพื่อรักษาแชมป์ที่ 1 ตลอดไป

      วัฒนธรรมทางเพศของสังคมไทยมุ่งอบรมเพศหญิงให้รักนวลสงวนตัว โดยไม่ให้ความรู้ความเข้าใจให้รู้เท่าทันอารมณ์ความรู้สึกตามธรรมชาติของตน ในขณะที่ส่งเสริมเพศชายให้เรียนรู้พฤติกรรมทางเพศอย่างเจนจัด แต่ไม่ได้ปลูกฝังความรับผิดชอบควบคู่กันไปด้วย ส่งผลให้เกิดปัญหาการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในกลุ่มวัยรุ่นวัยเรียน และนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น เมื่อวัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พร้อมจึงหาทางแก้ไขปัญหาแบบยถากรรม ส่งผลกระทบถึงปัญหาบาดเจ็บ พิการ และอันตรายจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยของแม่ รวมทั้งการทอดทิ้งทารกแรกเกิดใหม่ให้กลายเป็นปัญหาของสังคม จังหวัดลำปางเป็นแบบอย่างในการแก้ไขปัญหาท้องไม่พร้อมได้น้อยที่สุดในประเทศไทย จึงเป็นสถานที่ดูงานของผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. เจาะลึกถึงการทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล The Year of the best care for your best เทศบาลนครลำปาง

      จังหวัดลำปาง ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโลกสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นำผู้ทรงคุณวุฒิสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. ผู้ทรงคุณวุฒิเรื่องเด็กและคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ เพื่อศึกษาและติดตามผลการดำเนินงานโครงการพัฒนารูปแบบบูรณาการ การขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์กับเอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และยาเสพติดในวัยรุ่น โดยองค์กรสาธารณประโยชน์ จ.ลำปาง ในบรรยากาศ “จาวลำปางยินดีต้อนฮับเจ้า”

(สุรพล บุรินทราพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง)

 

        สุรพล บุรินทราพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ได้รับมอบหมายจาก ทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ชี้แจงในที่ประชุมว่า ทุกภาคส่วนใน จ.ลำปางทำงานเต็มความสามารถ ให้คุ้มค่ากับงบประมาณที่ได้รับจาก สสส. เพื่อให้งานสัมฤทธิผล คนและระบบสำเร็จไปด้วยดี ไม่มีงาน ไม่มีเงิน ก็เดินต่อไม่ได้ ไม่มีกฎระเบียบควบคุมก็เดินหน้าต่อไปไม่ได้อีก “ผมชอบพาคณะไปดูโครงการที่มีปัญหา เพื่อระดมสมองในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน การทำงานที่จะครองแชมป์เป็นที่ 1 ไม่ยาก แต่ต้องทำให้ดีกว่าที่ 1 จึงจะเป็นที่ 1 ตลอดไป จึงฝากข้อคิดด้วยว่าทำงานห้ามแผ่วเด็ดขาด มิฉะนั้นสถิติจะหล่นทันที

        ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้ช่วยผู้จัดการและรักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ กล่าวถึงบทบาท สสส.ในการสนับสนุนการดำเนินโครงการในพื้นที่ จ.ลำปาง นพ.วิวัฒน์ โรจนพิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ ผอ.ศูนย์นโยบายและการจัดการสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศ.ดร.ศิริพร จิรวัฒน์กุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุขภาวะทางเพศ สสส. กรพินธุ์ วงศ์เจริญ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.ลำปาง เบญญา เอมาวัฒน์ กลุ่มเพื่อนเพื่อเด็กและเยาวชน จ.ลำปาง นำเสนอรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ ดร.พัฒนา นาคทอง ทีมติดตามประเมินผลภายในโครงการ นำเสนอผลการติดตามการดำเนินงานโครงการ ผู้แทน 5 กระทรวงหลักใน จ.ลำปางเสนอการดำเนินงานภายใต้ พ.ร.บ. และยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

(นพ.วิวัฒน์ โรจนพิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ ผอ.ศูนย์นโยบายและการจัดการสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล)

 

        นพ.วิวัฒน์ โรจนพิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ ผอ.ศูนย์นโยบายและการจัดการสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ผมสวมหมวก 3 ใบ ที่ปรึกษา สสส. สำนัก 2 อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผอ.ศูนย์นโยบายและการจัดการสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี เข้ามาดูงานลำปางเป็น 1 ใน 4 จ.ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของ 77 จ.ทำงานตามยุทธศาสตร์ชาติและตาม กม.สสส.สนับสนุนต่อยอด 4 จ. เน้นการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน งาน/งบประมาณ/ระบบ/คน โดย สสส.สนับสนุนงบประมาณ และความรู้ด้วยการนำผู้ทรงคุณวุฒิมาเติมเสริมบทเรียนประสบการณ์ ทำให้ลำปางมีศักยภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น ด้วยระบบราชการที่เหมือนกันทั้งโลกเป็นแท่ง งบประมาณ สสส.เสมือนหนึ่งน้ำมันหล่อลื่นหัวเทียน จุดประกายคนทำให้บูรณาการที่ดีอยู่แล้วทำงานได้ดียิ่งขึ้น การทำงานที่เชื่อมกันได้ลดความซ้ำซ้อนในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น รวมถึงลดการติดเชื้อเอดส์ HIV     

      คณะกรรมการ 76 ชุด แต่ละชุดมีผู้ว่าราชการ จ.เป็นประธาน อีกชุดหนึ่งมีผู้ว่า กทม.เป็นประธาน มีการตั้งข้อสังเกต รวมถึงการตักตวงงานที่ลำปางทำเพื่อการพัฒนาเป็นข้อเสนอแนะ คณะ กก.ศึกษางานที่ จ.นครราชสีมาเข้มแข็ง ลดท้องวัยใสได้อย่างฮวบฮาบ จาก 50:แสน เหลือ 20:แสน ได้อย่างน่าทึ่ง ขณะเดียวกันที่ลำปางเป็นระดับ Top ของประเทศที่มีอัตราวัยใสท้องต่ำที่สุด แต่ยังลดไม่ได้ฮวบฮาบเท่ากับโคราช ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสถิติสูงมาก เมื่อลดลงมากก็จะเห็นตัวเลขชัดเจน ดังนั้นลำปางต้องลงทุนลงแรงเพื่อให้เห็นตัวเลขลดลงอย่างฮวบฮาบ ขณะนี้ 5 กระทรวงหลักได้ออก กม. 5 ฉบับเพื่อเป็นแนวทาง ยังรอ กม.ลูกจากกระทรวงมหาดไทยเพื่อเป็นเครื่องมือให้ จ.ทำงานได้ดีขึ้นด้วย หน้าที่หลักการแก้ไขปัญหาท้องในวัยรุ่นเป็นงานของผู้ว่าราชการ จ. ส่วน สสส.เข้ามาประสานงาน เป็นพี่เลี้ยงในท้องถิ่นเข้าถึงประชาชนได้ดีขึ้น

      “เรามี 3 นายกรัฐมนตรี (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) ประกาศให้เรื่องท้องในวัยรุ่นเป็นวาระแห่งชาติ ปัญหาท้อง อุ้มบุญ Stemcell ท้องวัยรุ่นเป็นเรื่องใกล้ตัว จึงเกิดยุทธศาสตร์ของชาติออก กม.ได้ง่ายมาก พ.ร.บ.ป้องก้นการตั้งครรภ์วัยรุ่นออกในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ดังนั้นขอให้ลำปางทำอย่างเต็มสตรีม ในช่วงที่ผมเรียนแพทย์ โครงการที่ลำปางสร้างอานิสงส์ได้มากมาย”

        นพ.วิวัฒน์ กล่าวว่า ไม่มีใครรู้ตัวเลขจริงของวัยรุ่นท้อง จะรู้เมื่อวัยรุ่นคลอดในสถานบริการ รพ.ของรัฐ หรือ รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต. หรือสุขศาลา หรือสถานีอนามัยเดิม) และวัยรุ่นบางคนก็ยุติการตั้งครรภ์ไปก่อน 50:30 ลดลง 1 ใน 3 เกิดจากปัจจัย 3 อย่าง เด็กวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์น้อยลง แต่เท่าที่ติดตามไม่ได้มีเพศสัมพันธ์น้อยลง แต่เพิ่มขึ้น เด็ก ม.2 ม.5 ปวช.มีเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้น แสดงว่ามีการป้องกันการท้องได้ดีขึ้น ขณะเดียวกันเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะลดลงได้ถ้ามีการใช้ถุงยางอนามัยป้องกัน ดังนั้นการลดจำนวนวัยใสท้องไม่พร้อมให้ได้ผลอยู่ที่ลดการมีเพศสัมพันธ์ การใช้ถุงยางอนามัย และการทำแท้ง

      “ปัญหาเด็กท้องทั่วประเทศ 9 หมื่นคน คลอดแล้วเด็กไปอยู่ที่ไหน ก็ต้องคาดเดาว่าเด็กออกจากระบบโรงเรียนทั้งหมด เด็กท้องส่วนใหญ่เป็นเด็กเรียนดี วิชาการดี แต่วิชาชีวิตไม่ดี ต้องช่วยกันสอดส่อง พ่อแม่มากกว่า 80% กว่าจะรู้ว่าลูกตัวเองท้องก็ผ่านไปแล้ว 6 เดือน เด็กบางคนท้องก็ขาดเรียนไปเลย แต่เราต้องยึดหลักว่าเด็กท้องต้องได้เรียนต่อที่ รร.เดิม ยกเว้นเด็กอยากจะย้ายจาก รร.เดิม ส่วนใหญ่แล้วทาง รร.ไม่ทราบว่าเด็กหายไปไหน เราต้องมีวิธีการดึงเด็กให้กลับมาเรียนใหม่ เมื่อท้องแฟบลงก็กลับมาเรียนใหม่ที่ รร.เดิมได้ ไม่ถูกตีตราเป็นปมด้อย การที่เด็กออกจาก รร.ดีๆ ไปเรียนที่ รร.ขยายโอกาสทำให้เสียจังหวะ เด็กคลอดวันละ 1 คน จะต้องมีระบบติดตามตัวเด็กมิให้ตั้งครรภ์ซ้ำอีก การที่มีเด็กเป็นจำนวนหมื่นท้องซ้ำอีกเป็นสิ่งที่ยอมกันไม่ได้ รพ.จะต้องให้ข้อมูลการคุมกำเนิดเพื่อนำไปปฏิบัติด้วย หรือบีบให้เด็กย้ายไปเรียน รร.อื่น การที่เด็กจะเข้าเรียน กศน.ขอให้เป็นขั้นตอนสุดท้าย มี รร. 3 หมื่น รร.รอความหวังอยู่ ที่ลำปางเป็นตัวอย่างให้เด็กเรียนต่อได้ใน รร.เดิม

      อย่างไรก็ตาม ในสังคมของชาวเผ่าตามขนบธรรมเนียมประเพณีจะให้มีลูกในช่วงที่อายุยังน้อยและให้มีลูกได้หลายๆ คน เนื่องจากปัจจุบันเด็กเกิดน้อยลง เขาสนับสนุนให้มีลูกเยอะเพื่อจะได้ช่วยกันทำงาน

(ศ.ดร.ศิริพร จิรวัฒน์กุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุขภาวะทางเพศ สสส.)

        ศ.ดร.ศิริพร จิรวัฒน์กุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุขภาวะทางเพศ สสส. กล่าวชมว่า จ.ลำปางเป็น จ.ที่ท้าทายทำให้ผู้ทรงคุณวุฒิ สสส.เข้ามาดูงานคนทำงานและเด็กๆ มีความสุข เป็นเป้าหมายที่ประเทศต้องการ ยิ่งเห็นทีมงานคึกคักได้เรียนรู้ร่วมกัน ลักษณะการทำงานของลำปางเงินต่อยอดจาก สสส. มีองค์กรสาธารณประโยชน์เพื่อนเพื่อเพื่อนเข้ามามีบทบาทเชื่อมโยงกับองค์กรอื่นๆ กรรมการจังหวัดคือความแตกต่างจาก จ.อื่นๆ ดังนั้นจึงเป็นความท้าทายพลังในทางบวกให้งานมีประสิทธิภาพ เป็นการทำงานแบบรวมกลุ่มด้วยกันอย่างที่เรียกว่ามีภาคีเครือข่าย

      “เราต้องป้องกันเยาวชนไม่ให้มีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนเป็นเรื่องดีที่สุด สิ่งเหล่านี้คือความฝัน แต่ถ้าเกิดพลาดจะมีเพศสัมพันธ์ก็ต้องรู้จักการป้องกันตัวเองด้วยเครื่องมือ และมีความรับผิดชอบต่อตัวเองและคู่ของตนเองด้วย สิ่งเหล่านี้ต้องส่งสาส์นให้ถูกต้องด้วย เป็นงานของ สสส.”

(ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้ช่วยผู้จัดการและรักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ)

 

        ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้ช่วยผู้จัดการและรักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ กล่าวว่า เราต้องสังเคราะห์เป็นแหล่งเรียนรู้องค์ความรู้ให้คนอื่นด้วย นับเป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่ง เราต้องมี Mind Set สสส.อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่ดีของคน กม.เป็นตัวช่วย ครูรู้อย่าให้โลกรู้ต้องช่วยกันรักษาความลับ เราต้องทำให้ลำปางเป็นตัวอย่างนำร่อง เราจะทำอย่างไรให้ จ.อื่นประสบความสำเร็จด้วย กระทรวง 5 หน่วยงานหลักช่วยกันนำเสนอประเด็นปัญหาเพื่อจะได้มีการแก้ไข ตัวแทนจากพยาบาลกล่าวถึงเรื่องที่เด็กเข้ามาปรึกษาพยาบาลว่า ประจำเดือนขาดหายไป 2-3 เดือน ปัญหาเด็กผู้ชายเข้ามาเบิกถุงยางอนามัยน้อยลงไปจากเดิม จึงต้องมีการปฏิบัติการเชิงรุกแจกถุงยางอนามัย เพื่อให้ความรู้ป้องกันการตั้งครรภ์ และยังป้องกันโรคเอดส์ HIV การติดเชื้อจากโรคหนองใน ซิฟิลิส หงอนไก่ และโรคติดต่อทางเพศอื่นๆ ตับอักเสบบี ตับอักเสบซี มีเด็กอายุ 14 ปีติดโรคหนองในลำคอ ปัญหาเด็กวัยรุ่นเรียนเก่งมีความเชื่อมั่นในตัวเองขอให้ทางพยาบาลช่วยเหลือ “เราเป็นเพื่อนที่ดีกับเด็กให้ข้อแนะนำและทำงานอย่างต่อเนื่อง เด็กบางคนท้อง ไม่กล้าบอกพ่อแม่ เป็นปัญหาน้ำท่วมปาก เพราะกลัวถูกด่าทอ เด็กบางคนขอทุนเรียน เกิดท้องขึ้นมาก็ต้องใช้หนี้ 5 หมื่นบาท เมื่อรับทราบว่าเด็กท้องแล้วต้องไม่แจ้ง รร. เพราะจะเป็นตราบาปกับเด็ก เพียงแต่ปรึกษากับครูประจำชั้น ถ้าเป็นช่วงปิดเทอมก็ให้เด็กไปพักอยู่ที่บ้านและกลับมาเรียนต่อหลังจากที่คลอดบุตรแล้ว การให้บริการอย่างเป็นมิตร เราดูแลเหมือนลูกเหมือนหลาน ทุกอย่างเป็นความลับ มิฉะนั้นเด็กจะเคว้งคว้าง”

(เบญญา เอมาวัฒน์ กลุ่มเพื่อนเพื่อเด็กและเยาวชน จ.ลำปาง)

        เบญญา เอมาวัฒน์ กลุ่มเพื่อนเพื่อเด็กและเยาวชน จ.ลำปาง พร้อมทีมงาน ยงยุทธ วงค์วิชัย นำเสนอ สสส.เดินหน้าลำปาง สร้างสรรค์ ปันสุข หลักสูตรพ่อแม่ 1 วัน ลำปางใช้หลักสูตรของ P2H มาปรับใช้ในพื้นที่ เน้นปรับทัศนคติให้เข้าใจธรรมชาติของวัยรุ่น เข้าใจเรื่องเพศเกี่ยวข้องทุกช่วงวัย และวัยรุ่นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางเพศ ปลอดภัยจากท้อง แท้งและติดโรค และจบลงด้วยการชวนพ่อแม่ฝึกทักษะการสื่อสารเชิงบวก

      ลูกต้อมเลิกเรียนสี่โมงเย็น ปกติกลับถึงบ้านห้าโมงเย็น และทุกคนในครอบครัวต้องรับประทานอาหารเย็นพร้อมกัน แต่วันนี้แม่ติ่งกังวลใจมาก หกโมงเย็นแล้วลูกยังไม่เข้าบ้าน แม่ติ่งร้อนใจมาก โทรศัพท์หาลูกต้อมก็ติดต่อไม่ได้ เมื่อโทรศัพท์หาเพื่อนสนิทของลูกก็ได้รับคำตอบว่า ไม่ทราบว่าต้อมหายไปไหน การพูดในเชิงบวกไม่ใช่เริ่มต้นด้วยการตำหนิ บอกความรู้สึกห่วงใยของพ่อแม่ บอกสิ่งที่เราอยากให้ทำ ใช้คำถามเพื่อเปิดช่องให้ลูกได้บอกถึงความรู้สึก อธิบายเหตุผลด้วย ช่วยกันเปลี่ยนประโยคเพื่อให้ลูกเกิดความรู้สึกที่ดี และพ่อแม่เองก็สื่อความต้องการตามเจตนาของตนเองได้ อย่าใช้คำพูดเปรียบเทียบ “ทำไมลูกบ้านนั้นไม่เห็นเป็นอย่างนี้” ความรักของพ่อแม่เป็นสิ่งสำคัญที่สุด จงยอมรับว่าพ่อแม่หมดอำนาจทันทีเมื่อลูกๆ เข้าสู่วัยรุ่น

      แรกเริ่มใช้งบกองทุนโลกในพื้นที่โครงการป้องกัน HIV AIDS ในชุมชนประสานงานกับสาธารณสุขจังหวัด โครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ มูลนิธิ Path to Health งบประมาณ Global Fund เมื่อโครงการจบแล้วก็ยังทำงานต่อด้วยเป้าหมายร่วมกันในภารกิจ 9 ด้าน ที่ อ.เมือง อ.เกาะคา อ.ห้างฉัตร ในอำเภอละ 2 ตำบล ในพื้นที่ ปี 2559 วัยรุ่น 15-19 ปี จากสถิติ 28:1000 ประชากรให้ลดลงเหลือ 19:1000 ประชากร กิจการหลักพัฒนาภาคีเครือข่ายในการทำงาน พัฒนาทีมสื่อสารกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ถนนเด็กเล่นที่นครลำปางหากิจกรรมสร้างสรรค์ ชมรม To Be No.1 ในการดำเนินโครงการฉลาดเลือก ฉลาดคิด การใช้สื่อให้เป็นประโยชน์ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข ป้องกันโรคเอดส์ในชุมชน จัดหลักสูตรกิจกรรมเป็นบวก พ่อแม่ ผู้ปกครองมีลูกวัยรุ่น กลุ่มเปราะบาง ลดผลกระทบจากการมีเพศสัมพันธ์ ต่อยอดในพื้นที่ผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น งบประมาณพัฒนา จ.ลำปาง.

 

(ล้อมกรอบ)

      เมืองลำปางแห่งนี้ยังอนุรักษ์ถนนสายวัฒนธรรมลำปาง (ถนนวังเหนือ) ถนนมรดกทางวัฒนธรรมที่สวยงามเก่าแก่ มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ยังคงมีให้เห็นในปัจจุบัน ถนนสายนี้เป็นแนวกำแพงเมืองเดิมที่เชื่อมต่อระหว่างกำแพงเมืองเขลางค์นครรุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 บ้านเรือนหลายหลังยังเป็นบ้านเรือนไทยสมัยโบราณ ร่มรื่นไปด้วยต้นไม้ใหญ่ทั้งไม้ใบและไม้ดอก

      พื้นที่ลำปาง 12,533.961 ตร.กม. มี 13 อำเภอ 100 ตำบล 855 หมู่บ้าน มี อ.เมือง อ.เกาคะคา อ.สบปราบ, อ.เสริมงาม, อ.เถิน, อ.แม่พริก, อ.ห้างฉัตร, อ.งาว, อ.แจ้ห่ม, อ.เมืองปาน, อ.วังเหนือ, อ.แม่ทะ, อ.แม่เมาะ

      จำนวนประชากรวัยรุ่น จ.ลำปาง (เดือน เม.ย.2561)

      อายุ 10-14 ปี 33,358 คน เป็นชาย 17,178 คน เป็นหญิง 16,180 คน

      อายุ 15-19 ปี 36,816 คน เป็นชาย 18,680 คน เป็นหญิง 18,136 คน

      ประชากรทุกวัย 737,453 คน เป็นชาย 360,629 คน เป็นหญิง 376,824 คน ประชากรบนพื้นที่สูง 18,486 คน ผู้ไม่ได้สัญชาติ 2,411

      อัตราการว่างงาน 705 คน มีแรงงานต่างด้าว 5,499 คน จดทะเบียนหย่า 1,402 คน

      ประชากรเด็ก 119,971 คน เยาวชน 71,984 คน 

      ผู้สูงวัย 155,241 คน ผู้สูงวัยชาย 72,009 คน ผู้สูงวัยหญิง 83,232 คน

      (ข้อมูลปกครองจังหวัด 2560)

สถานการณ์เรื่องเพศวัยรุ่นลำปาง

      วัยรุ่นเริ่มมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกในอายุ

      ปี 2559 มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุ 15.6 ปี

      ปี 2558 มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุ 15.4 ปี  

      ปี 2557 มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุ 15.2 ปี

      วัยรุ่นลำปางมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุเฉลี่ย 15-16 ปี (วัยรุ่นมี Sex ครั้งแรกที่บ้านตัวเอง/บ้านเพื่อน 55%) ที่บ้านเช่า 9.7% หอพัก 7.7%

      แหล่งที่มา : ข้อมูลการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อ HIV สสจ.ลำปาง

 

 

        สถิติการใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุด

ปี 2559 เพศหญิง (ชั้น ม.5) 65%          ปี 2559 เพศหญิง (ปวช.2) 74.1%

ปี 2558 เพศหญิง (ปวช.2) 56.4%          ปี 2558 เพศหญิง (ชั้น ม.5) 63.2%

ปี 2557 เพศหญิง (ชั้น ม.5) 60.7%         ปี 2557 เพศหญิง (ปวช.2) 55.7%

 

ปี 2559 เพศชาย (ชั้น ม.5) 74.4%          ปี 2559 เพศชาย (ชั้น ปวช.2) 75.6%

ปี 2558 เพศชาย (ชั้น ม.5) 68.9%          ปี 2559 เพศชาย (ชั้น ปวช.2) 63.4%

ปี 2557 เพศชาย (ชั้น ม.5) 81.4%           ปี 2559 เพศชาย (ชั้น ปวช.2) 63.6%

        วิธีป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นลำปาง : ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน หลั่งภายนอก ยาเม็ดคุมกำเนิด นับระยะปลอดภัย

        ที่มา : ข้อมูลการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อ HIV ปี 2559 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง

 

        สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จ.ลำปาง กรมอนามัย

      อัตราการคลอดของผู้หญิงอายุ 15-19 ปี พ.ศ.2560

      มากกว่า 50.0 มี 6 จังหวัด

      40.1-50.0 มี 33 จังหวัด

      25.0-40.0 มี 35 จังหวัด

      น้อยกว่า 25.0 มี 3 จังหวัด

      อัตราต่อประชากรหญิง 15-19 ปี 1,000 คน

 

สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจว.ลำปาง

3จังหวัดที่มีอัตราการคลอดของผู้หญิงอายุ 15-19 ปี

น้อยกว่า 25.0/วัยรุ่นหญิง 15-19 ปี 1,000 คน ปี 2560

 

แม่คลอดอายุ 15-19 ปี

1.ลำพูน     235             9,924              23.7

2.แพร่        243            11,598            21.0

3.ลำปาง    381             19,324            19.7

 

อัตราการคลอดมีชีพในผู้หญิงอายุ 15-19 ปี เป้าหมายไม่เกิน 38:พันประชากร

อัตราการคลอดมีชีพในผู้หญิงอายุ 15-19 ปี มีแนวโน้มลดลง แม่วัยใสรับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ดำเนินการโดย พมจ.ลำปาง

ปี 2559     22.32

ปี 2560     23.5

ปี 2561     23.2

ปี 2562     3 เดือนแรก 14.37

ปี 2561     244 ราย

ปี 2560     345 ราย

 

อัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี เป้าหมายไม่เกินร้อยละ 14.5

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นปี 2562 ร้อยละ 6.56 ที่ อ.งาว ร้อยละ 33.33

การคุมกำเนิดของผู้หญิงไทยอายุน้อยกว่า 20 ปี หลังคลอดหรือหลังแท้ง

คุมกำเนิดทุกวิธีร้อยละ 55.74 (เป้าหมายร้อยละ 80)

กึ่งถาวรร้อยละ 85.29

 

ข้อมูลผลการดำเนินงานตามแผนบำบัดรักษายาเสพติด จ.ลำปาง ปีงบประมาณ 2561 (1ต.ค.2560-30 ก.ย.2561) ผู้เข้าบำบัด 3,064 คน

อายุ 12-17 ปี 143 คน ร้อยละ 4.67

อายุ18-24 ปี 790 คน ร้อยละ 25.78

ปีงบประมาณ 2562 (1 ต.ค.2561-30 เม.ย.2562)

ผู้เข้าบำบัด 1414 คน อายุ 12-17 ปี 73 คน

 

สรุปสถานการณ์การติดเชื้อ HIV และผู้ป่วย AIDS ประเทศไทย (7 เม.ย.2562)

ปี พ.ศ.2560 ผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีชีวิตอยู่ 440,000 คน

ผู้ติดเชื้อ HIV รายใหม่ 5,500 คน คือวันละ 15 คน

ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยและรู้สถานการณ์ติดเชี้อของตนเอง 432,084 คน หรือร้อยละ 98 ของผู้ติดเชื้อ HIV ทั้งหมด

มีผู้ติดเชื้อ HIV ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส 333,784 คน หรือ 75% ของผู้ติดเชื้อ HIV

ผู้ติดเชื้อ HIV ที่กดไวรัสได้สำเร็จ 273,045 คน หรือ 84% ของผู้ติดเชื้อ HIV กำลังรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส

ประเทศไทยแสดงเจตนารมณ์จะยุติปัญหาเอดส์ภายในปี 2573 หรืออีก 13 ปีข้างหน้า โดยการขับเคลื่อนแผนระดับชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ.2560-2573 โดยมีเป้าหมายหลัก 3 ประการ

ลดจำนวนผู้ติดเชื้อ HIV รายใหม่ให้เหลือปีละไม่เกิน 1,000 ราย

ลดการเสียชีวิตในผู้ติดเชื้อ HIV เหลือปีละไม่เกิน 4,000 ราย

ลดการรังเกียจและการเลือกปฏิบัติอันเกี่ยวเนื่องจาก HIV และเพศภาพลงจากเดิมร้อยละ 90 มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินมาตรการที่สำคัญ

 

ปัจจัยเสี่ยง : การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันทางช่องทางต่างๆ สูงที่สุด

รองลงมาคือการกระจายเชื้อจากแม่สู่ลูก ก่อนหรือระหว่างการคลอด หรือระหว่างการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หลังจากคลอดและสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ 96.35% 2.19% 1.46%

ไม่พบการติดเชื้อจากการใช้เข็มฉีดยา กระบอกฉีดยา และอุปกรณ์ฉีดยาอื่นๆ รวมกัน และประวัติการรับเลือดและการปลูกถ่ายอวัยวะ  จำนวนผู้ติดเชื้อ HIV แยกรายอำเภอ ปีงบประมาณ 2562 (1 ต.ค.2561-7 เม.ย.2562)

“ตรวจเร็ว รักษาเร็ว ยุติเอดส์”.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"