พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเมืองหลวงพระบางและหอพระแก้ว
เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว ) หนึ่งในเมืองได้รับการยกย่องเป็นเมืองมรดกโลก จากยูเนสโก ตั้งอยู่ใจกลางพื้นที่ภูเขา ส่วนตัวเมืองสร้างอยู่บนพื้นที่ระหว่างแม่น้ำโขงและแม่น้ำคาน ในอดีตเคยเป็นเมืองหลวงของลาว มีตำนานการก่อตั้งเมือง ในสมัยยุคอยู่ภายใต้อาณานิคมของฝรั่งเศส รูปแบบเมือง สถาปัตยกรรม กลิ่นอายฝรั่งเศสจึงซ้อนทับอยู่อย่างกลมกลืนกับรูปแบบล้านช้างดั้งเดิม ทำให้ที่นี่เป็นหนึ่งพุทธสถานที่ประณีตที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการตกแต่งอย่างอลังการ ทั้งประติมากรรม ภาพสลักจิตรกรรม ปิดทอง และงานเครื่องเรือนต่างๆ รวมถึงประชาชนที่ยังคงยึดการปฏิบัติขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมในชีวิตประจำวันเป็นต้น
หลังจากได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกอย่างจำเพาะเจาะจงในโบราณสถาน ธรรมชาติ เมื่อปี2538 และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นเมืองที่ได้รับการปกปักรักษาที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบัน หลวงพระบาง ยังไม่มีร้านเซเว่น อีเลฟเว่น หรือตึกสูงเกิดขึ้น แม้จะมีนักลงทุนจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาตั้งหลักปักฐานทำธุรกิจในหลวงพระบาง และพยายามยื่นข้อเสนอกับทางการลาว ให้มีการลงทุนพัฒนาเมืองในด้านต่างๆมากมาย แต่ข้อเสนอเหล่านั้นกลับได้รับการปฎิเสธ อีกทั้งนักธุรกิจที่เข้ามาลงทุน ยังต้องปฎิบัติตามกฎหมาย ที่ตราขึ้นเพื่อคุ้มครองเมืองมรดกโลกอย่างเคร่งครัดอีกด้วย
หลวงพระบาง จึงเป็นต้นแบบของเมืองมรดกโลก ที่สามารถรักษาลักษณะดั้งเดิมของเมืองไว้ได้อย่างดี ทั้งในแง่ของวัตถุ สถานที่ โบราณสถาน สภาพโดยรวมของเมือง และที่จับต้องไม่ได้คือวัฒนธรรมประเพณี ที่ยังสามารถรักษาไว้ได้อย่างเหนียวแน่น การมาเยือนหลวงพระบางเมื่อ 30ปีที่แล้ว กับเวลานี้ จึงแทบไม่พบความแตกต่างที่ผิดหู ผิดตาไปจากเดิม แต่อย่างใด
และในฐานะที่ประเทศไทย มีเมืองมรดกโลก 3แห่ง ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัย และแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ทางกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)นำโดย นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม(รมว.) จึงได้เดินทางไปเยือนสปป.ลาว เพื่อศึกษาดูงานการรักษาเมืองมรดกโลก ของหลวงพระบาง โดยกรมมรดกโลก ประจำแขวงหลวงพระบาง และนายสุลิทิบ หน่อคุนผน หัวหน้าแผนกวัฒนธรรมและท่องเที่ยว แขวงหลวงพระบาง ให้การต้อนรับ นอกจากนี้คณะฝ่ายไทยยังมีนายเกียรติคุณ ชาติประเสริฐ เอกอัครราชทูตไทย ณ นครหลวงเวียงจันทน์ นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ร่วมในคณะการเยี่ยมชมเมืองมรดกโลกและศึกษาวิธีการบริหารจัดการเมืองมรดกโลกของลาว
ตักบาตรข้าวเหนียวตอนเช้า
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วธ กล่าวว่า สปป.ลาว ถือว่าเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่สำคัญ อีกทั้งยังมีรากทางวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกับไทยมากที่สุด อย่าง ภาษา ประวัติศาสตร์ ประเพณีวัฒนธรรม หรือในทางการท่องเที่ยว การค้า การเดินทางไปมาหาสู่กันที่ง่ายและสะดวกที่มีสะพานเชื่อมไทย-ลาว ถึง 4 สะพาน 50 ด่าน รัฐบาลทุกยุคสมัยก็ให้ความสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างยิ่ง ซึ่งลาวนับว่าได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกโลกแล้ว 2 แห่ง ได้แก่ ปราสาทหินวัดพู ที่จำปาสัก และหลวงพระบาง นอกจากนี้ ยังมี ทุ่งไหหิน ที่กำลังจะได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกอีกด้วย นับเป็น 3 แห่ง เท่ากับประเทศไทย ทำให้เห็นว่าลาวเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมที่โดดเด่น มีเอกลักษณ์ และดูแลรักษาเป็นอย่างดี
วีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วธ.
“บทเรียนในการมาเยือนหลวงพระบางในครั้งนี้ก็ทำให้ได้ประโยชน์ในด้านการจัดการบริหาร และการพัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไป และประชาชนมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าศึกษา นอกจากนี้ไทยเองก็จะมีการเสนอเมืองให้ขึ้นมรดกโลกหลายแห่ง ทั้งเมืองเชียงใหม่, พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช, พระธาตุพนม, อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เป็นเมืองมรดกโลก ซึ่งอยู่ในขั้นการดำเนินการบัญชีเบื้องต้น และที่กำลังจะเสนอคือ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ และอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ที่ต้องทำรายละเอียดเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ การศึกษาแนวทางจัดการ เพื่อรักษาเมืองมรดกโลกจึงเป็นเรื่องสำคัญ "รมว.วธ.กล่าวและว่า อีกทั้งในปีหน้าในวาระครบรอบความสัมพันธ์ 70 ปี ไทย-ลาวก็คาดว่าจะมีความร่วมมือ ในเรื่องของการปฏิสังขรณ์วัดป่ารวก ที่สร้างโดยรัชกาล 5 เพราะถือเป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมผสมผสานแบบไทยและล้านช้าง
นายสุลิทิบ หน่อคุนผน
ด้านนายสุลิทิบ หน่อคุนผน หัวหน้าแผนกแถลงข่าว วัฒนธรรมและท่องเที่ยว แขวงหลวงพระบาง กล่าวว่า ในอดีตที่เมืองหลวงพระบางเคยเป็นเมืองหลวงของลาว จึงทำให้ที่นี้มีวัดเก่าแก่ อาคารโบราณที่มีสถาปัตยกรรมระหว่างฝรั่งเศสและล้านช้างผสมผสานอยู่ ซึ่งถือว่าเป็นวัฒนธรรมที่เป็นวัตถุสำคัญ อีกส่วนหนึ่งก็คือวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ อย่างประเพณีที่คนลาวสืบสานกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อย่างการตักบาตรข้าวเหนียว การนุ่งซิ่น และด้วยภูมิประเทศที่มีภูเขาโอบล้อม มีธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เป็นจุดผ่านระหว่างแม่น้ำโขงและแม่น้ำคาน ทำให้ที่นี่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองมรดกโลก แต่ถึงอย่างนั้นการพัฒนาก็จะไม่ให้สิ่งที่มีอยู่สูญหายไป หรือผิดแปลกไปจากที่เป็นอยู่ เพื่อให้คงความดั้งเดิมไว้ให้มากที่สุด
สุลิทิบ กล่าวเพิ่มว่า ในส่วนไหนที่ไม่ได้รับการพัฒนาก็จะเข้าไปปรับปรุงให้ดีขึ้น นอกจากนี้จะเห็นว่ามีคนต่างถิ่นที่มีทั้งเข้ามาเที่ยว มาลงทุน หรืออยู่อาศัยเยอะขึ้น ดังนั้น สิ่งปลูกสร้างที่ผุดขึ้นก็จะมีการควบคุมดูแลให้กลมกลืนกับพื้นที่ จะสังเกตเห็นได้จากหลังคาบ้านทุกหลังที่เป็นทรงแบบลาวดั้งเดิม หรือตึกอาคารก็จะกำหนดไม่ให้สูงจนเกินไป ในส่วนของการจราจรก็จะมีการอธิบายกฎระเบียบเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน
“ซึ่งถือว่าเป็นโชคดีด้วยที่ประชาชนเข้าใจและสามารถปรับตัว มีส่วนร่วมในการช่วยกันดูแลรักษา อนุรักษ์สิ่งที่มีค่าเหล่านี้เอาไว้ และคาดว่าในอนาคตก็จะมีความร่วมมือกับไทยทางด้านวัฒนธรรมเหมือนที่ผ่านๆ ที่เราได้มีการติดต่อร่วมมือกันอยู่เสมอ การที่ไทยมาเยือนลาวครั้งนี้ก็นับว่าเป็นการย้ำถึงสัมพันธไมตรีอันดีที่มีต่อกันมาอย่างยาวนาน และแน่นเฟ้นมากยิ่งขึ้น” หัวหน้าแผนกแถลงข่าว กล่าว
นายแสงทอง ลือยาว
นายแสงทอง ลือยาว รองหัวหน้าโครงการมรดกโลก แสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า วัดที่มีการประดับประดาโดดเด่นด้วยศิลปะล้านช้าง มีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นทั้งในแบบฝรั่งเศสผสม กับลาวหรือในแบบของไทยผสมผสานกับลาวเป็นสิ่งเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมที่สำคัญ เมื่อได้ขึ้นเป็นเมืองมรดกโลกรัฐบาลได้มีการบริหารจัดการโดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะ คณะกรรมการมรดกโลกในระดับชาติ และระดับท้องถิ่น และมีการสร้างกฎหมาย กฎระเบียบที่ได้กำหนดขึ้น ในการเข้ามาดูแลขอบเขตของมรดกโลก ในการดูแลและอนุรักษ์ อาทิ เขตการก่อสร้างที่อยู่อาศัย หรือโครงการต่างๆ เขตป่า เขตวัด ฯลฯ และในส่วนของการเข้ามาทำธุรกิจที่ต้องเป็นไปตามกฎหมายกำหนด และการบูรณปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ การคุ้มครองแหล่งน้ำ ในส่วนของคนท้องถิ่นขายบ้าน หรือ ขายบ้านไปเป็นที่เช่า เพื่อคนท้องถิ่นอื่นย้ายเข้ามาก็ต้องให้เขาได้เรียนรู้วัฒนธรรม และทำความเข้าใจกับนักท่องเที่ยวเรื่องการห้ามถ่ายรูป หรือการถ่ายรูปในชุดที่สุภาพเหมาะสม นอกจากนี่ยังมีในส่วนที่ต้องทำเพิ่มเติมคือ การเก็บข้อมูล และเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ และการแลกเปลี่ยนทางวิชาการกับประเทศอื่นๆ คาดหวังว่าจะส่งเสริมหลวงพระบางเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรมต่อไป
บรรยากาศในบรรยายความเป็นมาเมืองมรดกโลก
ศึกษาดูแผนผังเมืองหลวงพระบาง
โอกาสนี้คณะจากไทย ยังได้เยี่ยมชมเมืองมรดก ที่สำคัญอย่าง พระราชวังหลวงพระบาง ที่ได้บูรณะเป็น พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเมืองหลวงพระบางและหอพระแก้ว เป็นการออกแบบโดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศส ทำให้เห็นว่ามีการผสมผสานระหว่างศิลปะฝรั่งเศสและลาว ด้านในประกอบด้วย ห้องฟังธรรม ห้องรับแขกของพระมเหสี ห้องท้องพระโรง ที่ใช้ทำพีธีราชาภิเษก จึงมีเครื่องที่ใช้ประกอบพระราชพิธีจัดแสดงให้เห็น อาทิ พระราชอาสน์ พระมหาพิชัยมงกุฎ ฯลฯ ภายในห้องติดประดับด้วยกระจกโมเสดหลากสี ซึ่งเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาเตรียมห้องนี้ไว้ทำพิธีราชาภิเษก แต่เกิดการเปลี่ยนแปลงปกครองเสียก่อน ในบริเวณเดียวกันยังเป็น หอพระบาง ภายในหอพระนี้เองเป็นที่ประดิษฐาน พระบาง องค์จริง ซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของที่นี้ด้วย
เยี่ยมชมวังเจ้าเพชรราช
วังเพชรราช
หอพระบาง
วัดเชียงทอง
ต่อมาที่ วัดเชียงทอง ที่กล่าวได้ว่าสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ในบรรดาวัดวาอารามทั้งหมด ยกให้วัดเชียงทองเป็นวัดที่สำคัญและสวยงามที่สุด ด้วยลักษณะที่โดดเด่นของพระอุโบสถ ภาษาลาวเรียกว่า สิม มีหลังคาพระอุโบสถมีหลังคาแอ่นโค้ง ลาดต่ำลงมาซ้อนกันอยู่สามชั้น ศิลปะชั้นเลิศแห่งหลวงพระบาง ประตูพระอุโบสถแกะสลักสวยงามเช่นเดียวกับหน้าต่างภายในพระอุโบสถมีภาพสวยงามที่ผนัง ส่วนใหญ่เป็นภาพพุทธประวัติเรื่องพระสุธน – มโนราห์ และเรื่องพระเจ้าสิบชาติมีลักษณะลวดลายปิดทองฉลุบนพื้นรักสีดำ มีพระองค์หลวง วิหารน้อย วิหารพระม่าน พระธาตุศรีสว่างวงศ์ โรงเมี้ยนโกศ หรือโรงเก็บราชรถพระโกศของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา ที่งดงามสมพระเกียรติ
ภายในอุโบสถวัดป่ารวก |
วัดป่ารวก ที่มีความทรุดโทรมไปตามกาลเวลา วัดนี้สร้างโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เพราะมีรูปทรงลักษณะคล้ายกับโบสถ์ของไทยแต่ก็มีการผสมผสานศิลปะของลาวอยู่ด้วย ใกล้ที่พักเราก็มีโอกาสได้ชมวังเจ้าเพชรราช หรือวังเชียงแก้ว อุปราชองค์สุดท้ายของหลวงพระบาง ที่นี้มีอายุประมาณ 80 ปี วังของพระองค์มีขนาดกลางๆ แต่ถูกจัดเป็นสัดส่วน มี 2 ชั้น ในสไตล์ฝรั่งเศสผสมลาว ได้จัดแสดงห้องต่างๆที่ทรงใช้จริง มุมที่สวยคงเป็นห้องทำงานที่เมื่อเปิดหน้าต่างก็จะเห็นวิวของแม่น้ำโขง
วัดวิชุนราช หรือวัดพระธาตุหมากโม ที่เรียกอย่างนั้นเพราะมีเจดีย์รูปทรงคล้ายกับดอกบัว หรือบางคนกล่าวว่าคล้ายกับแตงโม แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของอาณาจักรสิงหล เป็นเจดีย์แห่งเดียวในประเทศลาวที่สร้างรูปทรงดังแบบนี้อีกด้วย
ถนนสีสะหว่างวง ตึกอาคารสไตล์โคโลเนียล
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |